วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

ใครคือละอ่อน...ซอย 7


เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2551 ช่วงเย็นๆ ได้มี(หา)โอกาสตาม ออนและภัทรไปที่มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน แถวๆงามวงศ์วาน ทางเข้าอยู่งามวงศ์วาน 31 แต่ไปหยุดที่ซอย 7 ข้างใน วันนี้เขามีพูดคุยกับพี่สุภา ใยเมือง ในเรื่องชีวิตและแรงบันดาลใจในการทำงานบนเส้นทาง NGOs

พี่สุภา ใยเมือง เขาเล่าว่า เติบโตจากความเรียบง่าย สมัยที่เป็นเด็กครอบครัวปลูกผักอยู่แถวย่านรังสิต ช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมทำกิจกรรมชมรม ไปออกค่าย เมื่อจบการศึกษา(รัฐศาสตร์) ก็สมัครโครงการบัญฑิตอาสา ไปเป็นครูอาสาในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มี NGOs แต่จากการที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านและชุมชน ทำให้ได้แง่คิด ในเรื่องของความอดทน และ การอ่อนน้อมถ่อมตน ช่วงหนึ่งของชีวิตที่อยู่ในยุคเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 พี่สุภาไปใช้ชีวิตอยู่ในป่าทางภาคใต้ ซึ่งจะพูดคุยกันมากในเรื่องความขัดแย้ง การวิเคราะห์ชนชั้น เป็นเวลาร่วม 5 ปีที่พี่สุภาใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น ได้พบคู่ชีวิตและแต่งงานกัน เมื่อออกจากที่นั่นมา ก็คิดว่าอยากจะทำงานเพื่อสังคมดีกว่า ชีวิตการเป็น NGOs จึงเริ่มขึ้น ปัจจุบันพี่สุภา พี่ใหญ่ของน้องๆมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน ก็ยังคงยืนยันในเส้นทางนี้ และเป็นกำลังใจให้น้องๆ(ละอ่อน) ในแวดวงเส้นทางของการทำงานพัฒนาเพื่อสังคม ได้แสวงหา และมุ่งมั่นในอุดมการณ์กันต่อไป

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

สายรุ้งประชาธิปไตย


วันศุกร์ที่ผ่านมา (12 กันยายน 2551) กลุ่มยิ้มละไม ร่วมกับเครือข่ายเด็กและเยาวชน เครือข่ายครอบครัว เครือข่ายสื่อและประชาชนคนธรรมดา ได้เปิดตัวกิจกรรม รุ้ชาธิปไตย ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย มาร่วมกัน คิด พูด เขียน ประชาธิปไตยในฝันของประชาชน ทั้งนี้ได้ร่วมกันวาดภาพ เขียนถ้อยคำความคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยในอุดมคติของเราลงบนธงผ้าสีต่างๆ(ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และ แดง) จากนั้นนำธงสายรุ้งที่เขียนไปยังบริเวณอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยและร่วมกันร้องเพลง (สะพานสายรุ้ง)
อุปมาสายรุ้งในงานนี้ว่า เป็นเหตุ ปรากฏการณ์ดีดีของประชาธิปไตย การเมืองที่เกิดขึ้นในวันนี้ วันหน้า ด้วยความสมัครสมาน สามัคคีของประชาชน ไปแบ่งแยก ไม่มีความรุนแรง สีทุกสีรวมตัวกันสอดรับและกลมกลืนเกิดเป็นภาพที่งดงาม แก่ผู้พบเห็นทั่วไป
กิจกรรมนี้ยังจะมีขึ้นอีกในพื้นที่ต่างๆ หากใครสนใจจะร่วมขบวนการสารยรุ้งคงต้องติดตามกันต่อไป
แอบอ่านธงรุ้งที่เขาเขียนๆกัน ส่วนใหญ่จะพูดถึงประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม และสังคมสงบสุข รักและสามัคคีกัน ไม่ทำร้ายหรือแบ่งแยกชนชั้น…

ในธรรมชาติ เรามักเห็นสายรุ้งเกิดขึ้นหลังฟ้าที่พรำฝนลงมาแล้ว เป็นปรากฏการณ์ระหว่างแสงกับละอองน้ำในอากาศ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเรียกว่า Tyndall effect… รุ้งยังคงเป็นสิ่งที่น่ารื่นรมย์ของเด็กและผู้ใหญ่

แต่ในประชาชนเราๆ จะเกิดปรากฏการณ์งดงามอย่างนี้ได้ นอกจากละอองความคิดดีๆ แล้วคงต้องอาศัยประกายความกล้าเข้ามาสอดรับกันด้วย

ในครั้งนี้แม้มีคนมาร่วมกันน้อย แต่ก็ให้มั่นใจว่า ในสังคมไทยเรายังมีคนคิดดี ทำดีอยู่มาก แต่กระจายอยู่ทั่วๆไป...นะกระจ้อยร่อยว่า

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

การกินอาหารให้อร่อย



วันหยุดสุดสัปดาห์อย่างนี้ หลายคนคงทำอะไรตามใจชอบที่อยากจะทำ เพื่อเติมพลังให้กับตัวเองสำหรับเช้าวันจันทร์ที่จะมาถึง สำหรับเราแล้วการอ่านหนังสือกับการได้กินอาหารอร่อย ๆ ที่บ้านก็ทำให้สุขใจมากพอแล้ว เขาว่ากันว่า :

ความชอบเป็นสิ่งปกติ และจงชอบในสิ่งที่ดี มีคุณประโยชน์

แต่อย่าไปเปรียบเทียบว่าอะไรดีกว่ากัน เพราะเราจะลังเลและมืดมน

และอย่าคิดว่าเราเป็นเจ้าของสิ่งที่ชอบนั้น

เพราะมันจะเป็นนายเรา และทำให้เราทุกข์ได้

ถ้าชอบอะไรหลาย ๆอย่าง.........แสดงว่า...

เราเริ่มมีความรักแบบจักรวาล (Universal Love)....ได้มากขึ้น

การกินอาหารให้อร่อยก็เช่นกัน...เราต้องนึกถึงความชอบความอร่อยของอาหารทีเรากินทุกชนิด

อย่านึกถึง ความไม่อร่อย...ไม่เปรียบเทียบ

และไม่นึกว่าเป็นรสนิยมวิไรของเราที่ใคร ๆ จะแตะต้องวิจารณ์ไม่ได้

อาหารจะอร่อยขึ้นทุกอย่าง แม้จะแลดูเป็นอาหารพื้น ๆ ก็ตาม"



แม้จะดูเหมือนไม่ได้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์สักเท่าไร แต่หากเราคิดเชื่อมโยงกันแล้ว ก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก ลองดูนะค่ะว่ามันเกี่ยวกันตรงไหน

วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551

เส้นทางข้าว...กับโลกร้อน




สรุปงานกิจกรรม
จากการเล่นเกมส์ เส้นทางข้าวกับโลกร้อน
ในงานมหกรรมข้าวและสมุนไพร ครั้งที่ 5 วันที่ 3 -7 กันยายน 2551 ณ เมืองทองธานี



















จากที่ทางกรีนเนทและมูลนิธิสายใยแผ่นดินได้ เข้าร่วมกิจกรรมจัดนิทรรศการเกี่ยวกับโลกร้อนและเส้นทางข้าวครั้งนี้ องค์กรได้เลือกใช้กิจกรรม เกมส์เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน เป็นสื่อเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้มีโอกาสร่วมกิจกรรม โดยเน้นการเสริมสร้างความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อนต่อระบบการผลิตข้าวและผลกระทบที่เป็นลูกโซ่มายังผู้บริโภคเป็นหลัก







จากกิจกรรมการเล่นเกมส์ ซึ่งประกอบไปด้วย ด่าน 3 ด่าน ได้แก่




ด่านที่ 1 สาเหตุที่ทำให้เกิดโลกร้อน ได้แก่ ก๊าซเรือนกระจก 3 ชนิด คือ คาร์บอนไดออกไซด์
มีเทนและไนตรัสออกไซด์
ด่านที่ 2 ด่านผลกระทบจากสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ที่มีต่อการผลิตข้าวและผู้บริโภค
ด่านที่ 3 ด่านทางออก เพื่อส่งเสริมให้ผู้เล่นได้รับรู้ ถึง ระบบเกษตรอินทรีย์ ที่เป็นแนวทางหนึ่งในการปรับ
ตัวและช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นสาเหตุทำให้โลกร้อน

ตั้งแต่วันที่ 3 – 5 กันยายน 2551 โดยเราเปิดให้เล่นเกมส์วันละ 2 รอบนั้น พบว่า




มีจำนวนผู้ร่วมลงทะเบียนเล่นเกมส์ 308 คน โดยประมาณ ทั้งนี้มีน้องๆ นักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมเล่นเกมส์มากที่สุด แต่ใช่ว่าจะมีแต่เด็กๆ เท่านั้น จากผลสำรวจเรายังพบอีกว่า มีข้าราชการ แม่บ้าน/พ่อบ้าน และเกษตรกร เข้าร่วมเล่นเกมส์อีกด้วย งานนี้เรียกได้ว่า ผู้ใหญ่ ก็อยากเป็นเด็กอีกครั้ง เหมือนกัน แม้จะปาลูกบอล ลงกล่องยากแค่ไหน แต่เหล่า สว (สูงวัย) ก็ไม่ได้ย่อท้อ ปาแล้วจะยืนไม่ไหวแต่แรงใจเกินร้อย เจ้าค่า...



ในด่านที่ 3 ด่านทางออกที่ผู้ร่วมเล่นเกมส์ (ผู้บริโภค) เลือกที่จะให้ความสำคัญมากที่สุด คือ
เกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยลดการเกิดไนตรัสออกไซด์ แถมยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย ทั้งผู้ผลิตที่ไม่ต้องได้รับผลกระทบจากปุ๋ยเคมี และผู้บริโภค ที่ได้บริโภคข้าวอินทรีย์ ที่ดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง



จากกิจกรรมดังกล่าวทางมูลนิธิสายใยแผ่นดิน ก็หวังว่า ผู้ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเล่นเกมส์กับทางองค์กร จะได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะเรือนกระจก ไม่มากก็น้อย รวมถึง ได้รับรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมา และสุดท้าย ได้รู้จักเกษตรอินทรีย์ที่เป็นทางออกอย่างหนึ่งในการ ช่วยลดภาวะเรือนกระจกและเป็นทางเลือกในการปรับตัวภายใต้สภาวะโลกร้อน ที่กำลังคุกคามพวกเราทุกคน อยู่ในขณะนี้
สุดท้าย ก็ต้องขอบคุณ เพื่อนๆ ชาวกรีนเนท ที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำกิจกรรมนี้ ให้ผ่านพ้นลุล่วงไปได้ด้วยดี นะคร๊าบบบบ.....
























วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

รวมพลร่วมนักส่งเสริมรุ่นใหม่







สวัสดีเพื่อนๆ นักส่งเสริมเกษตรอินทรีย์

ตอนนี้เข้าหน้านาแล้ว พื้นที่ก็คงเริ่มกิจกรรมตรวจ ICS กันแล้ว แต่ที่แม่ทาไม่ได้มีการรับรองข้าวแต่ก็มีผลผลิตใหม่อื่นๆที่หลากหลายกว่า อาทิ ฝ้าย ถั่วลิสง กระเจี๊ยบแดงอินทรีย์ แต่คราวนี้ก็ได้รับความร่วมมือกันระหว่างแม่ริมและแม่ทาไม่ว่าจะเป็น แพร เพิก โกสินทร์ อั้น และกอล์ฟร่วมเดินทางไปประเมิณผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับซื้อกันในปีนี้ ความมันส์ได้ที่ทำงานร่วมกันก็ช่วยให้เห็นแนวทางการวางแผนการตรวจประเมินผลผลิต และเห็นแนวคิดในการวางแผนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวจะรับมืออย่างไรที่ผลผลิตที่จะออกมา จะแปรรูปอย่างไร แล้วการตลาดต้องการคุณภาพแบบไหนอีกด้วย ทั้งนี้ทำให้เราได้วางแผนการณ์ล่วงหน้า ตั้งรับมือได้อย่างดีทีเดียวว่าเราจะต้องเตรียมตัวอะไรเพิ่ม เช่น การหาข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับพืชที่ปลูก ข้อมูลหลังการเก็บเกี่ยว เช่น ถั่วลิสงที่เราจะรับซื้อจะต้องมีความชื้นเท่าไร มีเครื่องมืออะไรมาช่วยทดสอบ และจะต้องมีการส่งต่อข้อมูลให้ไปถึงฝ่ายการตลาดได้อย่างไรด้วย เรียกง่ายๆ มาพอได้ลองทำแล้ว งานเข้าอีกเยอะ เลยแต่ก็สนุกดีเพราะไม่ได้ทำคนเดียว หวังว่าการแลกเปลี่ยนพื้นที่การทำงานไม่ว่าเป็นระยะสั้น ระยะยาว ของพวกเราก็น่าจะเป็นแนวทางที่เราได้ฝึกตนได้อีกทางหนึ่งนะ ถ้าสนใจก็ส่งข่าวมาที่ส่วนกลางได้นะ มีงานไกลให้สนใจอีกเยอะ