วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ตลาดการซื้อขายคาร์บอนโดยความสมัครใจ (voluntary market)

ไปสัมนามา เลยสรุป ลงมา .....แชร์ให้อ่านกัน





  • 16 January, 2009

    Voluntary market ไม่ใช่ CERs และไม่ใช่แบบ VER ที่ผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดราคาเอง แบบที่ซื้อขายกันอยู่ในปัจจุบัน และ voluntary market ก็เหมา ะสำหรับโครงการเล็กๆ ที่ มีอัตราการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ

    ข้อดีของ voluntary market คือ

1.ไม่ต้องมีใครมาบังคับ หรือวางกรอบข้อกำหนดการ development project เหมือนกับ ระบบ CERs

2.เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ กับ ชุมชนท้องถิ่นโดยรอบโครงการ

3.สามารถก่อให้เกิดประโยชน์กับทั้ง โครงการขนาดเล็ก และ โครงการขนาดใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากระบบ CERs ที่ต้องผ่านกระบวน

4.การขอรับรองและกำกับโดยรัฐบาล ที่จะเน้นเฉพาะโครงการใหญ่ๆ ทั้งนี้ เพื่อความคุ้มทุนในการลงทุนขอรับรอง

ข้อด้อยของ ระบบ voluntary market คือ

1.มีบางส่วนของโครงการหรือบาง section ที่รัฐเข้าไปควบคุมไม่ได้ และจะทำให้ตรวจสอบยาก กระจัดกระจาย เช่น โครงการด้านป่าไม้

2.ถ้าหากมีการซื้อขาย กันในเวลาต่อมา ระหว่าง ชาวบ้าน และ ผู้ซื้อ ที่เป็นต่างชาติ เช่น แบบ ไม่ต้องผ่านการขอรับรองเพื่อให้ได้ CERs แต่เอกสารทั้งหมด ก็ยังคงเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้น จึงเป็นข้อกังวลว่า ชาวบ้าน จะถูกเอาเปรียบ ชาวบ้านจะรู้ได้อย่างไรว่าเอกสาร

3.สัญญาข้อตกลง จะยุติธรรม แล้วจะมีองค์กรหน่วยงานใด เข้ามาดูแล

4.ความยุติธรรม ระหว่าง ผู้ก่อมลพิษ ผู้ลดคาร์บอน ผู้ขาย และ ผู้ซื้อคาร์บอนเครดิต ในระดับนโยบายระหว่างประเทศ จะเป็นไปในทิศทางใด (เพราะถ้าขายในประเทศเอง ไม่น่าเป็นห่วง เพราะเราปล่อยเอง ลดเอง อยู่แล้ว)

5.ตามหลักเศรษฐศาสตร์ นั้น ต่อไปการพัฒนาโครงการจะมีต้นทุนสูงมาก เพราะจะมีผู้ซื้อน้อย

โดยรวม ถ้าหากประเทศไทยจะทำหรือเปิด ตลาดคาร์บอนแบบสมัครใจ จะต้องเลือกว่า ข้อดี ข้อไหน ที่ควรนำมาทำ และ หากเป็นกรณี ป่าไม้ ต้องคิดให้รอบคอบมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การเริ่มทำแบบสมัครใจ หรือ carbon offset นั้น ก็ถือเป็นการได้เรียนรู้ เรียนผิด เรียนถูก ก่อนที่ในอนาคตนั้น ทั่วโลกจะต้องถูกบังคับให้ทำอย่างแน่นอนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายโลกร้อน ที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ให้ commitment เรื่องนี้ไว้ และเป็นกฏหมายออกมาแล้ว โดยตั้งเป้า การลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ลง มากกว่า ร้อยละ 80 ในปี 2050

ไม่มีความคิดเห็น: