หลายคนคงได้รู้ข่าวคราวไปแล้วว่า มูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท ก็ได้มีโครงการแลกเปลี่ยนบ้าง อย่างปีนี้ก็เป็นคราของโครงการ MESA หลังจากได้ใส่เกียร์ว่างการประสานงานไป 1 ปี เพื่อปรับโฉมใหม่ ในการคัดเลือกคนที่จะไปฝึกงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การเปลี่ยนผู้ประสานงานหลักเป็น ไมเคิล ลูกเขยคนไทย ซึ่งปีนี้ก็มีคนหาญกล้าสมัครโครงการทั้งหมด 3 หนุ่ม คือ อั้น/แม่ทา, สันติ/เพื่อนสนิ๊ท สนิทของนิษฐา และ ธีระพลจากพันพรรณ ทุกคนต่างผ่านร้อนผ่านหนาวกับการต่อสู้เรื่องภาษาอังกฤษ ทักษะการเกษตร และกับด่านหินสุดท้ายคือการขอวีซ่าสหรัฐ
จนแล้วจนรอด ณ บัดนาว สันติและอั้นก้อได้ข้ามน้ำ ข้ามทะเลอยู่เมืองมะกันกันแล้ว กว่าจะกลับปิคบ้านมาก็อย่างน้อยอีก 7 เดือนโน้น ทั้งนี้ข้าพเจ้าเองก็พอได้ทราบข่าวคราวของน้องทั้งสองกันบ้างก็เลยอย่างจะแบ่งปันกัน ลองอ่านกันดูแล้วกันนะ
วันที่ 13 พ.ค. "ช่วงเวลาที่มาที่นี่ไม่มีวันไหนเลยที่จะไม่ตื่นเต้นคือใช้การมั่วการเดาเอาซะมากกว่าคิดว่าถ้าถึงฟาร์มอะไรๆก็คงจะดีขึ้นขอให้เป็นอย่างนั้นเถอะสาธุ เมื่อวานเริ่มปีกกล้าขาแข็งแล้วได้ทำการทดลองจ่ายตังค์บ้างแล้วคือไปซื้อกระป๋องใส่น้ำราคาก็15$ ตอนนี้ต้องฝึกทำอะไรไห้เป็นเร็วที่สุดอาหารที่นี่ก็ขนมปังและเบอร์เก้อไม่อร่อยหรอกแต่ร้านสวยจริงๆ" ตัดมาจากจดหมายของอั้น แล้วอั้นยังได้ส่งตารางการใช้ชีวิตที่โน้นมาให้ด้วยนะ ดูเอาแล้วกันว่า ใครว่าอยู่เมืองนอกสบาย?6:00-7:30 นั่งสมาธิ-โยคะ
7:30-8:00 อาหารเช้า
8:00-13:00 ทำงาน
13:30-15:00 โยคะ
15:00-16:00 อาหาร(กลางวันของที่นี่)
16:00-19:00 ทำงาน หลังจากนี้ผักผ่อน
ตอนนี้ถ้าใครอย่างจะส่งข่าวหรือให้กำลังใจกับ ก้าวย่างแรก กับ โลกใบใหม่ของอั้นและสันติ ส่งไปให้กำลังใจได้นะที่
อั้น : farm_un@hotmail.com
สันติ : s_tacom@hotmail.com
blog รวบรวมข่าวคราว ความคืบหน้า ในงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ และการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ภายใต้สภาวะโลกร้อน
วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
Review หนังสือเรื่อง เปิดโลกความสุข GNH
Review หนังสือเรื่อง เปิดโลกความสุข GNH
Gross National Happiness = ความสุขมวลรวมประชาชาติ
ผู้เขียนหนังสือ นภาภรณ์ พิพัฒน์
โดย มัทนา อภัยมูล
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยความสุขที่ผ่านมา “ความสุข” ในนิยามของนักเศรษฐศาสตร์จะจำกัดวงอยู่แค่ว่า… “ ความพึงพอใจของมนุษย์แต่ละคนเกิดจากการที่มนุษย์ผู้นั้นได้บริโภคสินค้าต่างๆ ตามที่ตนเองต้องการ” และ ยิ่งมนุษย์ผู้นั้นได้บริโภคสินค้าแต่ละชนิดมากขึ้น มนุษย์ผู้นั้นก็จะยิ่งมีความพึงพอใจมากขึ้นตามลำดับ”
ข้อสังเกตดังกล่าวมาจากบทความเรื่อง เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข คำนิยามนี้ส่งผลให้ “เศรษฐศาสตร์ กระแสหลัก” ได้สร้าง “รหัส” ของการสร้างความสุขในสังคมสมัยใหม่ หรือสังคมทุนนิยมไว้ 5 ประเด็น รหัสความสุขในระบบเศรษฐศาสตร์ กระแสหลักที่ต้องถอดประเด็นคือ 1.การบริโภคเป็นหนทางเดียวในการมีความสุข 2.มนุษย์จะคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองเท่านั้น 3.มนุษย์จะต้องเร่งการบริโภคของตนเองเพื่อให้มีความสุข 4.สังคมจะดีขึ้นจากการเร่งบริโภคของทุกๆ คน 5.มนุษย์จะเน้นความสุขปัจจุบันมากกว่าจะคำนึงถึงอดีตและอนาคต แม้ว่าแนวคิดนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเน้นหนักไปที่ การพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย เพราะทฤษฎีการทำให้ทันสมัย เชื่อว่าการทำให้เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของประเทศกำลังพัฒนา คือการพัฒนาไปสู่สังคมที่มีการบริโภคอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับสังคมอเมริกัน ดังนั้นความเชื่อที่ว่า “การบริโภคคือหนทางเดียวที่จะสร้างความสุขให้กับมนุษย์” จึงจะขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย
แต่ที่น่าสนใจคือ ระบบเศรษฐกิจของพุทธเศรษฐศาสตร์เป็นระบบ “ปัญญานิยม” ซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันของสังคมมนุษย์โลกที่จะอยู่รอดอย่างมีความสุขร่วมกัน อย่างยั่งยืน (Sustainable Development with Happiness) ซึ่งต่างจากการผลิตแบบทุนนิยมที่มุ่งเพียงเน้นตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างเดียว”
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธส่งเสริมให้คนบริโภคด้วยปัญญา ตรงข้ามกับการบริโภคในยุคสมัยนี้ ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยการโฆษณาและกลยุทธ์ทางการตลาด ขณะที่ลัทธิบริโภคนิยม ก่อให้เกิดการบริโภคอย่างไร้ขอบเขต ทำให้คนบูชาเงินและวัตถุ นำมาสู่การแย่งชิงทรัพยากรและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาก จนละเลยจรรยาบรรณและศีลธรรม
อาจารย์อภิชัยได้สรุปทฤษฎีการผลิตของพุทธเศรษฐศาสตร์ไว้ 3 ประเด็นสำคัญ
1.ความสัมพันธ์ของการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยพิจารณาทั้งจากปัจจัยการนำเข้า กระบวนการผลิต และปัจจัยที่ได้ออกมา
2.เน้นให้ปัญญาเป็นปัจจัยการผลิตหลักหรือเป็นวิถีการผลิต เป็นระบบที่เรียกว่าปัญญานิยมแทนทุนนิยม
3.เน้นจุดยืนเพื่อสร้างความสุขให้มากที่สุด โดยการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้น้อยที่สุด
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยแก่นแท้คือ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธนั่นเอง
ในหนังสือเล่มนี้ยังมีหน่วยความคิดของข้อมูลที่เป็นตัวอย่างในเรื่องของการพัฒนาประเทศโดยให้ความสุขมวลรวมของประชาชนสำคัญกว่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติ อย่างเช่น ภูฏาน ที่ทำให้ประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกกลับมามองประเทศเล็กๆ นี้มากขึ้น อย่างประเทศภูฏาน
ภูฏาน “ต้นตำรับ” ดัชนีความสุข
“ความสุขมวลรวมของประชาชนสำคัญกว่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” หรือ Gross National Happiness is More Important Than Gross National Product จากแนวคิดใหม่ที่พระราชาธิบดีจิกเม ซิงเย วังชุก ทรงริเริ่มไว้เมื่อคราวเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 2515 “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” ได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของโมเดลการพัฒนาประเทศในนิยามใหม่ “ความก้าวหน้าแบบองค์รวม” ภูฏานยังดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวังในการเปิดประเทศต้อนรับโลกาภิวัตน์ ทั้งในแง่การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม แม้ประเทศจะมีหลายได้หลักจากการท่องเที่ยว แต่ภูฏานมิได้พยายามแปรประแทศเป็นทุน มุ่งเน้นการขายวัฒนธรรมหรือทำลายสิ่งแวดล้อมแลกเงินตราต่างประเทศอย่างไม่ลืมหูลืมตาและสิ้นไร้ศักดิ์ศรี ดังเช่นประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก หากภูฏานพยายามหาจุดสมดุลระหว่างรายได้จากการท่องเที่ยวและการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน
ภูฏานเพิ่งเปิดประเทศเมื่อทศวรรษ 1970 และเป็นที่ทราบกันว่าการขอวีซ่าเข้าประเทศเป็นรื่องยากลำบาก เพราะภูฏานมีนโยบายจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวแต่ละปี นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวแต่ละคนยังต้องเสียภาษีท่องเที่ยววันละ 200 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เพื่อจำกัดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศมากเกินไป จนส่งผลทำลายสภาพแวดล้อม
จากแนวพระราชดำริ สู่ความสุขมวลรวม นับตั้งแต่ปี 2517 มีอะไรเปลี่ยนแปลงในประเทศภูฏานหรือไม่ คำตอบคือ มีแน่นอน เพราะอย่างน้อยที่สุดแนวคิดใหม่ “จีเอ็นเอช” ได้ทำให้ภูฏานมีระบบเศรษฐกิจโมเดลเฉพาะตัวที่มุ่งรักษาวัฒนธรรมและค่านิยมทางศาสนาไว้ได้ ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์อันเชี่ยวกราก
ดังผลลัพธ์ในเชิงรูปธรรมแบบพริกฝ่ามือคงยากจะเห็นได้ในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน แต่อย่างน้อยที่สุดกรอบของ “ความสุขมวลรวม” ได้นำมาซึ่งการพัฒนาในลักษณะของการเอื้ออาทรในประเทศ เช่น การสร้างโรงเรียนรัฐบาลโดยให้มีการโยกย้ายหมุนเวียนครูระหว่างชุมชนเมืองและชนบท มีการจัดหายาแผนพื้นบ้านและยาตะวันตก กำหนดให้ต้องสงวนรักษาพื้นที่ป่า 60% ของที่ดินทั้งประเทศ
แม้ปัจจุบันรายได้ต่อหัวของคนภุฏานยังจัดอยู่ในกลุ่มต่ำสุดของโลก ประมาณ 1,400 ดอลลาร์ในปี 2547 เพราะกว่า 90% ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมแต่ภุฏานก็มีตัวชี้อื่นๆ ที่เป็นด้านสดใสของประเทศ เช่นอัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้นจาก 23% เป็น 54% และประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคได้มากถึง 75% จาก 45% มีอายุยืนยาวขึ้นจากเฉลี่ย 47 ปี เป็น 66 ปี
เมื่อเรามาเปรียบเทียบเศรษฐกิจพอเพียงของไทยกับหลักคิดของภูฏานว่าจะไปด้วยกันได้ไหมนั้น อาจารย์อมรตอบได้เลยทันทีโดยไม่ต้องคิด ว่าเป็นไปได้หมายความว่าไม่ต้องรวยก็มีความสุข
วิสัยทัศน์ประเทศไทย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (ปี 2550-2554) ซึ่งมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การสร้าง “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ภายใต้แนวปฏิบัติของ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)
จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ จากดัชนีวัดความสุขในสไตล์ภูฏานปัจจุบันเหล่านี้ทั้งหมดล้วนเป็นหน่วยความคิดของข้อมูลความสุขจากแหล่งต่างๆ เพื่อเราจะได้ถามและตอบตัวเองว่า ความสุขของเราคืออะไรในหน่วยความคิดนำเหล่านี้ ความสุขของเราเองคืออะไรเป็นคำถามที่ดูเหมือนจะตอบง่าย แต่ก็ไม่ง่ายเลยนะ เพราะความสุขของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคนว่าเอาอะไรมาเป็นตัวชี้วัดว่านั่นคือคำตอบของคำว่า “ความสุข” ของเรา
สำหรับเรา เมื่อได้อ่านข้อมูลความสุขจากหนังสือเล่มนี้แล้วทำให้รู้ว่าเราโชคดีที่มีในหลวงที่มีแนวคิดที่เยี่ยมยอดในเรื่อง“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ทำให้ทางรัฐบาลนำเข้าไปเป็นแผนการการพัฒนาของประเทศของไทย ประเทศไทยเราถ้าดำเนินชวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทุกคนก็ไม่มีหนี้สินพ้นตัว ทุกคนจะไม่ตกงาน ทุกคนจะมีความสุข แต่ทุกวันนี้คนในสังคมต่างวิ่งตามกระแสนิยมจนลืมมองตัวเอง บางครั้งจนลืมมองสังคมรอบข้าง มีความเห็นแก่ตัวกันมากขึ้น จนไม่ยอมแบ่งปันสิ่งดีดี ให้กับคนอื่นๆ รอบข้าง
อ่านหนังสือเล่มนี้จบทำให้เรามองย้อนดูตัวเอง เราโชคดีที่มีพ่อแม่ที่เข้าใจ มีบ้าน มีเพื่อน มีสังคมที่ดี ได้เป็นเจ้าความคิด ได้เป็นเจ้าที่ดิน ได้เป็นเจ้าอากาศ และที่สำคัญได้เป็นเจ้าอาหารทุกวันนี้ก็พอเพียงและมีความสุขแล้ว กับการได้ช่วยสังคม กับการได้อยู่กับต้นไม้ทุกต้นที่เติบโตด้วยมือของเรา หนังสือเล่มนี้ทำให้มีความมั่นใจมากขึ้นว่าเราเดินมาถูกทางแล้วกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้อยากไปสัมผัสการอยู่อย่างพอเพียงที่ประเทศภูฏานที่ว่าเขาเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เขาถือว่าธรรมชาติคือเขา เขาคือธรรมชาติ
Gross National Happiness = ความสุขมวลรวมประชาชาติ
ผู้เขียนหนังสือ นภาภรณ์ พิพัฒน์
โดย มัทนา อภัยมูล
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยความสุขที่ผ่านมา “ความสุข” ในนิยามของนักเศรษฐศาสตร์จะจำกัดวงอยู่แค่ว่า… “ ความพึงพอใจของมนุษย์แต่ละคนเกิดจากการที่มนุษย์ผู้นั้นได้บริโภคสินค้าต่างๆ ตามที่ตนเองต้องการ” และ ยิ่งมนุษย์ผู้นั้นได้บริโภคสินค้าแต่ละชนิดมากขึ้น มนุษย์ผู้นั้นก็จะยิ่งมีความพึงพอใจมากขึ้นตามลำดับ”
ข้อสังเกตดังกล่าวมาจากบทความเรื่อง เศรษฐศาสตร์แห่งความสุข คำนิยามนี้ส่งผลให้ “เศรษฐศาสตร์ กระแสหลัก” ได้สร้าง “รหัส” ของการสร้างความสุขในสังคมสมัยใหม่ หรือสังคมทุนนิยมไว้ 5 ประเด็น รหัสความสุขในระบบเศรษฐศาสตร์ กระแสหลักที่ต้องถอดประเด็นคือ 1.การบริโภคเป็นหนทางเดียวในการมีความสุข 2.มนุษย์จะคำนึงถึงประโยชน์ของตนเองเท่านั้น 3.มนุษย์จะต้องเร่งการบริโภคของตนเองเพื่อให้มีความสุข 4.สังคมจะดีขึ้นจากการเร่งบริโภคของทุกๆ คน 5.มนุษย์จะเน้นความสุขปัจจุบันมากกว่าจะคำนึงถึงอดีตและอนาคต แม้ว่าแนวคิดนี้จะสอดคล้องกับแนวคิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเน้นหนักไปที่ การพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย เพราะทฤษฎีการทำให้ทันสมัย เชื่อว่าการทำให้เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของประเทศกำลังพัฒนา คือการพัฒนาไปสู่สังคมที่มีการบริโภคอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับสังคมอเมริกัน ดังนั้นความเชื่อที่ว่า “การบริโภคคือหนทางเดียวที่จะสร้างความสุขให้กับมนุษย์” จึงจะขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย
แต่ที่น่าสนใจคือ ระบบเศรษฐกิจของพุทธเศรษฐศาสตร์เป็นระบบ “ปัญญานิยม” ซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันของสังคมมนุษย์โลกที่จะอยู่รอดอย่างมีความสุขร่วมกัน อย่างยั่งยืน (Sustainable Development with Happiness) ซึ่งต่างจากการผลิตแบบทุนนิยมที่มุ่งเพียงเน้นตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างเดียว”
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธส่งเสริมให้คนบริโภคด้วยปัญญา ตรงข้ามกับการบริโภคในยุคสมัยนี้ ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยการโฆษณาและกลยุทธ์ทางการตลาด ขณะที่ลัทธิบริโภคนิยม ก่อให้เกิดการบริโภคอย่างไร้ขอบเขต ทำให้คนบูชาเงินและวัตถุ นำมาสู่การแย่งชิงทรัพยากรและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาก จนละเลยจรรยาบรรณและศีลธรรม
อาจารย์อภิชัยได้สรุปทฤษฎีการผลิตของพุทธเศรษฐศาสตร์ไว้ 3 ประเด็นสำคัญ
1.ความสัมพันธ์ของการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยพิจารณาทั้งจากปัจจัยการนำเข้า กระบวนการผลิต และปัจจัยที่ได้ออกมา
2.เน้นให้ปัญญาเป็นปัจจัยการผลิตหลักหรือเป็นวิถีการผลิต เป็นระบบที่เรียกว่าปัญญานิยมแทนทุนนิยม
3.เน้นจุดยืนเพื่อสร้างความสุขให้มากที่สุด โดยการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้น้อยที่สุด
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยแก่นแท้คือ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธนั่นเอง
ในหนังสือเล่มนี้ยังมีหน่วยความคิดของข้อมูลที่เป็นตัวอย่างในเรื่องของการพัฒนาประเทศโดยให้ความสุขมวลรวมของประชาชนสำคัญกว่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติ อย่างเช่น ภูฏาน ที่ทำให้ประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกกลับมามองประเทศเล็กๆ นี้มากขึ้น อย่างประเทศภูฏาน
ภูฏาน “ต้นตำรับ” ดัชนีความสุข
“ความสุขมวลรวมของประชาชนสำคัญกว่าผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” หรือ Gross National Happiness is More Important Than Gross National Product จากแนวคิดใหม่ที่พระราชาธิบดีจิกเม ซิงเย วังชุก ทรงริเริ่มไว้เมื่อคราวเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 2515 “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” ได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของโมเดลการพัฒนาประเทศในนิยามใหม่ “ความก้าวหน้าแบบองค์รวม” ภูฏานยังดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวังในการเปิดประเทศต้อนรับโลกาภิวัตน์ ทั้งในแง่การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม แม้ประเทศจะมีหลายได้หลักจากการท่องเที่ยว แต่ภูฏานมิได้พยายามแปรประแทศเป็นทุน มุ่งเน้นการขายวัฒนธรรมหรือทำลายสิ่งแวดล้อมแลกเงินตราต่างประเทศอย่างไม่ลืมหูลืมตาและสิ้นไร้ศักดิ์ศรี ดังเช่นประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก หากภูฏานพยายามหาจุดสมดุลระหว่างรายได้จากการท่องเที่ยวและการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน
ภูฏานเพิ่งเปิดประเทศเมื่อทศวรรษ 1970 และเป็นที่ทราบกันว่าการขอวีซ่าเข้าประเทศเป็นรื่องยากลำบาก เพราะภูฏานมีนโยบายจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวแต่ละปี นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวแต่ละคนยังต้องเสียภาษีท่องเที่ยววันละ 200 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เพื่อจำกัดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศมากเกินไป จนส่งผลทำลายสภาพแวดล้อม
จากแนวพระราชดำริ สู่ความสุขมวลรวม นับตั้งแต่ปี 2517 มีอะไรเปลี่ยนแปลงในประเทศภูฏานหรือไม่ คำตอบคือ มีแน่นอน เพราะอย่างน้อยที่สุดแนวคิดใหม่ “จีเอ็นเอช” ได้ทำให้ภูฏานมีระบบเศรษฐกิจโมเดลเฉพาะตัวที่มุ่งรักษาวัฒนธรรมและค่านิยมทางศาสนาไว้ได้ ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์อันเชี่ยวกราก
ดังผลลัพธ์ในเชิงรูปธรรมแบบพริกฝ่ามือคงยากจะเห็นได้ในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน แต่อย่างน้อยที่สุดกรอบของ “ความสุขมวลรวม” ได้นำมาซึ่งการพัฒนาในลักษณะของการเอื้ออาทรในประเทศ เช่น การสร้างโรงเรียนรัฐบาลโดยให้มีการโยกย้ายหมุนเวียนครูระหว่างชุมชนเมืองและชนบท มีการจัดหายาแผนพื้นบ้านและยาตะวันตก กำหนดให้ต้องสงวนรักษาพื้นที่ป่า 60% ของที่ดินทั้งประเทศ
แม้ปัจจุบันรายได้ต่อหัวของคนภุฏานยังจัดอยู่ในกลุ่มต่ำสุดของโลก ประมาณ 1,400 ดอลลาร์ในปี 2547 เพราะกว่า 90% ยังประกอบอาชีพเกษตรกรรมแต่ภุฏานก็มีตัวชี้อื่นๆ ที่เป็นด้านสดใสของประเทศ เช่นอัตราการรู้หนังสือเพิ่มขึ้นจาก 23% เป็น 54% และประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคได้มากถึง 75% จาก 45% มีอายุยืนยาวขึ้นจากเฉลี่ย 47 ปี เป็น 66 ปี
เมื่อเรามาเปรียบเทียบเศรษฐกิจพอเพียงของไทยกับหลักคิดของภูฏานว่าจะไปด้วยกันได้ไหมนั้น อาจารย์อมรตอบได้เลยทันทีโดยไม่ต้องคิด ว่าเป็นไปได้หมายความว่าไม่ต้องรวยก็มีความสุข
วิสัยทัศน์ประเทศไทย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (ปี 2550-2554) ซึ่งมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การสร้าง “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ภายใต้แนวปฏิบัติของ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)
จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ จากดัชนีวัดความสุขในสไตล์ภูฏานปัจจุบันเหล่านี้ทั้งหมดล้วนเป็นหน่วยความคิดของข้อมูลความสุขจากแหล่งต่างๆ เพื่อเราจะได้ถามและตอบตัวเองว่า ความสุขของเราคืออะไรในหน่วยความคิดนำเหล่านี้ ความสุขของเราเองคืออะไรเป็นคำถามที่ดูเหมือนจะตอบง่าย แต่ก็ไม่ง่ายเลยนะ เพราะความสุขของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคนว่าเอาอะไรมาเป็นตัวชี้วัดว่านั่นคือคำตอบของคำว่า “ความสุข” ของเรา
สำหรับเรา เมื่อได้อ่านข้อมูลความสุขจากหนังสือเล่มนี้แล้วทำให้รู้ว่าเราโชคดีที่มีในหลวงที่มีแนวคิดที่เยี่ยมยอดในเรื่อง“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ทำให้ทางรัฐบาลนำเข้าไปเป็นแผนการการพัฒนาของประเทศของไทย ประเทศไทยเราถ้าดำเนินชวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทุกคนก็ไม่มีหนี้สินพ้นตัว ทุกคนจะไม่ตกงาน ทุกคนจะมีความสุข แต่ทุกวันนี้คนในสังคมต่างวิ่งตามกระแสนิยมจนลืมมองตัวเอง บางครั้งจนลืมมองสังคมรอบข้าง มีความเห็นแก่ตัวกันมากขึ้น จนไม่ยอมแบ่งปันสิ่งดีดี ให้กับคนอื่นๆ รอบข้าง
อ่านหนังสือเล่มนี้จบทำให้เรามองย้อนดูตัวเอง เราโชคดีที่มีพ่อแม่ที่เข้าใจ มีบ้าน มีเพื่อน มีสังคมที่ดี ได้เป็นเจ้าความคิด ได้เป็นเจ้าที่ดิน ได้เป็นเจ้าอากาศ และที่สำคัญได้เป็นเจ้าอาหารทุกวันนี้ก็พอเพียงและมีความสุขแล้ว กับการได้ช่วยสังคม กับการได้อยู่กับต้นไม้ทุกต้นที่เติบโตด้วยมือของเรา หนังสือเล่มนี้ทำให้มีความมั่นใจมากขึ้นว่าเราเดินมาถูกทางแล้วกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้อยากไปสัมผัสการอยู่อย่างพอเพียงที่ประเทศภูฏานที่ว่าเขาเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เขาถือว่าธรรมชาติคือเขา เขาคือธรรมชาติ
ผู้พิมพ์ : มัทนา อภัยมูล (แม่ทา เชียงใหม่)
วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
เชื้อเล็กๆกับเกษตรอินทรีย์
เป็นที่รู้กันในแวดวงเกษตรอินทรีย์ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้ความสำคัญของดิน เพราะดินสมบูรณ์ก็ทำให้ต้นไม้แข็งแรง แต่ถ้าดินเป็นโรคละจะทำยังงัยดี จะใช้ยาฆ่าเชื้อราเคมีแบบเดิมก็ไม่ได้ ดังนั้นในระบบเกษตรอินทรีย์ "เชื้อรา ไตรโคเดอร์ม่า" ก็เป็นพระเอกอีกคนหนึ่งที่มาช่วยแก้ไขปัญหาดีได้ดีทีเดียว ไตรโคเดอร์ม่าก็เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งแต่เป็นชนิดที่ดีที่เป็นปฎิปักษ์กับเชื้อราสาเหตุโรครากเน่า โคนเน่าในพืช นิยมใช้มากใน พืชผัก หรือไม้ผล
ในการอบรมเมล็ดพันธุ์พริกและมะเขือของ"เครือข่ายเมล็ดพันธุ์เกษตรอินทรีย์"
ปล. ใครอยากได้วิธีการขยายเชื้อสดแบบนี้ก็ขอได้ที่ส่วนกลางนะคะ
วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ภาพความมั่นคงด้านอาหารบากเรือ
มีหลักฐานมายืนยัน จะ....พี่เฒ่า จากบากเรือ ส่งมายืนยัน ว่า
เรื่องความมั่นคงด้านอาหารของ เจ้าหน้าที่ ในพื้นที่บากเรือนั้น มีความก้าวหน้า ไปถึงไหนแล้ว
เห็นภาพหลักฐานมายืนยันกันแบบนี้ แล้ว พื้นที่อื่นๆ อย่าลืมเอามา อวดกันชมนะจ๊ะ
จะได้รู้ว่า สัมนาปีหน้าเราจะได้ชิมอาหารจากพืชผัก อินทรีย์อะไรบ้าง
จะเห็นว่า มีทั้งบานาน่า หรือ กล้วย...คนก็กินได้ ลิงก็กินดี อิอิ...มะละกอ อาหารหลัก ไว้ทำส้มตำ และพืชผักอื่นๆ ดูเองละกันนะจ๊ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)