เป็นที่รู้กันในแวดวงเกษตรอินทรีย์ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการให้ความสำคัญของดิน เพราะดินสมบูรณ์ก็ทำให้ต้นไม้แข็งแรง
แต่ถ้าดินเป็นโรคละจะทำยังงัยดี จะใช้ยาฆ่าเชื้อราเคมีแบบเดิมก็ไม่ได้ ดังนั้นในระบบเกษตรอินทรีย์ "เชื้อรา ไตรโคเดอร์ม่า" ก็เป็นพระเอกอีกคนหนึ่งที่มาช่วยแก้ไขปัญหาดีได้ดีทีเดียว ไตรโคเดอร์ม่าก็เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งแต่เป็นชนิดที่ดีที่เป็นปฎิปักษ์กับเชื้อราสาเหตุโรครากเน่า โคนเน่าในพืช นิยมใช้มากใน พืชผัก หรือไม้ผล
ในการอบรมเมล็ดพันธุ์พริกและมะเขือของ"เครือข่ายเมล็ดพันธุ์เกษตรอินทรีย์"
ที่ผ่านมาเมื่อเดือนเมษายน พวกเราก็ได้ความรู้ในเรื่องของการผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มาที่เลี้ยงบนข้าวหอมมะลิ จาก ดร.วรรณวิไล อินธนู ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้ให้พวกเราได้ทดลองทำเชื้อสดกันเลยทีเดียว ซึ่งกว่าจะใช้ได้ก็ 7 วันต่อมาพวกเราก็จะได้เห็นเชื้อเขียวๆ ที่อยู่บนข้าวตามในรูปกันแล้ว ความเขียวในแต่ละกองต่างกันเชียว ที่เขียวสมบูรณ์แบบที่สุดก็เห็นจะเป็นของที่อาจารย์ทำเป็นตัวอย่างให้ ซึ่งเป็นผลต่างที่ได้จากปริมาณการใส่เชื้อ การเจาะรูที่บริเวณปากถุงน้อยเกินไปทำให้อากาศเข้าไปน้อย เชื้อไม่ค่อยเดิน และการเกิดหยดน้ำในถุงระหว่าง 7 วันนั้นเอง แล้วในวันที่เจ็ดนั้นเองถ้าไม่รีบเอาไปใช้ก็ต้องใส่ตู้เย็นเก็บไว้ก่อนทันทีเพราะเชื้อจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวอีกครั้งแล้ว ตอนนี้ที่สำนักงานกรีนเนทก็ได้ลองเอาไปละลายน้ำแล้วกรองเอาแต่น้ำแล้วฉีดลงดินไปแล้วเหมือนกัน ก็รอดูกันต่อไปแล้วกันว่าผลจะเป็นอย่างไรต่อไป ถ้าใครที่เคยทำแล้วได้ผลก้อมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ
ปล. ใครอยากได้วิธีการขยายเชื้อสดแบบนี้ก็ขอได้ที่ส่วนกลางนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น