วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

The Last Lecture

Randy Pausch’s The Last Lecture

Michael Commons
Thanika Ruaprakon
วิชัย พิมพ์ทอง

มูลนิธิสายใยแผ่นดิน


Have you asked yourself what you would do, what you would think if you knew you only had a couple months more to live? Looking back at your life now, do you think you have made good of your time?

In such a context, Professor Randy Pausch of Carnegie Mellon University, who had been diagnosed with terminal cancer and told he may live only 3-6 months longer, had the chance to give his last lecture at the university where he studied and taught. This is the material of “The Last Lecture,” which can be viewed as a Youtube video, read as a transcript, or read as a book, now translated into many languages.

In Randy Pausch’s Last Lecture, his presentation is not about death or the spiritual journey after death, but very much about life and what it means to have lived and have found meaning and joy in life. He recounts his life and his dreams and how he has gone on to fulfill almost all of his childhood dreams. His story, the story of his life, is also one of lessons learned and how those lessons have then enabled him to do what he has.

His life as told is at least an inspiration. Both in his life and in his presentation, one does not see remorse or regret, but one who has never been scared to dream and even more so never seen a brick wall as an impenetrable barrier. He has believed in himself and that there is a way when one has a dream and one perseveres and he has gone on to jump over many such brick walls. For him the brick walls are but a point to show that one needs to try harder, to try a new way. Besides living his dreams, in his work as a professor, he has helped many to realize their dreams, to go beyond their limitations, to go one step farther than they might have imagined. As a professor of virtual reality, a field where the line between dreams and reality is best crossed frequently, his life story as well teaches us to cross this line, for by crossing that line what is possible becomes a little wider than we might have know or believed.

If you wish to review a life well lived and a life well learned, Randy Pausch’s Last Lecture, will more than satisfy. One may also easily take away a sense of reflecting upon one’s own life, what one has done and what one can do with one’s time left to live. Although we may not know as Randy did, that he had no more than 6 months to live, whether we have 60 more years, 6 more years, 6 more months, or 6 more days, looking at one’s life in such a sense and reading or listening to the words of Randy Pausch are sure to inspire one to challenge life’s barriers are reach for one’s dreams, seeing all one can do when one values and lives life in its fullest.

ธนิกา : สิ่งที่ได้เรียนรู้และคิดว่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต
ทุกคนมีฝันในวัยเด็ก แต่น้อยคนนักที่จะได้ทำความฝันให้บรรลุได้ แต่ที่สำคัญ ชีวิตเราจำเป็นต้องมีเป้าหมายเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และในทุกช่วงจังหวะก้าวนั้น เราได้พบปะสัมพันธ์กับคนมากมาย เกิดการเรียนรู้ซึ่งนำไปสู่การปรับตัว แรนดี เพาช์ เป็นตัวอย่างการใช้ชีวิตดังคำกล่าวที่ว่า “ทำวันนี้ให้ดีที่สุด” ได้อย่างเป็นรูปธรรม และหนังสือเล่มนี้ ทำให้เราได้เรียนรู้ วิธีการที่จะเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ทั้งทางด้านภายใน ภายนอก และกลวิธีเพื่อไปสู่เป้าหมาย รวมถึงการสร้างความทรงจำที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกๆ วันกับคนรอบข้างและคนที่เรารัก

วิชัย : ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่าน
- รู้จักการสร้างจินตนาการที่ดีอย่างมีเป้าหมาย
- ทำให้รู้คุณค่าสิทธิของแต่ละคนมากขึ้นอย่างเข้าใจ
- ทำให้ยอมรับ ตระหนักรู้ ร่างกายของตนเองที่จะเป็นโรคร้ายต่างๆ ได้เสมอ
- รู้จักการทำใจ และปล่อยวางในร่างกายและความคิด
- รับรู้ว่าลูกมีความสำคัญต่อพ่อแม่ และพ่อแม่ต้องช่วยส่งเสริมเขาสร้างฝันที่งดงามเพื่ออนาคตของเขาเอง

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ชีวิตสอนอะไรเราบ้าง

ชีวิตสอนอะไรเราบ้าง

เขียน : อลิซาเบธ คืบเลอร์ รอสส์ และเดวิด เคสเลอร์

แปล : นุชจรีย์ ชลคุป

สรุปย่อ : ธนวรรณ บุญนอง (ติ๋ว)

คนเราจะได้เรียนรู้คำว่า ชีวิต ที่แท้จริง ก็ต่อเมื่อเราใกล้จะตายซึ่งมันก็สายไปเสียแล้ว เพราะเวลาที่เรายังมีชีวิตอยู่เราใช้ไม่คุ้มค่า ปล่อยให้เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว ในหนังสือเล่มนี้ก็จะกล่าวถึงเรื่องตัวตนที่แท้ ความรัก ความสัมพันธ์ การสูญเสีย พลังอำนาจ ความรู้สึกผิด เวลา ความกลัว ความโกรธ การเล่นสนุก ความอดทน การสยบยอม การให้อภัย และความสุข ซึ่งจะสรุปดังนี้

1. ตัวตนที่แท้

บางครั้งเราก็ต้องแบกรับบทบาทต่างๆมากเกินไป เช่น บทบาทในการเป็นสามี ภรรยา และลูก แต่ทำไมเราไม่เป็นตัวของตัวเราเอง เมื่อถึงจุดหนึ่งคุณอาจตระหนักว่าบทบาท อันหนักหนาสาหัสนี้ไม่ใช่ความรับผิดชอบของคุณ ดังนั้นคุณจึงโยนมันทิ้งไป เราจะเข้าใจว่าตัวเรา เป็นใคร มากขึ้นก็ต่อเมื่อเราใกล้ตาย การแสวงหาและการเป็นตัวเราอย่างแท้จริง ค้นหาว่าเราต้องการและไม่ต้องการ การทำอะไรที่ต้องการทำอย่างนี้เพราะเรารับผิดชอบต่อประสบการณ์ของตนเอง เราต้องกระทำทุกสิ่ง เพราะการค้นพบจะนำความสุขสงบมาให้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการงาน ถ้าเราทำบางสิ่งเพียงเพื่อให้ดูมีค่าในสายตาคนอื่น เท่ากับเรามองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่เรามักเลือกทำในสิ่งที่ ควร ทำมากกว่าสิ่งที่เรา ต้องการ ทำ ในบางครั้งลองทำตามแรงกระตุ้นที่เรามักจะเก็บกดไว้ หันมาทำอะไร แปลกๆใหม่ๆ ดูบ้าง เราอาจไดเรียนรู้ความเป็นตัวเรามากพอสมควร

2. ความรัก

ถ้าเราพูดถึงคำว่า ความรัก ก็ต้องนึกถึง ทุกอย่างดูสวยงาม มีแต่ความสุข ไม่มีอุปสรรค แต่ในชีวิตจริงเมื่อเรามีใครสักคน เราต้องเจอความผิดหวัง อาจจะไม่สมหวังกับความรัก เพราะเราได้ตั้งเงื่อนไขกับความรัก ซึ่งมันก็เป็นที่ตัวเรา เพราะเราคาดหวังกับแฟนไว้หลายๆเรื่อง เรื่องที่เราคาดหวังไว้แต่คนรักไม่ได้ทำตามอย่างที่เราคาดไว้ เราก็โกรธ ทำให้เราคิดว่าเขาไม่รักเราเขาถึงไม่ไม่ดำทำให้เรา ในความเป็นจริงสิ่งที่เขาไม่ได้ทำให้เรานั้น เขาอาจจะมีเหตุผลอื่นที่เขาไม่สามารถบอกเราก็ได้ ฉะนั้นเราก็ควรปล่อยวาง ต้องรู้จักโดยไม่มีเงื่อนไขถึงจะได้พบกับความรักอย่างแท้จริง ต้องรู้จักรักที่ตัวตนที่แท้จริงของเขา เข้าใจเขาและยอมรับในสิ่งที่เขาชอบและเป็น รักโดยไม่หวังผลตอบแทน

เงื่อนไขของความรักก็คือ สิ่งที่กำเนิดอยู่ในความสัมพันธ์ของเรา เมื่อยกเลิกเงื่อนไขเหล่านั้น เราจะพบความรักอันหลากหลายอย่างที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน

ความรัก ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบ พี่น้อง พ่อแม่ ญาติ คนรัก แต่เราสามารถมอบให้ได้กับทุกคน เราจะพบความรักอย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อเรามอบความรักให้โดยปราศจากเงื่อนไข

3. ความสัมพันธ์

การที่เราได้อยู่กับคนที่เรารัก เราไม่สามรถรู้ได้เลยว่าเขาจะอยู่กับเราได้นานเท่าไหร่ อาจเป็นเวลาชั่วข้ามคืนเท่านั้น ที่เราได้อยู่กับเขาเป็นครั้งสุดท้าย ฉะนั้นเราจงทำวันนี้ให้ดีที่สุด มีคู่สมรสคู่หนึ่งชื่อ แจ็กสันกับแอน แจ็กสันได้รับการรักษาตัว ปลูกถ่ายไขกระดูกแต่ก็ล้มเหลว ซึ่งน่าจะมีชีวิตอีกไม่นานแอนจึงตัดสินใจแต่งงานกับแจ็กสัน ความสัมพันธ์ของพวกเขาราบรื่นมาโดยตลอด อยู่มาวันหนึ่งแจ็กสันหายเป็นปกติ แต่แล้วเขาก็สังเกตว่าแอนไม่เหมือนเดิมพวกเขาทะเลาะกันมากขึ้นในที่สุดก็เลิกรากัน และมีอีกคู่สมรส ชื่อชาร์ลส์กับเคธี ชาร์ลส์เข้าใจแนวคิดกระจกสะท้อนเป็นอย่างดี เขาบอกว่า ถ้าความสัมพันธ์น่าเบื่อ อาจเป็นเพราะผมกำลังเบื่อ หรือที่แย่กว่านั้น คือผมเป็นคนน่าเบื่อ ดังนั้นถ้าเรามีปัญหาเราก็ไม่ควรบอกว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิด และต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง แต่แท้ที่จริงตัวเรานั้นเองที่ควรมองย้อนกลับไปว่าเป็นที่ตัวเราหรือเปล่า คนที่ควรปรับเปลี่ยนก็คือตัวเรา ไม่ใช่คาดหวังให้คนอื่นมาปรับเปลี่ยน

ไม่มีความสัมพันธ์ใดที่ถือว่าผิดพลาด ทุกสิ่งล้วนคลี่คลายไปในทางที่มันควรจะเป็น นับตั้งแต่การพบปะครั้งแรกไปจนถึงคำเอ่ยลาครั้งสุดท้าย ล้วนเป็นความสัมพันธ์ทั้งสิ้น เราเรียนรู้จากความสัมพันธ์เหล่านั้นเพื่อจะมองเห็นจิตวิญญาณตนเอง และรายละเอียดของความสัมพันธ์ และเพื่อเยียวยารักษาตัวเรา เมื่อใดที่เรายอมละทิ้งแบบแผนความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความรัก ซึ่งเราเคยรับรู้มาก็เท่ากับเราได้บอกลาคำถามว่าเราควรจะรักใครและรักนานเพียงใด เราได้ก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ไปสู่การค้นพบความรักสุดวิเศษซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นโดยพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือตัวเรา

4. การสูญเสีย

คนเราย่อมสูญเสียในสิ่งที่มี แต่มีหลายอย่างที่ไม่เคยสูญเสียไป เช่น บ้าน รถ การงาน และเงินทอง หรือแม้แต่คนที่เรารักเป็นของให้ยืมสำหรับเราเท่านั้น คนที่เรารักก็เช่นกัน เราไม่เก็บรักษาพวกเขาไว้ได้ตลอดไป ถ้าการรับรู้ความจริงนี้ไม่ได้ทำให้เราเศร้าหมองตรงกันข้าม เราควรรู้สึกซาบซึ้งในประสบการณ์แสนวิเศษและสิ่งต่างๆมากมาย ที่เรามีในช่วงเวลานี้ เราพบกับความสูญเสียหลายต่อหลายรูปแบบ และเราก็มีการตอบสนองต่อความสูญเสียเหล่านั้น เมื่อความสูญเสียกลายเป็นประสบการณ์ส่วนหนึ่ง ก็ทำให้เราปรับตัวเพื่อจัดการกับชีวิตดียิ่งขึ้น ในเวลาที่เรารู้สึกสูญเสียอย่างที่สุดเราก็รู้ว่าชีวิตยังคงดำเนินต่อไปถึงแม้ความสูญเสียและการจบสิ้นจะรุมเร้า การเริ่มต้นใหม่ๆก็ยังมีอยู่รายรอบท่ามกลางความเจ็บปวด ความสูญเสียดูเหมือนจะไร้ที่สิ้นสุด แต่วงจรแห่งชีวิตยังดำรงอยู่รอบตัวเรา

5. พลังอำนาจ

พลังอำนาจ เป็นการแสดงออกซึ่งความจริงภายในตัวเรา ความเข้มแข็ง ความเป็นเอกภาพ และความงดงามจากภายนอก พลังอำนาจของเราแฝงอยู่ในตัวเราเป้นพลังอำนาจซึ่งเราถือกำเนิดขึ้น ซึ่งหากมันได้ถูกหลงลืมไป ก็เพียงแค่รอวัน เรามีพลังอำนาจภายในล้นเหลือแต่แทบไม่รู้วิธีนำมาใช้ พลังอำนาจที่แท้จริงมาจากการรู้ว่าตนเองคือใคร เมื่อเรารู้สึกว่าต้องสะสม เราได้หลงลืมทุกสิ่งที่เป็นตัวเรา พลังอำนาจของเรามาจากการรู้ว่าทุกอย่างเหมาะสมแล้ว และชีวิตของคนทุกคนได้คลี่คลายไปอย่างที่ควรจะเป็น

6. ความรู้สึกผิด

ความรู้สึกผิดจำเป็นต้องได้รับการจัดการ การอบรมต่างๆอาจช่วยให้สามารถปลดปล่อยความโกรธ จากนั้นเราต้องแลกเปลี่ยนความรู้ผิดซึ่งกันและกัน หากทำด้วยความตั้งใจดีเราก็จะปลดปล่อยความรู้สึกผิดออกมาได้ บางสิ่งที่เราคิดว่าเป็นความรู้สึกผิดอาจได้รับการชำระสะสางด้วยการให้อภัย การที่เราเข้มงวดกับคนอื่นมาตลอดชีวิต และยิ่งเคร่งครัดกับตนเองมากขึ้น ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องปลดปล่อย เมื่อใดที่เรารู้จักยกโทษให้ตนเองและผู้อื่น เมื่อนั้นความรู้สึกผิดก็จะไม่เกาะเราไว้ เราไม่สมควรต้องรู้สึกผิด แต่ควรได้รับการอภัย

7. เวลา

ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เราเปลี่ยนไปทั้งภายในและภายนอกรูปลักษณ์เราเปลี่ยน ตัวตนภายในก็ไม่เหมือนเดิม ชีวิตเราแปรเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องเรามักจะไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แม้จะเตรียมพร้อมแล้ว แต่เราก็มักจะต่อต้านความเปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันโลกรอบตัวเราก็หมุนเวียนเปลี่ยนไปโลกไม่เคยหยุดยั้ง ชะลอไปพร้อมๆกับเรา ความเปลี่ยนแปลงมักจะเกิดขึ้นป้นการแสดงออกซึ่งความจริงมีอยู่รายรอบท่ามกลางความเจ็บปวด ความสูยเสียดูเหมือนจะไร้ที่สิ้นสุด แต่วงจรแห่งชีวิตยังดำรเร็วเกินไปหรือไม่ก็ช้าเกินไป

8. ความกลัว

หากเราพบหนทางในการก้าวพ้นความกลัว ถ้าเราสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสต่างๆมากมายก็สามารถมีชีวิตอย่างที่เราใฝ่ฝัน เราจะใช้ชีวิตโดยปราศจากการตัดสินโดยไม่หวาดหวั่นว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร ไม่ลังเลท้อถอย ความกลัวเป็นเรื่องซับซ้อนกันอยู่หลายชั้น เราต้องลอกความกลัวออกทีละชั้นๆจนกว่าจะถึงความกลัวชั้นล่างสุดก็คือ ความกลัวตาย ความรักสามารถเอาชนะความกลัวได้

9. ความโกรธ

ความโกรธที่เก็บกดไว้จะไม่หายไปง่ายๆ แต่กลายเป็นปัญหาไม่รู้จบ ถ้าเราไม่จัดการกับความโกรธเล็กๆน้อยๆเสียก่อน ความโกรธนั้นจะขยายใหญ่ขึ้นๆ จนกระทั่งมันพุ่งไปยังที่ใดที่หนึ่ง เราต้องรู้จักสัมผัสความรู้สึกในช่องท้อง การเคลื่อนไหวสามารถสัมผัสกับสิ่งที่ตนกำลังรู้สึกอาจเป็นเพราะเราต้องการใช้ร่างกายมิใช่เพียงสมองอย่างเดียว

10. การเล่นสนุก

จงให้เวลาแก่ตัวเองใช้เวลาอย่างมีคุณค่ากับคนรัก เวลาสำหรับตัวเราไม่ใช่เวลาที่คนอื่นๆไม่อยู่หรือเราบังเอิญได้อยู่คนเดียว แต่เป็นเวลาที่เรามีไว้เพื่อตนเองโดยเฉพาะ เวลาที่ให้แก่ตัวเองเพื่อความสุข ไม่จำเป็นต้องทนดูหนังที่ไม่ชอบ กินอาหารที่ไม่อยากกิน เราต้องเพื่อตัวเองได้อย่างเต็มที่ ตามที่เราต้องการ

11. ความอดทน

ความอดทนเป็นบทเรียนที่ยากที่สุดสำหรับเรา หรือเป็นบทเรียนที่น่าอึดอัดใจที่สุด บทเรียนในการอดทนคือ เราไม่อาจได้ทุกสิ่งที่เราต้องการ ต้องการอะไรเดี๋ยวนี้ แต่ต้องรอสักพักหรือตลอดไปก็ตาม เราจะได้สิ่งที่ต้องการเสมอ แม้มันไม่เป็นไปตามภาพในความคิดของเราก็ตาม ขั้นตอนแรกของการเป็นคนอดทน คือ การเลิกพยายามจัดการหรือเปลี่ยนแปลงต่างๆ แต่มันก็มีเหตุผลบางประการแม้จะได้เห็นด้วยหรือมองไม่เห็นเหตุผลเบื้องหลังก็ตามเวลาที่คนอื่นๆไม่อยู่หรือเราบังเอิญได้อยู่คนเดียวผัสกับ

12. การสยบยอม

เราทุกคนค้นพบความสุขได้เสมอเมื่อเรายอมอ่อนน้อม แย่ตรงที่พวกเราส่วนใหญ่กลัวการสยบยอมเพราะเราต้องเสียสละ การสยบยอมไม่ใช่ความอ่อนแอหรืความเจ็บปวด ตรงกันข้ามกลับเติมไปด้วยความสุขและมีพลัง เมื่อเรายอมรับอย่างแท้จริงว่าทุกอย่างได้รับการดูแลและจะเป็นไปด้วยดี

13. การให้อภัย

เราจำเป็นต้องให้อภัยเพื่อจะสามารถมีชีวิตอย่างเต็มเปี่ยม การให้อภัยเป็นหนทางเยียวยารักษาความเจ็บปวดและบาดแผลของเรา อุปสรรคการให้อภัยนั้นมีมากมายมี่สำคัญก็คือ ความรู้สึกว่าการให้อภัยหมายถึง การที่เรายอมรับพฤติกรรมซึ่งทำร้ายเรา การที่เราปล่อยวางความเจ็บปวดเพื่อประโยชน์ของตัวเราเอง เมื่อเราตระหนักว่าการฝังใจอยู่กับความแค้นเคืองเป็นการบีบคั้นให้ตัวเราอยู่อย่างไม่เป็นสุข ผู้ที่ไม่ให้อภัยเราต้องคิดว่าพวกเขาไม่ได้กำลังลงโทษใคร นอกจากตัวเขาเอง

14. ความสุข

ความสุขไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่อยู่ที่ว่าเราจะจัดการสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอย่างไร ความสุขของเราถูกกำหนดด้วยวิธีการตีความ วิธีรับรู้และผนวกรวมสิ่งที่เกิดขึ้นในภาวะจิตใจของเรา เราแค่ พยายาม มีความสุข ความพยายามนั้นจะมีผลต่อความรู้สึกของเราค่อยๆ มีความสุขทีละเล็กละน้อย สร้างความสุข ถ้าเรามีความสุขห้านาที หลังจากนั้นกว่าจะรู้ตัวเราก็มีความสุขเป็นชั่วโมงและตลอดวัน

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Happy คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน

เขียนโดย ธนา เธียรอัจฉริยะ
จำนวนหน้าหนังสือ 268 หน้า

ยุทธศักดิ์ ยืนน้อย
ศรีแพ ดวงแก้วเรือน
แม่ทา จ.เชียงใหม่
อนุพงศ์ เขม้นกิจ
สหกรณ์กรีนเนท และ
ณัฐวัฒน์ รัตนอุดมวรรณา
แม่ริม จ.เชียงใหม่


บริษัทDTAC ได้ประสบปัญหาขาดทุนในการให้บริการโทรศัพท์ จากที่เคยประสบผลสำเร็จเป็นรองแค่ AIS เนื่องจาก
ก) ผู้บริหารCEO ไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติ ขั้นตอนมาก
ข) เสียเปรียบคู่แข่งขัน ไม่ว่า เงินลงทุน บุคลากร ความรู้ เทคโนโลยี สัญญาความถี่
ค) ความขัดแย้งภายในบริษัท ชิงดีชิงเด่น

เมื่อเปลี่ยนผู้บริหารCEO(คุณซิคเว่ เบรคเก้และคุณวิชัย เบญจรงกุล) ซึ่งมีแนวคิดใหม่ไม่ยึดติดกรอบการทำงานแบบเก่า จึงสร้างสรรค์รูปแบบวิธีการใหม่ๆ ที่น่าสนใจและสามารถพลิกฟื้นบริษัทให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งได้ ซึ่งใช้วิธีการหลากหลายรูปแบบ ดังนี้

ก) แผน 100 วัน กำหนดเป้าหมายชัดเจน ระบุระยะเวลา วัดได้

ข) การใช้ตีนทำงาน ทั้งผู้บริหารCEO และผู้ปฏิบัติ คือการเดินลงไปสัมผัสเก็บข้อมูลความต้องการจากผู้ใช้บริการโดยตรง เพื่อนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ในการออกโปรโมชั่นในการต่อสู้กับริษัทยักใหญ่ ซึ่งมีหลายตัวอย่าง เช่น บริการสวัสดี บริการออกให้นะ บริการโทรฉุกเฉิน บริการให้ยืมเงิน

ค) ผู้บริหารCEO ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ อย่างเป็นกันเองไม่ถือตัว ยอมเปลี่ยนภาพลักษผู้บริหารที่ต้องใส่สูทผูกไททำงานในห้อง มาเป็นพรีเซนเตอร์ฮิบฮอบซึ่งสร้างความสนใจได้มากและผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความประทับใจและความเป็นกันเอง กล้าพูด กล้าเสนอแนะ

ง) การทำงานอย่างเป็นวิถีชีวิต ทุ่มเท ตั้งใจ อดทน ทำงานเป็นทีม “ทุกคนมีทัศนคติที่ดี ไม่มีการเมืองและช่วยสอดประสานกันในจุดอ่อนของแต่ละคน พอร้อยรวมเป้นภาพเดียวก็ได้ความเป็นดรีมทีมอย่างสมบูรณ์”

จ) การเปลี่ยนทัศนคติที่ดี เปลี่ยนภาพลักษณ์ที่สดใส(HAPPY)

ฉ) ไม่ยึดติดกับความสำเร็จ ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


สุดท้ายทำให้สามารถแข่งขันทางธุรกิจ กลับมายืนเป็นเบอร์สองรองจาก AIS ได้ และสามารถสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง มีพลัง มีความคิดสร้างสรรค์ในการคิดสิ่งแปลกใหม่นอกกรอบ และยังคงต้องก้าวต่อไป

ศรีแพ : สิ่งที่ได้จาการอ่านหนังสือเล่มนี้คงต้องบอกว่าเป็นวิธีคิด แนวคิดในการเปลี่ยน เราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้แต่เราสามารถเปลี่ยนตนเองได้ ในที่นี้คงต้องเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนทัศนคติ หากเริ่มที่ตัวเราเองก่อนแล้วคนอื่นๆรอบตัวเราก็จะเห็นเรา อย่างคิดที่จะไปเปลี่ยนคนอื่นหากตัวเองยังไม่เปลี่ยนเราต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน และการเปลี่ยนวิธีที่สองคงต้องเป็นการเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากที่เรามีวิกฤตความขัดแย้งกันในทีมทำให้บรรยากาศในการทำงานขุ่นมัว เราเองไม่อยากเข้าไปในห้องที่มีบรรยากาศขุ่นมัวเราก็เปลี่ยนวิธีการทำงาน ให้เหมือนกับแทค ช่วงเริ่มต้น ต้องใช้ตีนในการทำงาน งานส่งเสริมฯที่ผ่านมายังใช้ตีนไม่พอเราคงต้องเดินไปหาสมาชิกให้มากขึ้นในการพัฒนางานข้างหน้า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมฯได้เปรียบอยู่แล้วเพราะที่ต้องออกพื้นที่เดินเข้ากาสมาชิก ไม่ได้แตความสำพันธ์ที่ดีเท่านั้นแต่เรายังได้ใจเพิ่มมาอีกด้วย การรู้จักกับการรู้ใจไม่เหมือนกันในวันนี้ต้องรู้ใจ ซื้อใจ สมาชิกให้มากขึ้น

ณัฐวัฒน์ : อ่านแล้วได้แง่มุมหลายๆ อย่างในการทำงาน การเปลี่ยนแนวคิด งานที่เป็นชีวิต บริษัทที่เป็นเหมือนบ้านหลังใหญ่ ทุกคนในบริษัทคือพี่น้อง ทุกคนร่วมใจกันทำงานเพื่อพาบริษัทฝ่ามรสุมไปจนเติบโตและมั่นคง ผู้คนที่ยังคงเป็นชุดเดิมหน้าเดิมไม่ว่าก่อนหรือหลังวิกฤต CEO ที่ลุยลงพื้นที่ด้วยตัวเอง ปรับเปลี่ยนตัวเองไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ รับรู้ปัญหาด้วยตัวเองและนำเอามันมาปรับปรุงแก้ไข คุณธนาเรียกมันว่า “การต่อสู้แบบมวยรอง”

อนุพงศ์ : แนวคิดจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ คือ การเป็นคนยอมที่จะเข้าถึงในสิ่งที่ไม่เคยลอง ไม่เคยผ่านประสบการณ์มาก่อน โดยพิจารณาปัญหาด้วยความรอบคอบ และรับฟ้งความคิดเห็นของผู้อื่นและคนรอบข้าง แสดงให้เห็นว่าการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันนั้น

เส้นทางเกษตรกรรมยั่งยืน

จำนวน 307 หน้า
เขียนโดย เดชา ศิริภัทร มูลนิธิข้าวขวัญ
พฤษภาคม 2551

ผกามาศ ทรงโยธิน
เลิงนกทา จ.ยโสธร

และ อำนาจ หวานล้ำ
แม่ทา จ.เชียงใหม่

เส้นทางเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมของ คุณเดชา ศิริภัทร ที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสารหลายฉบับ ในระหว่างปี 2526-2542 เป็นบทความที่เขียนในลักษณะของการแสดงความคิดเห็น มุมมองและข้อเสนอแนะต่างๆ ซึ่งบรรณาธิการของหนังสือเล่มนี้ได้มีการจัดเนื้อหาเป็นกลุ่มๆเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่าย คือ วิพากษ์เกษตรกรรม, ทิศทางเกษตรกรรม, เกษตรกรรมยั่งยืนภาคปฏิบัติ, พันธุกรรมกับเกษตรกรรมยั่งยืน , มหกรรมประชาชน, เรียนรู้จากชุมชน, เรียนรู้จากเพื่อนบ้าน, ชีวิตและความใฝ่ฝัน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ และกว่า 70% ของเกษตรกร ชาวนานับเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด และมีความสำคัญต่อประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีตชาวนามีความผูกพันกับพิธีกรรม ประเพณีต่างๆและธรรมชาติมาก ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้องและสมดุล ชาวนาในอดีตให้ความสำคัญกับการผลิตเพื่อการบริโภคเท่านั้น แต่ต่อมาทัศนะของคนเปลี่ยนไป เป้าหมายของเกษตรกรรมที่เคยผลิตอาหารเพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ กลายเป็นเพียงกิจกรรมอย่างหนึ่งของการผลิตสินค้า เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ เพื่อจุดมุ่งหมายสูงสุดคือกำไร และผลประโยชน์ต่างๆ ก่อให้เกิดการทำลายธรรมชาติ, ระบบนิเวศต่างๆ ซึ่งเป็นยุคของการที่เรียกว่า ปฏิวัติเขียว และหลังจากยุคดังกล่าว ทำให้ระบบนิเวศต่างๆเกิดการเสื่อมโทรมและเป็นพิษ ก่อให้เกิดการขูดรีดผลประโยชน์และผลกำไรออกจากธรรมชาติให้มากที่สุดและเร็วที่สุด ก่อให้เกิดการมองธรรมชาติออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่ต้องการและส่วนที่ไม่ต้องการ จากการมองดังกล่าวก่อให้เกิดหลักการที่สำคัญคือ การทำลาย จากระบบเกษตรกรรมดังกล่าวพบว่าก่อให้เกิดปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเป็นในด้านสังคม เศรษฐกิจ, ระบบนิเวศ, คุณภาพของผลผลิต ต่อมาเกิดกลุ่มบุคคลหลายๆกลุ่มพยายามหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบเกษตรกรรมแผนใหม่ โดยพัฒนาระบบเกษตรกรรมขึ้นหลายระบบซึ่งระบบเกษตรกรรมเหล่านั้นถึงแม้จะมีวิธีการต่างกันแต่จุดมุ่งหมายหลักเดียวกันคือรักษาระบบนิเวศให้กลับฟื้นคืนสู่ความสมดุลและสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ซึ่งตัวอย่างระบบเกษตรกรรมที่เกิดขึ้นในแนวทางนี้คือ ระบบเกษตรอินทรีย์, เกษตรกรรมธรรมชาติ, เกษตรผสมผสาน เป็นต้น

ระบบเกษตรอินทรีย์ มีหลักการพื้นฐานคือ การปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติด้วยอินทรียวัตถุและสิ่งมีชีวิตในดิน เพื่อเป็นพื้นฐานรองรับสิ่งมีชีวิตชั้นสูงต่อไป นอกจากนี้หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด นิยมใช้ชีววิถีและสารธรรมชาติ

ระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ เป็นระบบเกษตรกรรมที่ อาศัยความสมดุลของระบบนิเวศและดำเนินกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับระบบนิเวศในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งมีหลักการใหญ่ๆ 4 ข้อคือ
1. ไม่ไถพรวนพื้นดิน
2. ไม่ใส่ปุ๋ยทุกชนิด
3. ไม่กำจัดวัชพืช
4. ไม่กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช

ระบบเกษตรผสมผสาน เป็นการทำกิจกรรมเกษตรพร้อมกันตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป โดยแต่ละกิจกรรมเอื้อประโยชน์หรือมีผลเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่นการเลี้ยงปลาในนาข้าว จุดเด่นของเกษตรแบบนี้อยู่ที่การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ เอื้อต่อการผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิต ลดความเสี่ยงในเรื่องการตลาด มีความเสถียรภาพสูง

สำหรับประเทศไทยนั้นได้เกิดระบบเกษตรกรรมทางเลือกขึ้น ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกขึ้น ซึ่งเป็นการรวมตัวขององค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชาวบ้าน ทำงานด้านพัฒนาและส่งเสริมฯ ระบบนี้ประเทศไทยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งหมายถึงระบบเกษตรกรรม 4 ระบบคือ
1. ระบบเกษตรกรรมผสมผสาน
2. ระบบเกษตรกรรมอินทรีย์
3. ระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ
4. ระบบวนเกษตร

กลุ่มเครือข่ายกิจกรรมทางเลือกได้มีการ จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระจายความรู้ , รวบรวม และสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรกรรมทางเลือกในประเทศ ,เพื่อเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าด้วยกัน , เพื่อเสนอแนวทางวนเกษตรในการฟื้นฟูป่า และเพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เช่นการจัดงานสัปดาห์เกษตรทางเลือกฯ, การเข้าร่วมสมัชชาคนจน และยังคงมีการพัฒนาตนเองมาจวบจนปัจจุบัน

สิ่งสำคัญของการทำเกษตรอย่างหนึ่งที่ได้มีการกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้คือ พืชพันธุ์พื้นบ้าน ซึ่งถือเป็นขุมทรัพย์ที่สำคัญ มีคุณค่ามากมายหลายด้านโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจากการสำรวจของนักวิยาศาสตร์พบว่า ศูนย์กลาง พืชพันธุ์พื้นบ้านเกือบทั้งหมดอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา

พืชพันธุ์พื้นบ้าน หรืออาจเรียกว่าทรัพยากรพันธุกรรม เป็นพันธุ์พืชและสัตว์ ที่มีการคัดเลือก โดยธรรมชาติ ทั้งจากของธรรมชาติเองและจากตัวมนุษย์จะมีความเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ ของแต่ละพื้นที่แต่ละท้องถิ่น เช่น ทุเรียนพันธุ์ดีต้องบางยี่ขัน, เงาะ ต้องบางยี่ขัน, มะม่วงต้องที่ ต.บางช้าง, พริกที่มีกลิ่นหอมและเผ็ด ต้องเป็นพริกกะเหรี่ยง ซึ่งควรเป็นอย่างยิ่งที่ควรมีการอนุรักษ์ รวบรวมและส่งเสริมให้มีการปลูกและเก็บรักษาพืชพันธุ์พื้นบ้านนั้นไว้ ก่อนที่จะมีการสูญหาย ดังบทเรียนจากประเทศต่างๆ เช่น ฟิลิปปินส์, เกาะชวา อินโดนีเซีย ซึ่งทรัพยากรพันธุกรรมนี้มีความสำคัญมากคือ เป็นแหล่งของการเกิดปัจจัย 4 , เป็นแหล่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งสำคัญในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆไม่เว้นแม้แต่ด้านนิเวศวิทยา ซึ่งปัญหาของการสูญหายทรัพยากรพันธุกรรมดังกล่าว เกิดจากระบบเกษตรแผนใหม่ และการไม่เห็นคุณค่าของทรัพยากรพันธุกรรมที่มีอยู่ จึงก่อให้เกิดการเก็บรวบรวมทรัพยากรพันธุกรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้านขึ้น เช่นการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรในปัจจุบันนี้เปรียบเสมือนคนที่มีแต่ความทุกข์มีแต่คนคอยเอาเปรียบ ดังนั้นจึงควรมีการหันหน้าเข้าหากัน พูดคุยถ่ายทอดสิ่งต่างๆถึงกัน ไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญา, ทรัพยากรพืชพันธุ์ หรืออื่นๆ เพื่อการต่อสู้กับวิกฤติและกระแสต่างๆของสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้

ตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้ ได้มีการเขียนในเรื่องชีวิตและความใฝ่ฝัน มีการมองคนรุ่นเก่าเปรียบเทียบกับคนรุ่นใหม่ และมีการฝากแนวคิดเล็กๆน้อยว่า ความใฝ่ฝันของคนเรานั้นมีมาหลายชั่วอายุคนและยังคงงดงามเช่นที่เคยมี แม้บางครั้งอาจถูกมอมเมา บังคับ ขู่เข็ญ แต่ก็ไม่อาจทำลายความใฝ่ฝันอันงดงามได้ มีคนกลุ่มน้อยบางกลุ่มที่รู้จักกันในนามของ ผู้แสวงหา ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากวิกฤติศรัทธา กลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความหวังและความฝัน แต่จะมีสักกี่คนที่กล้าหาญพอที่จะดำเนินชีวิตไปตามความใฝ่ฝันของตนเอง เรียกว่าทวนกระแสสังคม เป็นคนบ้าแห่งยุคสมัย ไม่ปล่อยตัวล่องลอยไปตามกระแส ขาดเขลาและอ่อนแอจนห่างไกลจากความใฝ่ฝันที่แท้จริงของตน ผู้ที่จะดำเนินชีวิตไปตามความใฝ่ฝันของตนได้แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ที่รู้เท่าทันสังคม, เข้มแข็งและกล้าหาญพอ ไม่ย่อท้อและลังเลต่อสิ่งใดๆ

อำนาจ : สิ่งที่ได้จากหนังสือเล่มนี้คือ ประวัติความเป็นมาของเกษตรกรรมของไทยในอดีตที่ผ่านมาและความย่ำแย่ของระบบการเกษตรกรรมในอดีต เพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตไปข้างหน้าอย่างเหมาะสม”