วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Happy คนพลิกแบรนด์ แบรนด์พลิกคน

เขียนโดย ธนา เธียรอัจฉริยะ
จำนวนหน้าหนังสือ 268 หน้า

ยุทธศักดิ์ ยืนน้อย
ศรีแพ ดวงแก้วเรือน
แม่ทา จ.เชียงใหม่
อนุพงศ์ เขม้นกิจ
สหกรณ์กรีนเนท และ
ณัฐวัฒน์ รัตนอุดมวรรณา
แม่ริม จ.เชียงใหม่


บริษัทDTAC ได้ประสบปัญหาขาดทุนในการให้บริการโทรศัพท์ จากที่เคยประสบผลสำเร็จเป็นรองแค่ AIS เนื่องจาก
ก) ผู้บริหารCEO ไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติ ขั้นตอนมาก
ข) เสียเปรียบคู่แข่งขัน ไม่ว่า เงินลงทุน บุคลากร ความรู้ เทคโนโลยี สัญญาความถี่
ค) ความขัดแย้งภายในบริษัท ชิงดีชิงเด่น

เมื่อเปลี่ยนผู้บริหารCEO(คุณซิคเว่ เบรคเก้และคุณวิชัย เบญจรงกุล) ซึ่งมีแนวคิดใหม่ไม่ยึดติดกรอบการทำงานแบบเก่า จึงสร้างสรรค์รูปแบบวิธีการใหม่ๆ ที่น่าสนใจและสามารถพลิกฟื้นบริษัทให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งได้ ซึ่งใช้วิธีการหลากหลายรูปแบบ ดังนี้

ก) แผน 100 วัน กำหนดเป้าหมายชัดเจน ระบุระยะเวลา วัดได้

ข) การใช้ตีนทำงาน ทั้งผู้บริหารCEO และผู้ปฏิบัติ คือการเดินลงไปสัมผัสเก็บข้อมูลความต้องการจากผู้ใช้บริการโดยตรง เพื่อนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ในการออกโปรโมชั่นในการต่อสู้กับริษัทยักใหญ่ ซึ่งมีหลายตัวอย่าง เช่น บริการสวัสดี บริการออกให้นะ บริการโทรฉุกเฉิน บริการให้ยืมเงิน

ค) ผู้บริหารCEO ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ อย่างเป็นกันเองไม่ถือตัว ยอมเปลี่ยนภาพลักษผู้บริหารที่ต้องใส่สูทผูกไททำงานในห้อง มาเป็นพรีเซนเตอร์ฮิบฮอบซึ่งสร้างความสนใจได้มากและผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความประทับใจและความเป็นกันเอง กล้าพูด กล้าเสนอแนะ

ง) การทำงานอย่างเป็นวิถีชีวิต ทุ่มเท ตั้งใจ อดทน ทำงานเป็นทีม “ทุกคนมีทัศนคติที่ดี ไม่มีการเมืองและช่วยสอดประสานกันในจุดอ่อนของแต่ละคน พอร้อยรวมเป้นภาพเดียวก็ได้ความเป็นดรีมทีมอย่างสมบูรณ์”

จ) การเปลี่ยนทัศนคติที่ดี เปลี่ยนภาพลักษณ์ที่สดใส(HAPPY)

ฉ) ไม่ยึดติดกับความสำเร็จ ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


สุดท้ายทำให้สามารถแข่งขันทางธุรกิจ กลับมายืนเป็นเบอร์สองรองจาก AIS ได้ และสามารถสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง มีพลัง มีความคิดสร้างสรรค์ในการคิดสิ่งแปลกใหม่นอกกรอบ และยังคงต้องก้าวต่อไป

ศรีแพ : สิ่งที่ได้จาการอ่านหนังสือเล่มนี้คงต้องบอกว่าเป็นวิธีคิด แนวคิดในการเปลี่ยน เราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้แต่เราสามารถเปลี่ยนตนเองได้ ในที่นี้คงต้องเรียกว่าเป็นการเปลี่ยนทัศนคติ หากเริ่มที่ตัวเราเองก่อนแล้วคนอื่นๆรอบตัวเราก็จะเห็นเรา อย่างคิดที่จะไปเปลี่ยนคนอื่นหากตัวเองยังไม่เปลี่ยนเราต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อน และการเปลี่ยนวิธีที่สองคงต้องเป็นการเปลี่ยนวิธีการทำงาน จากที่เรามีวิกฤตความขัดแย้งกันในทีมทำให้บรรยากาศในการทำงานขุ่นมัว เราเองไม่อยากเข้าไปในห้องที่มีบรรยากาศขุ่นมัวเราก็เปลี่ยนวิธีการทำงาน ให้เหมือนกับแทค ช่วงเริ่มต้น ต้องใช้ตีนในการทำงาน งานส่งเสริมฯที่ผ่านมายังใช้ตีนไม่พอเราคงต้องเดินไปหาสมาชิกให้มากขึ้นในการพัฒนางานข้างหน้า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมฯได้เปรียบอยู่แล้วเพราะที่ต้องออกพื้นที่เดินเข้ากาสมาชิก ไม่ได้แตความสำพันธ์ที่ดีเท่านั้นแต่เรายังได้ใจเพิ่มมาอีกด้วย การรู้จักกับการรู้ใจไม่เหมือนกันในวันนี้ต้องรู้ใจ ซื้อใจ สมาชิกให้มากขึ้น

ณัฐวัฒน์ : อ่านแล้วได้แง่มุมหลายๆ อย่างในการทำงาน การเปลี่ยนแนวคิด งานที่เป็นชีวิต บริษัทที่เป็นเหมือนบ้านหลังใหญ่ ทุกคนในบริษัทคือพี่น้อง ทุกคนร่วมใจกันทำงานเพื่อพาบริษัทฝ่ามรสุมไปจนเติบโตและมั่นคง ผู้คนที่ยังคงเป็นชุดเดิมหน้าเดิมไม่ว่าก่อนหรือหลังวิกฤต CEO ที่ลุยลงพื้นที่ด้วยตัวเอง ปรับเปลี่ยนตัวเองไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ รับรู้ปัญหาด้วยตัวเองและนำเอามันมาปรับปรุงแก้ไข คุณธนาเรียกมันว่า “การต่อสู้แบบมวยรอง”

อนุพงศ์ : แนวคิดจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ คือ การเป็นคนยอมที่จะเข้าถึงในสิ่งที่ไม่เคยลอง ไม่เคยผ่านประสบการณ์มาก่อน โดยพิจารณาปัญหาด้วยความรอบคอบ และรับฟ้งความคิดเห็นของผู้อื่นและคนรอบข้าง แสดงให้เห็นว่าการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันนั้น

ไม่มีความคิดเห็น: