วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบการจัดการและควบคุมการผลิตอาหารให้ปลอดภัย

GMP (Good Manufacturing Practice) หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตใช้เป็นหลักประกันคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหาร เริ่มต้นมาจากสหรัฐอเมริกา

ในอุตสหกรรมอาหาร ห่วงโซ่อาหารเริ่มต้นจากเกษตรกรรม ทั้งเลี้ยงสัตว์ และเพาะปลูกพืช จากนั้นจะได้เป็นผลลิตทางการเกษตรซึ่งต้องมีการจัดเตรียมเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนสู่กระบวนการผลิตในโรงงานอาหาร หลังจากนั้นผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้ ก็จะถูกขนส่งไปที่ร้านค้า ก่อนจะถึงมือผู้บริโภค จะสังเกตได้ว่าในห่วงโซ่อาหารนั้นมีขั้นตอนหลายขั้นตอนกว่าที่อาหารจะถึงมือผู้บริโภค จึงมีโอกาสทำให้อาหารไม่ปลอดภัยได้

อันตรายของความปลอดภัยของอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

1. อันตรายทางชีวภาพ ปัจจัยที่ทำให้จุลินทรีย์ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษเจริญเติบโตจนก่อปัญหาด้านสุขภาพต่อผู้บริโภค คือ อาหาร น้ำ อุณหภูมิ เวลา ปริมาณออกซิเจน ความเป็นกรดเป็นด่างในอาหารได้แก่จุลินทรีย์ ไวรัส พาราไซต์ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

2. อันตรายทางเคมี ได้แก่ สารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยในระยะเฉียบพลันและระยะยาว อันตรายทางเคมีมาจากแหล่งต่างๆ 4 แหล่ง ได้แก่

- สารเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น Toxin จากเชื้อรา

- สารเคมีเติมลงไปโดยเจตนา เช่น สีผสมอาหาร

- สารเคมีที่อาจปนเปื้อนมาโดยไม่เจตนา ติดมากับวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหาร เช่น ยาฆ่าแมลง

- สารเคมีที่ใช้ในโรงงาน ต้องเป็นสารประเภท Food Grade หรือได้รับอนุญาตให้ใช้ในโรงงานผลิตอาหาร

3. อันตรายทางกายภาพ หมายถึง สิ่งแปลกปลอม สิ่งปลอมปน เมื่อรับประทานเข้าไปก่อให้เกิดการบาดเจ็บ หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่ เศษแก้ว เศษโลหะ เศษไม้ เศษหิน

GMP เป็นกฎหมายของประเทศไทยประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 193 พ.ศ 2543 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหาร ได้แก่

1. สถานที่ตั้ง

2. เครื่องมือเครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต

3. การสุขาภิบาล

4. การควบคุมการผลิต

5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด

6. บุคคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน

GMP สามารถแบ่งเป็น

1. ส่วนของโครงสร้างอาคาร สถานที่การผลิต รวมทั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต ส่วนนี้สำคัญมาก นับเป็นหัวใจของการจัดทำระบบ ถ้าไม่มีความพร้อมในส่วนนี้ กล่าวคือ อาคาร สถานที่การผลิตไม่เหมาะสมไม่ถูกสุขลักษณะหรือไม่สามารถป้องกันแมลงและสัตว์นำโรคได้ หรือมีโอกาสปนเปื้อนสิ่งที่เป็นอันตรายต่างๆเช่น มีฝุ่นมาก น้ำใกล้แหล่งสารพิษ ก็นับเป็นการยากที่จะทำระบบ GMP ให้มีประสิทธิภาพได้

2. ส่วนของการควบคุมกระบวนการผลิตและการจัดทำระบบการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับโครงสร้างอาคารการผลิต เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี มีการล้างทำความสะอาด และเก็บในที่ป้องกันการปนเปื้อนได้ และ จัดเก็บอย่างมีลำดับก่อนหลังการผลิต การเก็บ การขนย้าย หรือขนส่งผลิตภัณฑ์จะต้องทำอย่างเหมาะสม ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือหากมีการใช้สารเคมีเติมลงไปในอาหารจะต้องมีการควบคุมสารเคมีไม่ให้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดนอกจากจะต้องจัดทำระบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานเพื่อใช้เป็นขัอมูลการตรวจสอบย้อนกลับไปได้ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น

3. ส่วนการทำความสะอาดทั้งเครื่องมืออุปกรณ์การผลิตและบุคคล เป็นการควบคุมจุลินทรีย์ที่สามารถปนเปื้อนเข้าไปในกระบวนการผลิตอาหารได้มาก เครื่องมืออุปกรณ์การผลิตทั้งหลายควรมีการฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆ เช่น คลอรีน รวมทั้งการล้างมือในอ่างที่มีน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อลดการปนเปื้อนจากการปฏิบัติงาน มีการสวมถุงมือ หมวกที่คลุมผม หรือชุดกันเปื้อนที่สะอาด มีการดูแลรักษาสุขภาพ ตลอดจนมีการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาจิตสำนึกและความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม

เป้าหมายของ GMP

1. สินค้ามีคุณภาพด้านความเหมาะสมต่อการบริโภค

2. ลดการเกิดของเสีย

3. เพิ่มประสิทธิภาพของคน

4. ลดอุบัติเหตุ

5. ลดข้อร้องเรียน

6. เป็นพื้นฐานของการจัดทำระบบ Food Safety

เราสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตหรือ GMP ในครัวเรือนและสถานที่ทำงานได้ เพราะหากปล่อยปละละเลยไม่สนใจถึงสุขลักษณะเพียงเล็กน้อยในการประกอบอาหาร อาจเกิดโทษจากพิษภัยในอาหารทั้งในระยะยาวและระยะเฉียบพลัน โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ดังนั้นการป้องกันไว้ก่อนเป็นวิธีที่ดียิ่ง

โดยเริ่มจากความสะอาด บริเวณประกอบอาหาร พื้นฝาผนัง เพดาน สะอาด ผิวเรียบ สภาพสมบูรณ์ วางโต๊ะ ตู้ ชั้นวางของบริเวณที่เหมาะสม ทำความสะอาดได้ทั้งถึง

จัดเก็บอุปกรณ์เป็นสัดส่วนหาง่าย และใช้งานไม่ปะปนกัน ซึ่งต้องทำความสะอาดและหมั่นซ่อมแซมเมื่อชำรุด แยกสิ่งของที่ใช้แล้วออกจากบริเวณผลิต มีมาตรการป้องกันสัตว์และแมลง มีแสงสว่างเพียงพอ ต้องติดปล่องควัน ช่องระบายอากาศ น้ำที่ใช้ประกอบอาหารต้องมีคุณภาพเทียบเท่าน้ำดื่ม บริเวณห้องครัวไม่ควรติดตั้งห้องน้ำ มีอ่างล้างมือ ล้างภาชนะเครื่องครัวโดยมีอุปกรณ์สำหรับล้างครบถ้วนและปลอดภัย เช็ดอุปกรณ์ให้แห้งก่อนเก็บในที่มิดชิด มีภาชนะรองรับขยะที่มีฝาปิดโดยทำการแยกประเภทขยะ มีทางระบายน้ำทิ้งที่มีประสิทธิภาพ และไม่เกิดการปนเปื้อนกลับสู่การผลิต

ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือพาหะนำโรคที่สามารถติดเชื้อผ่านทางอาหารได้ ผู้ประกอบอาหารต้องทำความสะอาดร่างกายก่อน สวมเสื้อผ้าที่สะอาด สวมหมวกคลุมผม ผ้าปิดปาก ผ้ากันเปื้อน ไม่พูด แคะ แกะ เกา ขณะ ประกอบอาหาร ซึ่งควรตระหนักในเรื่องของสุขลักษณะส่วนบุคคล เพราะอาจเป็นเรื่องที่หลายๆคนละเลย

การผลิตอาหารให้มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องใส่ใจในสิ่งเหล่านี้ หากเกิดความผิดพลาดไปเพียงเล็กน้อย อาจเกิดโทษต่อสุขภาพผู้บริโภค หรือมีผลเสียต่อชื่อเสียงกิจการค้าได้เช่นกัน

หนังสือเล่มนี้ก็ให้ความเข้าใจเกี่ยวกันงานที่ทำมาก เนื่องจากเป็นการบรรจุข้าวส่งออกไปต่างประเทศ ทำให้รู้ถึงจุดเสี่ยงที่อาจเกิดการปนเปื้อนเข้าไปในอาหารได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังและวางแผนคิดระบบการทำงานให้มากขึ้นเพื่อความปลอดภัยในตัวสินค้า จากเดิมที่โรงบรรจุข้าวยโสธรทำอยู่ก็ถือว่าเป็นระบบ GMP ที่สำคัญต้องเน้นเรื่องความสะอาด ความละเอียด เรียบร้อย การตรวจนับสินค้า ไม่ให้ข้าวปนระหว่างกอง 1 2 3 3A และกอง 4 ซึ่งมีการจดบันทึกในแบบฟอร์ม เพื่อลดความเสี่ยงการปนเปื้อนอาหารและสามารถตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง




วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปรัชาเศรษฐกิจพอเพียง กับความสุขมวลชน และการเกษตรยั่งยืน

หนังสือ ปรัชาเศรษฐกิจพอเพียง กับความสุขมวลชน และการเกษตรยั่งยืน
โดย จรัญ จันทลักขณา

สังคมไทยทุกวันนี้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของกระแสบริโภคนิยม (consumerism) และกระแสวัตถุนิยม (materialism) ซึ่งเป็นอาวุธของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (capitalism) จากประเทศที่พัฒนาแล้วที่มุ่งขายสินค้าและขยายตลาดเพื่อหารายได้เข้าประเทศ การพัฒนาประเทศ วัดกันด้วย จีพีดี (GPD) ย่อมาจาก gross domestic product คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศถ้านับรวมเงินที่ไปทำมาหาได้จากการลงทุน ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า บริษัทต่างชาติได้เข้ามาบุกตลาดในประเทศ ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนที่สุด ก็คือ ห้างต่างๆ เช่นโลตัส ได้เข้าครอบงำคนไทยหมดแล้ว ซึ่งแต่ก่อนจะมีร้านโชหว่ย ให้เราได้ซื้อของแต่ตอนนี้ร้านโชหว่ยเหลือน้อยมาก เพราะสู้โลตัสไม่ได้ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้ให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ในประเทศเพราะถ้าประเทศที่มีการลงทุนมาก ก็จะวัดการพัฒนาประเทศด้วย จีดีพี แต่ในทางเป็นจริงแล้วการพัฒนาประเทศไม่ได้วัดที่ จีดีพี แต่วัดด้วยความสุขของคนมากกว่า เพราะถ้าประเทศพัฒนาแต่คนไม่มีความสุขเลยก็ไม่มีความหมายอะไร
ปรัชญา หมายถึง แนวทาง ความคิดหรือความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ หรือเป็นระบบหลักการเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงการดำรงอยู่และปฏิษัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก
ความพอประมาณ : ถ้ามองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าชาวนาจะใช้ควายไถนา แต่ปัจจุบันชาวนาส่วนใหญ่จะใช้ควายเหล็กไถนา ชาวนาที่ใช้ควายไถนาก็ไม่มีหนี้สินเพราะไม่ต้องกู้เงินมาซื้อควายเหล็กและซื้อน้ำมัน มาใส่ควายเหล็ก ซึ่งทำให้ต้นทุนการทำนาเพิ่มสูงขึ้น ถ้าเรามีความพอประมาณในการใช้ควายเหมือนเดิมก็ไม่ต้องมีหนี้สิน
ความมีเหตุผล : การทำนา ปลูกผัก ปลูกผลไม้ คนไทยก็ต้องซื้อพันธุ์จากต่างชาติ ที่เป็น จีเอ็มโอ (การดัดแปรพันธุ์กรรม) ต่างชาติบอกว่าสามารถต้านทานโรค แมลง ได้ ซึ่งเราก็ต้องเสียเงินซื้อเมล็ดพันธุ์ ถ้าเราใช้เมล็ดพันธุ์ในพื้นที่ ที่เรามีอยู่ซึ่งไม่ต้องเสียเงินซื้อ และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่กับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น

ปัจจัยที่เกี่ยวกับความเสี่ยงและภูมิคุ้มกัน

ที่ดิน-นา : การที่มีที่ดินทำนาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง เป็นการลดความเสี่ยง (เพิ่มภูมิต้านทาน) อย่างมากเพราะเป็นหลักประกันของชีวิต
เมล็ดพันธุ์ข้าว : ชาวนาลดความเสี่ยงด้วยการคัดเลือกเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองในครัวเรือน
น้ำฝน : ชาวนาส่วนใหญ่จะอาศัยน้ำฝนในการทำนา ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของชาวนา แต่ชาวนาก็มีแหล่งกักเก็บน้ำ เช่น สระ หนอง คลอง บึง ก็เป็นวิธีการสร้างภูมิคุ้มกัน เพราะสามารถเลี้ยงปลา ปลูกผัก และเก็บเกี่ยวพืชน้ำได้
การไถนา : ชาวนาจะใช้ควายไถนา การเลี้ยงควายไถนาช่วยให้ชาวนามีความมั่นคงในชีวิตและครอบครัวมีความสุข แต่รัฐบาลก็ส่งเสริมให้ชาวนาใช้ควายเหล็ก (เพิ่มความเสี่ยง)
ปุ๋ย : การทำนาแบบดั้งเดิม ใช้ปุ๋ยที่ได้จากควาย โดยไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาใส่
โรค แมลงและศัตรูพืช และสัตว์ : เป็นปัจจัยความเสี่ยงของชาวนา การใช้ยาเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ภูมิปัญญาชาวนาในการป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ คือ การทำหุ่นไล่กา เพื่อไม่ให้นกลงมากินข้าวในนา
เกษตรกร : คนไทยในชนบทที่มีอาชีพทางการเกษตรส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่เลื่อมใสและใกล้ชิดในพุทธศาสนา พุทธเศรษฐศาสตร์ คือ เป็นหลักเศรษฐกิจที่สอนให้คนเป็นคนขยัน ขันแข็ง แต่รู้จักพอ เมื่อมีคนไม่โลภก็จะไม่ทำลาย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นหลักสอนคนให้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ไม่ได้ยึดเงิน (จีดีพี) เป็นหลัก ชาวบ้านในชนบทดั้งเดิมส่วนใหญ่
เป็นคนมีความสุข นิยมเรื่องคุณค่าและคุณความดีมากกว่าเรื่องเงิน คนที่มีเงินแต่เป็นคนไม่ดีชาวบ้านก็ไม่นับถือ คนสมัยก่อนจึงเคารพปราชญ์มากกว่าเคารพเศรษฐี สังคมไทยทุกวันนี้ นับถือวัตถุมากขึ้น โรควัตถุนิยมได้เข้ามาระบาดเข้าไปในชนบททำให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิตชาวบ้าน ชาวบ้านมีภูมิคุ้มกันลดลง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องกลับมาเพื่อปฏิรูประบบการทำนาให้กลับไปสู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน มั่นคง และช่วยให้ชาวนามีความหวังกำลังใจในการดำรงชีวิตอันสงบสันติ เป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศต่อไป

การเกษตรยั่งยืน กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงมีความสอดคล้องกันโดยหลักการ แต่การเกษตรยั่งยืนเน้นเกี่ยวกับการเกษตร โดยยึดหลักสำคัญ คือ
- เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตทางการเกษตร (ทรัพยากรธรรมชาติและ ทรัพยากรที่ผลิตขึ้น)
- ได้ผลผลิตเพียงพอ (optimum) ไม่ใช่ผลผลิตสูงสุด (maximum)
- เพื่อสนองความจำเป็น (need) ของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลง (สิ่งจำเป็นพื้นฐานของคนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา)
- โดยสามารถดำรง(maintain) หรือบำรุง (enhance) คุณภาพสิ่งแวดล้อม และ
- อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ( ดิน น้ำ ลม ไฟ พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ดั้งเดิม) ไว้ให้ลูกหลานได้
จึงเห็นได้ว่าการเกษตรเชิงวิถีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณและศาสนาธรรมเป็นกรอบ มีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นฐาน เป็นการเกษตรอันยั่งยืน ที่แท้จริงมาแสนนานแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนที่คนตะวันตกมาให้ความสนใจเมื่อราวสามสิบปีที่แล้ว และนักวิชาการไทยเริ่มตื่นขึ้นมาศึกษา ราวกับว่าการเกษตรยั่งยืนเป็นหลักการที่ค้นพบใหม่
ปรัชาเศรษฐกิจพอเพียง กับความสุขมวลชน และการเกษตรยั่งยืน จึงไม่ได้วัดกันที่เงินเพราะเงินซื้อความสุขไม่ได้ คนเราจะดำรงอยู่ได้ต้องมีเหตุผลและความพอประมาณ เดินทางสายกลางจึงจะอยู่ได้ด้วยความสงบสุข

ไล่ล่าแสงตะวัน

ไล่ล่าแสงตะวัน
Chasing Daylight
Eugene O’ Kelly ผู้เขียน
โตมร ศุขปรีชา ผู้แปล

คนเราทุกวันนี้มักมีเหตุผลดีๆกับสิ่งที่เราทำ ส่วนใหญ่เราจึงวิ่งวนอยู่กับโลกที่สับสนวุ่นวายและเชื้อชวนความโกลาหลนั้นเข้ามาอยู่ในหัวใจ เหตุผลดีๆเหล่านั้นจึงมักกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้พระอาทิตย์ในหัวใจเราราแสงลงไป เวลามีชีวิตอยู่- เรามักหลงลืมการหยุดนิ่ง เพื่อพำนักอยู่กับปัจจุบันขณะ แต่มักวิ่งวนไปใช้ชีวิตกับอนาคต หรือไม่ก็หมกมุ่นกับสิ่งที่ผ่านมาแล้ว และย้อนเวลากลับไปใช้ชีวิตอยู่ในอดีต กว่าเราจะรู้ว่า อนาคตไม่มีวันมาถึง และอดีตไม่มีวันหวนกลับมา เราก็อาหลงเหลือวันเวลาอยู่เพียงน้อยนิดเสียแล้ว
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ก็เหมือนกัน เขาเป็นถึงซีอีโอของบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง เขาเป็นอีกคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ในอนาคตเกือบตลอดเวลา ดั้งนั้น เมื่อเหลือเวลาอีกเพียงสามเดือนสุดท้ายในชีวิต เขาจึงต้องครุ่นคิดว่าจะใช้เวลาอย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด ให้ทุกขณะเป็นช่วงเวลาอันสมบูรณ์แบบ
เขาลงมือทำ.....ซึ่งก็คือ การลงมือปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความจริง มันเป็นภารกิจเล็กๆที่พกเราทุกคนล้วนต้องทำ-ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ เพื่อก้าวผ่านไปสู่โลกฟากโน้น ขอพียงให้เราเดินตามแสงตะวันนั้นไปที่ละวันๆ-เท่านั้นเอง
การที่คนเรารู้ว่า เราจะมีชีวิตอยู่อีกเพียงแค่สามเดือน มันย่อมเป็นเรื่องที่ทำใจได้ยากมาก สำหรับคนที่มีพร้อมทุกอย่างและไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นกับตัวเอง แต่เมื่อมันได้เกิดขึ้นมาแล้ว ก็ต้องยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นเรื่องที่ยากมากเลยจากคนที่เคยทำงานเป็นผู้บริหารในบริษัทที่ใหญ่โต มีพนักงาน 20,000 กว่าคน เป็นบริษัทที่ใหญ่โตที่สุดในอเมริกา เคยเป็นนักวางแผนในด้านธุรกิจ เป็นผู้บริหาร นักบัญชี และซีอีโอ แต่เขาต้องมาวางแผนให้กับตัว ปรับเปลี่ยนตัวเอง เพราะเหลือเวลาอีกไม่มากแต่มีเรื่องที่ต้องทำอีกหลายอย่าง ทำให้เขาคิดถึงเรื่องที่ผ่านมา
“หลายปีที่ผ่านมา เราเดินตามแสงสว่างแห่งตะวันร่วมกัน
บัดนี้ เรากำลังไล่ตามแสงนั้นด้วยกันเป็นครั้งสุดท้าย
เพียงแค่ครั้งนี้ แสงตะวันนั้นจะจางลง
ไม่ได้แค่เลือนรางลงเหมือนแสงในวันสวยวันหนึ่งเท่านั้น
แต่เป็นการจางหายไปของแสงแห่งชีวิต
ที่สวยงามร่วมกัน”
สิ่งที่เขาต้องทำในเวลาที่เหลืออยู่ คือ.....
1.ลาออกจากงาน และ
2.เลือกวิธีรักษาทางการแพทย์ที่อนุญาตให้เขาทำ....
3.มีเวลามีชีวิตที่ดีที่สุด ดีเท่าที่ชีวิตเจ็บป่วยของผมจะเป็นไปได้

การลาออกจากงาน เป็นสิ่งที่เจ็บปวดมากสำหรับคนที่ทำงานมาเกือบ 33 ปี ข่าวการลาออกของเขาแพร่ออกไป เนื่องจากการเจ็บป่วย เขาได้รับกำลังใจอย่างอบอุ่นจากคนรอบข้างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนทางธุรกิจ และเพื่อนร่วมงานไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ เขาได้ทำการรักษาทางการแพทย์ตามคำแนะนำของแพทย์ แต่อาการที่แสดงออกมา บ่งบอกถึงเวลาที่เขายังมีอยู่ เหลืออีกไม่มากนัก ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่สิ่งที่เขาอยากทำมากที่สุด คือ “การบอกลาคนอื่น”เหตุผลในการบอกลาคนอื่น คือ “การบอกลาด้วยการความสบายใจมากกว่าความทุกข์ การคิดอย่างลึกซึ่งเกี่ยวกับสิ่งที่สมควรจะคิด การเชื่อในการเปลี่ยนแปลงและฝึกฝน และ การที่เชื่อว่ายังทำได้ในเวลาที่ยังเหลืออยู่” แต่การบอกลาที่จะทำให้คนอื่นมีความสุขมากกว่าความทุกข์นั่นจะทำได้อย่างไร บางคนอาจจะเศร้าและลำบากใจอยู่บ้างในการที่จะพูดคุยกับเขาเป็นครั้งสุดท้าย หรือกินอาหารกับเขาหรือไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะกับเขาเป็นครั้งสุดท้าย พวกเขาซาบซึ้งที่ได้รู้ว่า พวกเขามีความหมายมากมายแค่ไหน จากการลาครั้งนี้ เขาอยากให้ทุกคนคิดถึงเวลาที่ดีๆที่ทำร่วมกัน สิ่งรื่นรมย์และสร้างสรรค์ในวามสัมพันธ์จะเอาชนะเรื่องเศร้ากะทันหันนี้ได้ เหตุผลที่เขาเลือกการบอกลาวิธีนี้เพื่อที่เขาจะได้เห็นสิ่งเหล่านั้นในดวงตาของคนเหล่านั้น มันสามารถที่จะสื่อความหมายได้หลายอย่าง แทนที่เขาจะเลือกวิธีบอกลาด้วยการโทรศัพท์หรือการเขียนจดหมาย ตราบใดที่การจากลาเป็นไปในแง่บวก ก็จะนำความสุขสบายใจที่ยิ่งใหญ่มาให้ทั้งทั้งสองฝ่ายเสมอ
การปิดฉากความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานเป็นที่น่าพอใจเป็นพิเศษ ภาระหน้าที่ของเขาเสร็จสิ้นลง อนาคตอันสดใสที่เขาทำงานหนักเพื่อมันมาตลอดกำลังจะมาถึง เขารู้ว่าเขาจะไม่ได้เห็นมัน สิ่งสำคัญที่สุดที่เขาสามารถที่เปลี่ยนผ่านตัวเองได้ในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ตัวเองสามารถที่จะพ้นทุกข์ในวาระสุดท้ายในชีวิต ในที่สุดการไล่ล่าแสงตะวันของเขาก็ปิดฉากลง เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ยังไม่ได้หมดเพียงแค่นี้ ยังมีอีกหลายๆเรื่องที่พูดถึงในสิ่งที่ดีๆรอบตัวที่เราสมควรทำ และเราก็ได้เรียนรู้ว่า.....
“การยอมรับตัวเอง ปรับเปลี่ยนเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายในเวลาที่จำกัด”
“การเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันได้อย่างไร”
“ความรับผิดชอบแรกสุดของทุกๆคน ก็ คือการมีสติตลอดเวลาเท่าที่จะทำได้”
แม้ชีวิตของเรากับผู้คนรายรอบจะเป็นเพียงความรื่นรมย์เพียงชั่วคราว แต่ห้วงเวลาที่ราได้ใช้จ่ายและสนุกสนานไปกับพวกเขานั้นไม่เคยจางหายไป และหากเราเอาชนะความกลัวของตัวเองได้ แม้กระทั่งความกลัวในการเผชิญหน้ากับวาระสุดท้ายของชีวิตและต้องจากคนที่เรารักไป เราก็สามารถเอาชนะได้ทุกสิ่ง

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คู่มือสร้างสุขในทุก ๆ วัน



คู่มือสร้างสุขในทุก ๆ วัน
Good Life Guide
นายแพทย์สมชาย สำราญเวชพร ผู้เขียน

สังคมเราทุกวันนี้เป็นสังคมแห่งวัตถุนิยม ผู้คนในสังคมต่างมุ่งแสวงหาเงินทอง ทรัพย์สิน อำนาจบารมี และความสะดวกสบายต่าง ๆ เพื่อมาเติมเต็มให้กับชีวิตของตนเอง และเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า ความสุข ที่คนเราปราถนาและไขว่คว้าที่จะมี เพื่อให้มีหน้ามีตาในสังคม พร้อมกันนี้สังคมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็มีตัวอย่างมากมายที่บอกเราได้ว่า “แม้จะรวยล้นฟ้า อำนาจวาสนาล้นมือ ก็ใช่ว่าจะมีความสุขได้อย่างแท้จริง” แต่การรับรู้ถึงความรู้สึกสุขได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะมีผู้คนห้อมล้อมเราอยู่หรือเมื่อเราต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวก็ตาม นี้ต่างหากที่เรียกว่า ความสุขทางใจอย่างแท้จริง หนังสือเล่มนี้ได้พยายามสื่อความหมายของ ความสุขแท้จริง ว่าไม่ได้อยู่ที่ปัจจัยภายนอก หรือวัตถุราคาแพงที่เราพากันแสวงหามาให้กับตัวเอง และมีรอยยิ้มแห่งความสุขกับมันเพียงชั่วคราวและก็หมดไป ทำให้ต้องหาใหม่มาเติมเต็มมันเรื่อยไป
เช่นเดียวกับความทุกข์ที่เราพบเห็น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอัตคัดขัดสน ไม่ได้ขึ้นกับโชคชะตาหรือฟ้ากำหนด “สุขหรือทุกข์” อยู่ที่ตัวเราเองต่างหาก ในยามที่เราเผชิญกับปัญหาหรือความทุกข์ เรามักจะมองไม่เห็น หรือไม่ก็ลืมมันไปสนิทใจว่าเราจะแก้กับมันอย่างไร ฉันชอบบทหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ คือ ลุกขึ้น ในบทนี้กล่าวไว้ออย่างน่าคิด ว่า “การเสียใจอาจยับยั้งไม่ได้ในคราวแรก แต่ในที่สุดแล้วคุณควรจะถามตัวเองว่า : “เราจะเสียใจไปอย่างนี้หรือ” , “เราจะเสียใจไปอีกนานสักเท่าไรถึงจะเพียงพอและสาสม” และ”ความเสียใจสามารถแก้ไขทุกสิ่งทุกอย่างให้ดีขึ้นได้บ้างไหม” เสียใจไปก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อันใด แต่ความเสียใจจะเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้เราแก้ไขเรื่องราวต่าง ๆ ให้ดีขึ้นในคราวต่อไป จงเช็ดน้ำตา ล้างหน้า ส่องกระจก และแต่งตัวให้ดูดีเข้าไว้ เพราะคุณยังมีจุดมุ่งหมายอื่น ๆ ที่ต้องทำอีกมากมาย
ระบาย คุณรู้สึกอย่างไรกับคำนี้ แต่หนังสือเล่มนี้ทำให้ฉันรู้สึกดีและเข้าใจความต้องการของตัวเองมากขึ้น “เขาบอกไว้ว่าเราจงระบายเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้กับคนใกล้ชิดได้ฟัง แม้มันจะเจ็บปวดและทรมานกับการรื้อฟื้นเรื่องที่ไม่อยากจะกล่าวถึง แม้ว่าน้ำตาจะนองหน้า แต่นั้นเป็นน้ำตาที่ช่วยชะล้าง ความทุกข์ ทรมานใจให้หมดสิ้นไป
ส่วนแรกของหนังสือได้พยายามให้เรามองกลับมาที่ตัวเรา และบอกเล่าให้เราเข้าใจความเป็นไปของสิ่งรอบข้างที่เป็นอยู่อย่างเข้าใจ เพื่อให้ลดความคาดหวังในตัวเราเองลง เข้าใจตัวเอง และค้นหาความสุขในตัวเราให้ได้
ฉันชอบคำกล่าวหนึ่งในบทหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ คือ “จงหลีกเลี่ยงคนไม่มีสาระ และไร้คุณภาพ แล้วชีวิตคุณจะมีความสุขขึ้นมากที่เดียว” คุณคิดว่า “มิตรภาพ คืออะไร บทหนึ่งในหนังสือนี้ได้ทำให้ฉันเข้าใจว่า “หากเราต้องการสร้างมิตรภาพที่กอปรด้วยความหวังดีต่อกัน
เราเองก็ควรเปิดใจยอมรับ ละทิฐิหรือข้อจำกัดทั้งปวงแล้วมิตรภาพของคุณก็จะมั่นคงและยั่งยืน
เนื้อหาในหนังสือไม่ได้หมดเพียงเท่านี้ ยังมีหลาย ๆ บทที่พูดถึงสิ่งดี ๆ รอบตัวที่เราควรทำและฉันก็ได้เรียนรู้ว่า
อย่าทำอะไรมากเกินไป จนเป็นภาระต่อตนเอง
อย่าทำอะไรมากเกินไป จนเป็นผลเสียหายต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ
อย่าทำอะไรมากเกินไป จนกระทั่งไม่มีงานชิ้นใดที่ออกมาดีเลย
อย่าทำอะไรมากเกินไป จนไม่มีเวลาสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่น
อย่าทำอะไรมากเกินไป จนไม่มีเวลาศึกษาและพัฒนาตนเอง
สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ คือ การหาความสุขให้กับตัวเอง คำตอบเหมือนกำปั้นทุบดินใช่ใหม? แต่ฉันได้เรียนรู้ว่าหากเราพูดอะไรออกไปมากเท่าไร คำพูดเหล่านั้นจะกลับมาเป็นนายเรา การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองก็ใช่ว่าจะเห็นผลเร็ว แต่สำหรับฉันแล้ว หนังสือเล่มนี้ก็มีส่วนในการเปลี่ยนความคิดบางอย่างของฉันไป และฉันก็รู้สึกมีความสุขกับตัวเองมากกว่าเมื่อก่อน และก็เริ่มความเข้าใจความต้องการของตัวเองมากขึ้น หนังสือเล่มนี้ยังมีบทสรุปแนวทางและวิธีการที่จะก้าวไปหาความสุขไว้อย่างน่าสนใจ คงอยากรู้แล้วสินะว่าบทสรุปจะเป็นเช่นไร ถ้าอย่างนั้นต้องลองหาอ่านดู
"ไม่ว่าจะเบี้ยว จะเอียง จะล้ม จะซวนเซ ก็จงยืนด้วยตัวเองเสมอ"