วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปรัชาเศรษฐกิจพอเพียง กับความสุขมวลชน และการเกษตรยั่งยืน

หนังสือ ปรัชาเศรษฐกิจพอเพียง กับความสุขมวลชน และการเกษตรยั่งยืน
โดย จรัญ จันทลักขณา

สังคมไทยทุกวันนี้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของกระแสบริโภคนิยม (consumerism) และกระแสวัตถุนิยม (materialism) ซึ่งเป็นอาวุธของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (capitalism) จากประเทศที่พัฒนาแล้วที่มุ่งขายสินค้าและขยายตลาดเพื่อหารายได้เข้าประเทศ การพัฒนาประเทศ วัดกันด้วย จีพีดี (GPD) ย่อมาจาก gross domestic product คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศถ้านับรวมเงินที่ไปทำมาหาได้จากการลงทุน ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า บริษัทต่างชาติได้เข้ามาบุกตลาดในประเทศ ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนที่สุด ก็คือ ห้างต่างๆ เช่นโลตัส ได้เข้าครอบงำคนไทยหมดแล้ว ซึ่งแต่ก่อนจะมีร้านโชหว่ย ให้เราได้ซื้อของแต่ตอนนี้ร้านโชหว่ยเหลือน้อยมาก เพราะสู้โลตัสไม่ได้ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลได้ให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน ในประเทศเพราะถ้าประเทศที่มีการลงทุนมาก ก็จะวัดการพัฒนาประเทศด้วย จีดีพี แต่ในทางเป็นจริงแล้วการพัฒนาประเทศไม่ได้วัดที่ จีดีพี แต่วัดด้วยความสุขของคนมากกว่า เพราะถ้าประเทศพัฒนาแต่คนไม่มีความสุขเลยก็ไม่มีความหมายอะไร
ปรัชญา หมายถึง แนวทาง ความคิดหรือความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ หรือเป็นระบบหลักการเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงการดำรงอยู่และปฏิษัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก
ความพอประมาณ : ถ้ามองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าชาวนาจะใช้ควายไถนา แต่ปัจจุบันชาวนาส่วนใหญ่จะใช้ควายเหล็กไถนา ชาวนาที่ใช้ควายไถนาก็ไม่มีหนี้สินเพราะไม่ต้องกู้เงินมาซื้อควายเหล็กและซื้อน้ำมัน มาใส่ควายเหล็ก ซึ่งทำให้ต้นทุนการทำนาเพิ่มสูงขึ้น ถ้าเรามีความพอประมาณในการใช้ควายเหมือนเดิมก็ไม่ต้องมีหนี้สิน
ความมีเหตุผล : การทำนา ปลูกผัก ปลูกผลไม้ คนไทยก็ต้องซื้อพันธุ์จากต่างชาติ ที่เป็น จีเอ็มโอ (การดัดแปรพันธุ์กรรม) ต่างชาติบอกว่าสามารถต้านทานโรค แมลง ได้ ซึ่งเราก็ต้องเสียเงินซื้อเมล็ดพันธุ์ ถ้าเราใช้เมล็ดพันธุ์ในพื้นที่ ที่เรามีอยู่ซึ่งไม่ต้องเสียเงินซื้อ และเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่กับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น

ปัจจัยที่เกี่ยวกับความเสี่ยงและภูมิคุ้มกัน

ที่ดิน-นา : การที่มีที่ดินทำนาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง เป็นการลดความเสี่ยง (เพิ่มภูมิต้านทาน) อย่างมากเพราะเป็นหลักประกันของชีวิต
เมล็ดพันธุ์ข้าว : ชาวนาลดความเสี่ยงด้วยการคัดเลือกเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองในครัวเรือน
น้ำฝน : ชาวนาส่วนใหญ่จะอาศัยน้ำฝนในการทำนา ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของชาวนา แต่ชาวนาก็มีแหล่งกักเก็บน้ำ เช่น สระ หนอง คลอง บึง ก็เป็นวิธีการสร้างภูมิคุ้มกัน เพราะสามารถเลี้ยงปลา ปลูกผัก และเก็บเกี่ยวพืชน้ำได้
การไถนา : ชาวนาจะใช้ควายไถนา การเลี้ยงควายไถนาช่วยให้ชาวนามีความมั่นคงในชีวิตและครอบครัวมีความสุข แต่รัฐบาลก็ส่งเสริมให้ชาวนาใช้ควายเหล็ก (เพิ่มความเสี่ยง)
ปุ๋ย : การทำนาแบบดั้งเดิม ใช้ปุ๋ยที่ได้จากควาย โดยไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาใส่
โรค แมลงและศัตรูพืช และสัตว์ : เป็นปัจจัยความเสี่ยงของชาวนา การใช้ยาเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ภูมิปัญญาชาวนาในการป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ คือ การทำหุ่นไล่กา เพื่อไม่ให้นกลงมากินข้าวในนา
เกษตรกร : คนไทยในชนบทที่มีอาชีพทางการเกษตรส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่เลื่อมใสและใกล้ชิดในพุทธศาสนา พุทธเศรษฐศาสตร์ คือ เป็นหลักเศรษฐกิจที่สอนให้คนเป็นคนขยัน ขันแข็ง แต่รู้จักพอ เมื่อมีคนไม่โลภก็จะไม่ทำลาย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นหลักสอนคนให้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ไม่ได้ยึดเงิน (จีดีพี) เป็นหลัก ชาวบ้านในชนบทดั้งเดิมส่วนใหญ่
เป็นคนมีความสุข นิยมเรื่องคุณค่าและคุณความดีมากกว่าเรื่องเงิน คนที่มีเงินแต่เป็นคนไม่ดีชาวบ้านก็ไม่นับถือ คนสมัยก่อนจึงเคารพปราชญ์มากกว่าเคารพเศรษฐี สังคมไทยทุกวันนี้ นับถือวัตถุมากขึ้น โรควัตถุนิยมได้เข้ามาระบาดเข้าไปในชนบททำให้เกิดความเสี่ยงต่อชีวิตชาวบ้าน ชาวบ้านมีภูมิคุ้มกันลดลง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องกลับมาเพื่อปฏิรูประบบการทำนาให้กลับไปสู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน มั่นคง และช่วยให้ชาวนามีความหวังกำลังใจในการดำรงชีวิตอันสงบสันติ เป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศต่อไป

การเกษตรยั่งยืน กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงมีความสอดคล้องกันโดยหลักการ แต่การเกษตรยั่งยืนเน้นเกี่ยวกับการเกษตร โดยยึดหลักสำคัญ คือ
- เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตทางการเกษตร (ทรัพยากรธรรมชาติและ ทรัพยากรที่ผลิตขึ้น)
- ได้ผลผลิตเพียงพอ (optimum) ไม่ใช่ผลผลิตสูงสุด (maximum)
- เพื่อสนองความจำเป็น (need) ของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลง (สิ่งจำเป็นพื้นฐานของคนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา)
- โดยสามารถดำรง(maintain) หรือบำรุง (enhance) คุณภาพสิ่งแวดล้อม และ
- อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ( ดิน น้ำ ลม ไฟ พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ดั้งเดิม) ไว้ให้ลูกหลานได้
จึงเห็นได้ว่าการเกษตรเชิงวิถีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณและศาสนาธรรมเป็นกรอบ มีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นฐาน เป็นการเกษตรอันยั่งยืน ที่แท้จริงมาแสนนานแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนที่คนตะวันตกมาให้ความสนใจเมื่อราวสามสิบปีที่แล้ว และนักวิชาการไทยเริ่มตื่นขึ้นมาศึกษา ราวกับว่าการเกษตรยั่งยืนเป็นหลักการที่ค้นพบใหม่
ปรัชาเศรษฐกิจพอเพียง กับความสุขมวลชน และการเกษตรยั่งยืน จึงไม่ได้วัดกันที่เงินเพราะเงินซื้อความสุขไม่ได้ คนเราจะดำรงอยู่ได้ต้องมีเหตุผลและความพอประมาณ เดินทางสายกลางจึงจะอยู่ได้ด้วยความสงบสุข

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ผมอยากได้ไฟล์.doc เนื้อเรื่องเต็มอ่ะครับ จะเอาไปประกอบการเรียนการสอน และทำการวิเคราะห์ประโยชน์ที่ได้รับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ