วนเกษตร ฉะเชิงเทรา
โลกาภิวัตน์ ในที่นี้หมายถึง โลกาภิวัตน์ทางศก. การลดการควบคุมทางศก. การรวมศูนย์ความร่ำรวยไว้ในมือบรรษัทไม่กี่แห่ง ขยายช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน
เรายังอยู่ในระบอบอาณานิคม แบบใหม่ จากเดิม เป็นการล่าอาณานิคมทางการเมือง ในตอนนี้เราอยู่ในอาณานิคมทางศก.
ที่มีกระบวนการในการทำให้เราเลิก ผลิตอาหารเพื่อบริโภคเอง เพื่อทรัพยากรของตนเอง เลิกผลิตเสื้อผ้าเอง เลิกทำที่อยู่อาศัยเอง
เครื่องมือที่ใช้
การช่วยเหลือในประเทศที่สาม , สนธิสัญญาการค้าและการลงทุน , และการค้าเสรี
กระบวนการสั่งสมของบรรษัทขนาดใหญ่
พยายามที่จะรวมศูนย์กลางของอำนาจทางศก.แบบใหม่นี้ ใช้กลไกการกำหนดระบบเงินตราเดียว ซึ่งทำให้บรรษัทเหล่านี้ ไม่สนใจเรื่องการเมือง เพราะว่าเค้าสามารถกำหนดทิศทางการเมืองให้ทำในสิ่งที่เค้าต้องการได้ ซึ่งบรรษัทเหล่านี้ ควบคุมน้ำ ควบคุมอาหาร ควบคุมข้อมูล ทั้งในโรงเรียนและสื่อ ควบคุมรัฐบาล ควบคุมทิศทางการพัฒนาและที่สำคัญ การมีอำนาจเหนือเสรีภาพของคน เหนือการพูดและประชาธิตไตยที่แท้จริง
ระบบการค้าแบบนี้ จะหลอมรวมวัฒนธรรมให้อยู่ภายใต้อำนาจระบบศก. ให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ตามอำนาจการโฆษณา/เงินตรา ลบล้างความเชื่อมั่นของคน ที่เข้าใจหลักศีลธรรมและจิตวิญญาณอันดีงาม รวมถึงทิศทางการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ตอบสนองคนเพียงกลุ่มเดียว ได้แก่ การขยาย สร้างถนนดี ๆ เพื่อการขนส่ง สร้างท่าเรือเพื่อการขาย/ซื้อสินค้า สร้างท่าอากาศยาน ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกลง แต่เทคโนโลยีในระดับชาติจะแพงขึ้น แม้กระทั่งอาหาร อาหารที่ชุมชนผลิตได้จะราคาสูงกว่าอาหารจากเมืองจีนที่มีการผลิตที่รีดผลผลิตจากฐานทรัพยากร ทำให้คนผลิตกลายเป็นแรงงานราคาถูก ในขณะที่คนบริโภคนั้นไม่มีโอกาสรู้ได้เลยว่าได้ซื้อชีวิตและจิตวิญญาณชองคนโลกที่สาม
กระบวนทัศน์ใหม่
การศึกษา ส่งเสริมให้คนเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก เลิกระบบการผลิตที่หลากหลายที่สามารถตอบสนองท้องถิ่นได้ สอนให้คนเรียนรู้ว่าต้องกิน-ใช้ของที่มีผู้เชี่ยวชาญจากระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ผลิตให้ใช้ ซึ่งบริษัทเหล่านั้นมีอำนาจในการควบคุม ในกรณีสินค้าภาคเกษตร สร้างกระบวนการให้ผลิตแบบโดดเดี่ยว ต้องใช้พืชพันธุ์หรือแม้กระทั่งพันธุวิศวกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตและทนทานในการขนส่ง เผาผลาญทรัพยากรเพื่อให้ได้ผลผลิตและขาย
สื่อ ที่มาจากระบบโลกาภิวัตน์ เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลง ทำลายคุณค่าของความเป็นคน ความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตน (เสื้อผ้า หน้า ผม สีผิว บ้านเรือน การละเล่น ดนตรี การละเล่น การขับร้อง การเคารพในประสบการณ์คนแก่) ทำลายจิตวิญญาณแห่งการนับถือตนเอง ตอกย้ำให้คนให้คุณค่ากับเงิน กระตุ้นให้คนคิดว่างานมีที่กี่แห่งและแย่งชิงกันทำงานเพื่อให้เกิดการยอมรับและมีคุณค่าในตนเอง เมื่อเงินมีอำนาจ ทำให้เราปฏิเสธที่จะซื้อสินค้าที่เราผลิตเองแต่ราคาสูงกว่าสินค้าที่เดินทางมาข้ามทวีป ในขณะเดียวกันสื่อกระตุ้นให้เราเห็นว่าประเทศโลกที่สามยากจน ต้องใช้พันธุวิศวะเข้ามาเพิ่มผลผลิต สื่อส่งเสริมให้ใช้ชีวิตแบบเดียวกันทั่วโลก ส่งเสริมการบริโภค ส่งเสริมความรุนแรง การล่วงละเมิดทางเพศ
สิ่งที่สะท้อนให้เห็นคือ คนยากจนลง มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น แต่ฐานทรัพยากรลดน้อยลง เกิดช่องว่างของคนรวย-จน คนไม่สนใจสังคม วัฒนธรรม-ประเพณี ผู้คนดิ้นรน เป็นปัจเจกมากขึ้น แม้แต่สุขภาพตนเองก็ขายเพื่อให้ได้เงินตรา และการบิดเบี้ยวทางจิตวิญญาณ ที่สะท้อนผ่านอาชญากรรม และครอบครัวที่ล่มสลาย
ชุมชนยั่งยืน สิ่งที่ควรเริ่มและทำ
ปรับวิธีคิดใหม่
ให้คุณค่ากับคุณภาพชีวิต ศักดิ์ศรีความเป็นคน และเคารพตนเอง ตั้งคำถามให้ตัวเองว่า ทำอย่างไรให้มีความสุข ให้เคารพตัวเองเพิ่มมากขึ้น ให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น และเคารพในทรัพยากรที่มีและเหลืออยู่
เรียนรู้และลงมือทำ
สร้างระบบคุณค่าใหม่ ที่จัดความสัมพันธ์ระหว่างคน ชุมชน สิ่งแวดล้อม ถัดทอโครงสร้างชุมชน ที่จะสร้างให้คนเกิดความเชื่อมั่น
สร้างระบบเรียนรู้แบบองค์รวม ตั้งแต่ การศึกษา งานวิจัย และการแพทย์
สร้างทางเลือกในการศึกษาตั้งแต่การศึกษาพื้นฐาน จนถึงมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในเรื่อง การเกษตร และอาหารที่สอดคล้องกับสภาพทางภูมินิเวศ พลังงานที่สรรหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ระบบการพัฒนา ต้องไม่เผาผลาญทรัพยากรของท้องถิ่นให้กับบุคคลเพียงกลุ่มเดียว
กระจายกิจกรรมทางศก. โดยเฉพาะศก.พื้นฐาน พลังงานที่หมุนเวียนได้ ศก.อาหารท้องถิ่น
สร้างความร่วมมือระดับประเทศ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่พอเพียงต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับตนเอง
ประเมินตนเอง โดยเฉพาะเทคโนโลยี ไม่ใช่การปฏิเสธแต่เป็นการประเมินเทคโนโลยีว่ามีผลกระทบในระยะยาวต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพียงใด และเทคโนโลยีเหล่านั้นต้องไม่ใช่การตอบสนองเพียงคนกลุ่มเดียว เช่น การสร้างท่าเรือเพื่อขนถ่ายสินค้า หรือสนามบิน ที่เป็นการดูดงาน ทรัพยากร และเงินทุนออกจากคนในท้องถิ่น และคนในประเทศเหล่านั้น
และที่สำคัญ คือ เรื่องการสื่อสาร
จากเรื่องราวของลาดัก “ดินแดนโลกพระจันทร์”
ลาดัก เป็นดินแดนทะเลทรายที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูงของธิเบต ทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นพื้นที่ได้รับการขนานนามว่า ดินแดนโลกพระจันทร์ เนื่องจาก ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่สูงที่สุด ๑๒,๐๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล แห้งแล้งที่สุด และ หนาวเย็นที่สุด ลาดักมีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สามารถสร้างโอเอซิส ปลูกอาหารได้เพียงพอ และมีการควบคุมประชากรจากจารีตการแต่งงาน เพื่อไม่ให้ประชากรมีมากเกินกว่าที่ทรัพยากรจะเพียงพอ คนเรียนรู้ที่พอ
เมื่อมีการพัฒนาเข้าไปในลาดัก เมื่อปี ๒๕๑๘ เมื่อนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกได้เข้าไปในลาดัก สิ่งที่เปลี่ยนแปลง ไปคือ วิธีการให้คุณค่า จากดั้งเดิม ผู้คนใช้และเคารพในธรรมชาติ พัฒนาให้คนเชี่ยวชาญในสังคมระบบนิเวศน์ ให้คุณค่ากับอาหาร ครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เยาวชนมีการเรียนรู้(ศึกษา) จากผืนดิน อากาศ ปู่ย่าตายาย ที่สามารถให้เอาตัวรอดได้
เมื่อการพัฒนาแบบโลกาภิวัตน์เข้ามานั้น ได้นำมาสิ่งดังต่อไปนี้
วิธีคิดที่ใช้เงินเป็นตัวตั้ง ในการแลกเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่าง นำพาเครื่องมือของความทันสมัยเข้ามา โดยผ่านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และสื่อ ทีวี ที่ประโคมความหรูหรา ดูดีของการใช้เงินแลกเปลี่ยน เพียงด้านเดียว (สิ่งที่ขาดหายคือสังคมและจิตวิญญาณ)
ค่านิยมใหม่ว่าต้องทันสมัย ต้องสูบบุหรี่ เคยชินกับความรุนแรง สวมกันแดด ใส่บลูยีนส์ มีถนนดี ไฟฟ้าสว่างไสว ประปา โทรศัพท์ ใช้พลาสติก อาหารบะหมี่
ระบบศึกษาที่ทำพรากเด็กออกจากระบบนิเวศของตัวเอง ฝึกฝนความชำนาญเฉพาะลงลึกแบบตะวันตก คนที่เป็นกำลังแรงงานที่ผ่านการศึกษาแบบใหม่ที่ใช้ตำราจากส่วนกลางของระบบศก.โลก ที่ไม่รู้ระบบนิเวศของท้องถิ่น เด็กไม่สามารถใช้ทรัพยากรจากฐานความเป็นจริงได้ ในที่สุดก็จะผลักดันให้เข้าสู่เมือง
ผู้คนแตกแยก เริ่มตั้งแต่ครอบครัว เด็กไปทาง พ่อแม่เข้าเมือง ตายายอยู่บ้าน และโดนลูกหลานตนเองดูถูกว่าไม่ทันสมัย ชุมชนเริ่มขัดแย้งทางชาติพันธุ์ บ่มเพาะความแตกแยกทางศาสนา คนเป็นปัจเจก ภาษาต้องสากล เพศหญิง-ชาย
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ใช้เงินเป็นตัวกำหนด ทำให้คนลาดักรู้สึกว่าจน หมดความนับถือในตนเอง รู้สึกต่ำต้อย และอับอายในตนเอง
อนาคต ลาดัก คนพึ่งตนเองน้อยลง ตั้งแต่ อาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน แม้กระทั่งความมั่นคงทางจิตวิญญาณ บทเพลง และเรื่องเล่าของนิทานท้องถิ่น ชุมชนจะมั่นคงยั่งยืนนั้น ต้องจัดสมดุล ระหว่างคน ผืนดิน โดยมีพื้นฐานในการใช้-เคารพธรรมชาติ
--------------------------------------------------
สิ่งที่ได้ ได้ทัศนคติและมุมมองที่เพิ่มขึ้นในการเคลื่อนของระบบศก. ที่เน้นให้คนให้คุณค่ากับเงิน มากกว่าซึ่งทำให้เข้าใจการสิ่งที่ผญ.วิบูลย์พูดถึงเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ชัดขึ้น ทำให้อยากอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นหลายเรื่อง ที่จะช่วยทำให้เรามีข้อมูลเพิ่มมากขึ้น
เรื่องที่อ่านนั้น เป็นเรื่องที่ช่วยเสริมให้มีเห็นการเชื่อมโยงในสิ่งต่าง ๆ ที่ บางเรื่องมองไม่เห็นเช่น เรื่องการล่มสลายของดนตรี และการสร้างความบันเทิงของชุมชน
จะนำไปใช้กับงานได้อย่างไร
การเชื่อมโยงข้อมูล ที่สอดคล้องและสัมพันธ์กันระหว่าง คน ศก. สังคม ที่บ่มเพาะความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และการใช้สิ่งที่เกิดขึ้นกับสังคมไทย มาเป็นตัวดำเนินเรื่องของการเน้นย้ำ ประเด็น “การพัฒนาที่ยั่งยืน” นั้น มีประเด็นที่ครอบคลุมเพิ่มขึ้น
โลกาภิวัตน์ กับชุมชนที่ยั่งยืน. ๒๕๔๔. เฮเลนนา นอร์เบอร์ก-ฮอดด์ แปล เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว และไพโรจน์ ภูมิประดิษฐ์ แปล. สนพ.สวนเงินมีมา, กรุงเทพฯ . ๑๑๗ น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น