วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เศรษฐกิจอาหารท้องถิ่น ทางเลือกและทางรอดของเศรษฐกิจ สังคม นิเวศ

เขียนโดย เฮเลนา นอรร์เบอร์ก-ฮอดจ์ ทอดด์ เมอรีฟิลด์ และสตีเวน กอร์ลิค
แปลโดย ไพโรจน์ ภูมิประดิษฐ์

นายสุพจน์ สมสอาด
บากเรือ จ.ยโสธร


บทที่ 1 จากท้องถิ่นสู่โลก...แล้วกลับสู่ท้องถิ่น

เรื่องของอาหารเป็นเรื่องที่กำลังวุ่นวายอยู่ทั่วโลก เพราะมีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายด้านอาหาร ซึ่งต้นเรื่องมาจากกระบวนการทำให้เป็นอุตสาหกรรมและโลกาภิวัตน์ของอาหารและการเกษตร อย่างไรก็ตามยังมีกระแสที่เหมือนโลกใต้น้ำ นั่นคือ กระแสสนับสนุน “ระบบอาหารท้องถิ่น” เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมขนาดเล็ก ที่มีความหลากหลายและเป็นมิตรต่อระบบนิเวศ ซึ่งกระบวนการอาหารท้องถิ่นเติบโตจากระดับรากหญ้า และมีบทบาทเด่นชัดในการแสดงความต้องการอาหารที่ผลิตขึ้นโดยกระบวนการอินทรีย์ ที่สำคัญผู้คนเริ่มเห็นว่าการบริโภคอาหารอินทรีย์ที่ผลิตในท้องถิ่น จะช่วยแก้ไขปัญหาทั้งทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
ระบบอาหารโลก มีลักษณะใหญ่โตใช้เครื่องจักรมาก เป็นพืชเชิงเดี่ยวและใช้สารเคมี ซึ่งระบบใช้ทุนและพลังงานสูงมาก
ระบบอาหารที่ปรับตัวเข้ากับท้องถิ่น การริเริ่มด้านอาหารท้องถิ่นกำลังเกิดขึ้นมากมายเพื่อสู้กับโลกาภิวัฒน์ด้านอาหาร มีลักษณะหลายอย่างคล้ายกับที่เคยมีมาในวัฒนธรรมดั้งเดิม
หลายศรรตวรรษแห่งความก้าวหน้า ทางการเกษตร แบบแผนการผลิตอาหารท้องถิ่นในหลายๆลักษณะที่สนองความต้องการของคนได้อย่างเพียงพอ กลับถูกแทนที่ด้วยฟาร์มที่ผลิตอาหารให้เจ้าอาณานิคม หรือไร่ขนาดใหญ่ที่ส่งอาหารและเส้นใยกลับไปยังประเทศมหาอำนาจและเกษตรกรได้พบความจริงว่า รายได้ของตนตกไปอยู่ในมือของผู้ผลิตเครื่องจักรในสัดส่วนที่สูง
ฟาร์มใหญ่ยิ่งขยายใหญ่มากขึ้น เมื่อฟาร์มเล็กล้มลง ฟาร์มขนาดใหญ่ก็เข้าครอบครองที่ดินและตลาดอย่างรวดเร็ว ฟาร์มยักษ์ใหญ่แบบอุตสาหกรรมนี้มิได้รุ่งเรืองเพราะมีผลผลิตสูงกว่าแต่เป็นเพราะได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นระบบจากนโยบายของรัฐ
การเติบโตของธุรกิจเกษตร การที่บริษัทมีอำนาจคุมแทบจะทุกสิ่ง ทำให้เกษตรกรแบบอุตสาหกรรมตกอยู่ในอันตราย เพราะไม่มีอำนาจต่อรองราคา ทั้งเวลาซื้อและเวลาขายจึงถูกบีบจากธุรกิจเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยกำไร เกษตรกรมีส่วนแบ่งในราคาอาหารน้อยลงขณะที่ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย และผู้ทำการตลาด กลับได้ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โลกาภิวัตน์ เมื่อการค้าโลกเติบโต บริษัทข้ามชาติได้รับการดูแลแต่เศรษฐกิจและระบบอาหารท้องถิ่นถูกบั่นทอนอย่างเป็นระบบ ซึ่งการคาโลกและบริษัทข้ามชาติได้รับการดูแลแต่อาหารท้องถิ่นกลับถูกมองว่าขัดขวางความก้าวหน้าของเศรษฐกิจ
เร่งความเร็วของสายพาน โดยบายการค้าเสรีจะเน้นการส่งออกทำให้เกษตรกรต้องแข่งขันกับเพื่อนร่วมอาชีพและเกษตรจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่ใหม่กว่าด้วยการขยายขนาดของฟาร์ม ซึ่งกล่าวว่าโลกาภิวัฒน์เป็นตัวเร่งที่สำคัญต่ออัตราความเร็วของสายพานภาคเกษตร

บทที่ 2 นิเวศวิทยาการตลาดอาหาร
เหตุผลที่ควรหันกลับมาหาอาหารท้องถิ่น เพราะอาหารท้องถิ่นจะใช้พลังงานน้อยกว่า ก่อมลภาวะและก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับระบบอาหารโลก
ระหว่างบรรจุภัณฑ์น้อยลงกับมากเกิน อาหารท้องถิ่นมรข้อได้เปรียบด้านการใช้พลังงานเมื่อเทียบกับอาหารแบบอุตสาหกรรม เพราะอาหารท้องถิ่นมักบริโภคกันสดๆ จึงใช้พลังงานน้อยกว่า
ระหว่างร้านค้าย่อยอิสระกับตลาดขนาดยักษ์ การตลาดของอาหารท้องถิ่นมีการกระจายตัวสูง หมายความว่า ไม่เพียงแต่ระยะทางขนส่งจะสั้นเท่านั้น แต่ระยะทางที่ประชาชนเดินทางไปซื้อหาก็ค่อนข้างสั้นเมื่อเปรียบเทียบกับการตลาดระดับโลกมีการรวมศูนย์มาก ตลาดชนิดนี้ทำให้ระบบนิเวศเสียหายมาก เพราะผู้บริโภคต้องเดินทางไกล ซึ่งทั่วไปใช้รถส่วนตัว จึงเป็นการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกและมลพิษในอากาศ
โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนส่ง ส่วนใหญ่ของโครงสร้างพื้นฐานสร้างขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการผลิตและการกระจายสินค้า การขยายโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงแต่ส่งเสริมให้ใช้เชื้อเพลิงอย่างสุร่ยสุร่ายเท่านั้น แต่ยังก่อผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ระบบอาหารท้องถิ่นใช้พลังงานค่อนข้างน้อยและมักอาศัยพลังงานหมุนเวียนที่อยู่ใกล้ แต่ระบบอาหารโลกต้องการพลังงานสูงมากและต้องมีโครงสร้างขนาดใหญ่แบบศูนย์รวม
การสื่อสารที่ไม่เกื้อหนุนความยั่งยืน การสื่อสารอย่างรวดเร็วทั่วโลกจำเป็นสำหรับบริษัทข้ามชาติที่ครอบงำการค้าของโลก แต่เครือข่ายการสื่อสารก็มีต้นทุนทางนิเวศที่ลึกซึ้งทั้งในทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

บทที่ 3 นิเวศวิทยาของการผลิตอาหาร
การกระจายสินค้าและการตลาดของระบบอาหารโลกทำให้เกิดต้นทุนทางนิเวศสูง การผลิตเพื่อตลาดโลกทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหายอย่างร้ายแรง ผิดกับอาหารท้องถิ่นซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากว่า
ระบบอาหารโลกทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะการผลิตเพื่อตลาดโลกเป็นอุปสรรคขัดขวางความหลากหลาย
ระหว่างปัจจัยการผลิตในฟาร์มและจากภายนอก การที่ฟาร์มแบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ขาดความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้เกิดปัญหาหลายประการ ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงก็ยิ่งทำให้ฟาร์มขาดเสถียรภาพและความยืดหยุ่น
ปศุสัตว์แบบผสมผสานกับฟาร์มโรงงาน ฟาร์มขนาดเล็กที่ทำเกษตรหลากหลายทุกสิ่งทุกอย่างดูจะใช้ประโยชน์ได้มากและแทบจะไม่มีอะไรต้องทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งต่างจากการผลิตเชิงเดี่ยวกลับเป็นแหล่งของมลภาวะ
ชีวิตในดิน ในการเกษตรแบบหลากหลาย การบำรุงรักษาความสมบูรณ์ของดินย่อมทำได้หลายทาง โดยมุมมองของเกษตรอินทรีย์ดินเป็นทรัพยากรที่มีชีวิต ซึ่งจะต้องได้รับการบำรุงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีในระยะยาว ดินที่ดีจะต้องมีสิ่งมีชีวิตต่างๆอยู่มากมายและทั้งหมดมีบทบาทสำคัญยิ่งในการคงไว้ซึ่งโครงสร้างที่ดีของดิน
ระหว่างการปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นกับพันธุวิศวกรรม นับตั้งแต่เริ่มยุคเกษตรกรรมเป็นต้นมาเกษตรกรจะคัดเลือกพืชและสัตว์ที่มีคุณลักษณะเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมทำให้ระบบอาหารท้องถิ่นมีสายพันธุ์พืชและสัตว์ปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นเป็นอันมาก แต่ในปัจจุบันมีวิธีการใหม่ในการสร้างสายพันธุ์แทนที่จะเลือกคุณลักษณะพืชและสัตว์ที่ผ่านการพิสูจน์โดยธรรมชาติ โดยเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเลือกคุณสมบัติต่างๆได้ในห้องปฏิบัติการ

บทที่ 4 อาหารกับสุขภาพ
จุดมุ่งหมายของระบบอาหารโลก อยู่ที่การทำให้ระบบดูแลรักษาสุขภาพได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นเท่านั้นเอง ระบบอาหารท้องถิ่นไม่เพียงแต่ดีกว่าในแง่ของสิ่งแวดล้อมหากยังให้อาหรที่ดีกว่าสำหรับสุขภาพ
อาหารสดย่อมดีกกว่า ระบบอาหารท้องถิ่นมีความเป็นเลิศในแง่ของความสดใหม่ อาหารเพื่อตลาดโลกนั้นผ่านการผสมพันธ์เพื่อให้เหมาะสมกับการปลูกเชิงเดี่ยวและการขนส่งระยะไกล มากกว่าจะสนใจในด้านคุณค่าอาหาร
สารพัดสารเคมี อาหารระดับโลกมักจะผ่านกระบวนการมากมายที่ล้วนแต่ทำลายคุณค่าจึงสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการไปเป็นส่วนใหญ่ สำหรับอาหารท้องถิ่นเมื่อจำเป็นต้องแปรรูปมีน้อยลง โอกาสที่จะต้องใช้สารเคมีเติมแต่งในอาหารก็น้อยไปด้วย
อาหารอาบยาพิษ สถิติการพบสารพิษในอาหารเพิ่มขึ้นตามอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร
ต้นทุนด้านสุขภาพจากปศุสัตว์ในฟาร์มแบบโรงงาน สัตว์ที่เลี้ยงในฟาร์มขนาดเล็กแบบหลากหลายจะมีสุขภาพดีกว่าปศุสัตว์แบบขนาดใหญ่เพราะการเลี้ยงแบบปล่อยทำให้สัตว์เคลื่อนไหวไปมาได้สะดวก สัตว์ได้ออกกำลังกาย

บทที่ 5 อาหารกับเศรษฐกิจ
สำหรับเกษตรกรไม่ว่ารายใหญ่หรือรายย่อย ระบบอาหารโลกคือหายนะ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำลายวิถีเลี้ยงชีพของเกษตรกรเท่านั้น หากยังทำลายเศรษฐกิจของชุมชนและเมืองด้วย
รักษาเงินไว้ในเศรษฐกิจท้องถิ่น การขายผ่านร้านชำหรือร้านอาหารในท้องถิ่น เกษตรกรได้ส่วนแบ่งมากกว่าการขายผ่านเครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตหรือขายสู่ตลาดโลกที่สำคัญส่วนแบ่งราคาที่เป็นของร้านค้าย่อยจะยังคงหมุนเวียนอยู่ในเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชุมชน
รักษางานไว้ในท้องถิ่น ในยุคที่การว่างงานเป็นปัญหาเรื้อรัง ระบบอาหารท้องถิ่นมีธรรมชาติที่เอื้อเฟื้อการจ้างงานมากกว่า ฟาร์มขนาดเล็กไม่เหมาะที่จะใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ต้องใช้แรงงานคนในสัดส่วนที่สูงกว่าฟาร์มขนาดใหญ่
ทำงานมากขึ้น รายได้น้อยลง ขณะที่ระบบอาหารท้องถิ่นเกื้อหนุนเกษตรกรรายย่อยและช่วยธำรงชีวิตเศรษฐกิจของชุมชนในชนบท แต่อาหารโลกกลับส่งผลในทางตรงกันข้าม ประเด็นที่สำคัญคือ เกษตรกรได้รัยส่วนแบ่งจากราคาอาหารในอัตราที่น้อยลงเรื่อยๆ
การเกษตรในโลกที่สาม เกษตรกรถูกกดดันให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งก็คือระบบเดียวกับที่ทำลายเกษตรกรและชุมชนเกษตร นักวางแผนพัฒนาหนุนให้พวกเขาเลิกการเพาะปลูกที่หลากหลายเพื่อตนเองและชุมชน โดยหันไปปลูกพืชป้อนตลาดระหว่างประเทศ
การถดถอยของเศรษฐกิจชนบท ตลาดขนาดใหญ่ของพวกบริษัทดูดซับความมีชีวิตของเศรษฐกิจชุมชนไปอย่างเป็นระบบ สินค้าที่ตลาดพวกนี้ขาย แทบไม่มีอะไรที่ผลิตในท้องถิ่น และกำไรก็ถูกสูบไปเพิ่มตัวเลขให้แก่บริษัท ซึ่งคืนอะไรให้แก่ชุมชนน้อยมาก เงินซึ่งอยู่ในระบบอาหารท้องถิ่นจึงไหลออกมา แล้วไม่หวนกลับมาอีกเลย
การประหยัดจากขนาดการผลิต สำคัญเพียงใด ผู้ผลิตและผู้ทำการตลาดรายใหญ่สามารถเอาชนะฟาร์มขนาดเล็กและร้านค้าย่อยได้เพราะ การประหยัดจากขนาดที่ใหญ่กว่า ทำให้สามารถนำสินค้าเข้าสู่ตลาดได้ในราคาที่ต่ำกว่า
ฟาร์มแบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีผลผลิตสูงจริงหรือ เรื่องผลผลิตที่เหนือกว่าของเกษตรแบบอุตสาหกรรมเป็นความเชื่อที่ขาดเหตุผล แต่โฆษณากันมานานโดยฝ่ายที่สนับสนุนและได้รับประโยชน์ การศึกษาครั้งแล้วครั้งเล่าในที่ต่างๆทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าระบบเกษตรกรรมที่หลากหลายและมีขนาดเล็กมักจะให้ผลผลิตต่อหนึ่งหน่วยของพื้นที่สูงกว่าเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่

บทที่ 6 อาหารกับชุมชน

นอกจากประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและเศรษฐกิจแล้ว ระบบอาหารท้องถิ่นยังเอื้อประโยชน์ทางสังคมหลายประการ อันเป็นภาพที่ตรงกันข้ามกับการแตกสลายทางสังคม ซึ่งมาพร้อมกับกระบวนการทำให้เป็นอุตสาหกรรม และโลกาภิวัตน์ของระบบอาหาร
สร้างข่ายใยแห่งการพึ่งพาอาศัยกัน ระบบอาหารท้องถิ่นช่วยให้คนในชุมชนได้เชื่อมดยงกัน ซึ่งถ้าไม่มีระบบนี้ก็มักติดต่อกันน้อย
ความตายของชุมชนในชนบท ผลกระทบอย่างหนึ่งจากระบบอาหารโลก ก็คือการลดลงของบริการโดยรวมในชนบท
ความผิดของใคร บางครั้งความนับถือตนเองของคนชนบทก็สามารถรองรับแรงกระทบที่หนักได้
เมืองที่บริหารจัดการไม่ได้ ชนบทกับเมืองมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพากัน เมื่อชนบทถูกถอนรากเหง้าเมืองจึงกลายเป็นที่รวมของผู้คนซึ่งวิถีชีวิตก็ถูกทำลายลงไปด้วย
การสูญเสียประชาธิปไตย เมื่อขอบเขตเศรษฐกิจขยายออกไป ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคต้องพึ่งคนกลางซึ่งเป็นการลดทอนความสามารถของปัจเจกบุคคลและชุมชน

บทที่ 7 ความมั่นคงทางอาหาร
ระบบอาหารโลกมิใช่ทางเลือกที่ดีแน่เพราะมีต้นทุนแพงมาก อีกเหตุผลหนึ่งที่สมควรสนับสนุนระบบอาหารท้องถิ่นเป็นเรื่องความมั่นคงของอาหาร
อำนาจของบรรษัทเหนืออาหาร การคุกคามที่รุนแรงที่สุดด้านหนึ่งต่อความมั่นคงทางอาหารมาจากอำนาจควบคุมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆของบริษัท
อันตรายของอาหารที่เป็นแบบเดียวกันหมด โลกาภิวัฒน์ของอาหารทำให้ความมั่นคงทางอาหารมีความเสี่ยงด้านอื่นๆอีก ขณะที่อาหารของโลกมีลักษณะเหมือนกันมากขึ้นทุกที ผู้คนทุกที่ต่างพึ่งพาอาหารไม่กี่ชนิด
อาหารท้องถิ่นช่วยเสริมความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางด้านอาหารจะสูงขึ้นหากพลิก
กระแสพึ่งพาระบบโลกแทนกาสรพึ่งพาบริษัทที่ไม่รู้จักและอยู่ห่างไกล

บทที่ 8 ปรับทิศเปลี่ยนทาง
ระบบอาหารโลกดูเหมือนจะสามารถเบียดขับระบบอาหารท้องถิ่นทั่วโลกได้ เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนที่มีประสิทธิผลไปสู่อาหารท้องถิ่นที่ยั่งยืน ย่อมจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับชุมชน
1. ระดับนานาชาติ ประเทศต่างๆต้องรวมตัวกันเพื่อจุดหมายนี้
2. ระดับชาติ ต้องได้รับการปฏิรูป โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกานขนส่ง พลังงาน และการอุดหนุนภาคเกษตร
3. ระดับท้องถิ่น ประเด็นที่สำคัญที่พึงระลึกคือ
- ซื้อสินค้าท้องถิ่น
- โครงสร้างเศรษฐกิจ
- กฎระเบียบสำหรับอาหารท้องถิ่น
- พลังประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น: