นางสุกัญญา พิมพ์ทอง
ศูนย์เกษตรอินทรีย์ยโสธร
ประมาณ 5 – 6 ปี ที่ผ่านมา วนเกษตรหรือศูนย์การเรียนรู้ชุมชนป่าตะวันออก เข้าไปทำงานกับชาวบ้านในชุมชนรอบป่าตะวันออก มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการค้นหาและทดลองทำงานกับชาวบ้านในชุมชนป่าตะวันออก และเพื่อการค้นหาและทดลองแนวทางในการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชนต่างๆ เพื่อให้คนและชุมชนสามารถพึ่งตนเองอยู่ได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน บนพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจที่พอเพียง สังคมเข้มแข็งและสิ่งแวดล้อมที่สมดุล
กระบวนการเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง
การเรียนรู้ จะต้องเกิดขึ้นตลอดชีวิต ไม่ใช่แค่ครั้งเดียวไม่ใช่แค่การอบรมแล้วจบ การอบรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้นี้จะทำให้เราค้นพบพลังงานเป็นฐานพลังงานที่เกิดขึ้นมาจากข้างใน ซึ่งทุกคนมีแต่ยังไม่เคยเอามาใช้
ทำอย่างไรคนจึงจะเรียนรู้
เมื่อประสบกับสภาวะปัญหาที่ยังหาทางไม่ได้ ถ้ายิ่งดิ้นรนปัญหาก็อาจจะมีบีบรัดรุนแรงมากขึ้นไปเอง สิ่งที่ควรทำ คือ การหยุดดิ้นรนและกลับมาตั้งสติ คิดทบทวน ทำความเข้าใจกับชีวิตใหม่ มองจากอดีตที่ผ่านมา กับสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันอย่างเข้าใจ และจะพบว่ามีข้อบกพร่องมากมายที่เกิดขึ้นกับตัวเอง จะมองเห็นในวิธีคิดที่เปลี่ยนแปลงไปของอดีตและปัจจุบัน จากวิถีชีวิตที่เคยพึ่งตนเองได้ในอดีตมาปัจจุบันกลับไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น การได้แลกเปลี่ยนความคิดได้เห็นกิจกรรมในการแก้ปัญหาชีวิตและชุมชนของคนเหล่านั้น ทั้งเหนือ กลาง ใต้ อีสาน เป็นการสะสมข้อมูลไปเรื่อยๆ จะทำให้เกิดความคิดใหม่ขึ้นมาได้ทีละเล็กทีละน้อย เกิดขึ้นใหม่ เป็นวิธีคิดใหม่และแนวทางในการดำเนินชีวิตใหม่ ของของมันที่เรียกว่าวิถีชีวิตแห่งการพึ่งตนเอง
และยังมีกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง อีกหลายขั้นตอน สำหรับเกษตรกรและชาวบ้านที่จะไปเริ่มต้นการเรียนรู้ตัวเองได้โดยการบันทึกรายจ่าย ซึ่งการบันทึกรายจ่ายคือ เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเรียนรู้เรื่องตัวเองจากข้อมูล การดำรงชีวิตในแต่ละวัน การบันทึกรายจ่ายเป็นการเก็บข้อมูลที่จะบอกแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี ชีวิตของเราและครอบครัวดำรงอยู่ได้ด้วยต้องจ่ายเงินไปให้กับเรื่องอะไรบ้าง และจ่ายไปเท่าไหร่ รายจ่ายที่บันทึกไว้เพื่อที่จะได้รู้ว่าร่ายจ่ายที่จ่ายไปนั้นมันจำเป็นต่อชีวิตเราหรือไม่ สิ่งของเครื่องใช้หลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่ต้องการอยากจะจ่ายแต่ก็ต้องจ่าย เพราะชีวิตดำรงอยู่ได้นั้น จำเป็นจะต้องมีปัจจัยมาหล่อเลี้ยงมีปัจจัย 4 เป็นพื้นฐาน และหลักการบันทึกรายจ่ายคือ คิดและทำ จริงใจกับการบันทึกและต้องทำต่อเนื่องเพื่อจะได้เรียนรู้ว่า รายจ่ายในแต่ละวันรวมกันแล้ว มันมีมากน้อยแค่ไหน อุปกรณ์การทำบันทึกรายจ่ายง่ายๆ แค่ปากกาหนึ่งด้ามสมุดหนึ่งเล่มแล้วจัดทำตารางแล้วเริ่มทำบันทึกได้เลย
การเรียนรู้และทำความเข้าใจปัญหาของตนเอง
ทุกคนมีปัญหาเหมือนกัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าคนส่วนใหญ่นั้นรู้จักการแก้ปัญหาหรือไม่ ส่วนปัญหานั้นมีทั้งเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ ปัญหานั้นเกิดขึ้นได้กับตัวเราเองเพราะคนเราทำอะไรลงไปนั้น ไม่คิดให้รอบคอบ มันก็เลยกลายเป็นปัญหา ปัญหาส่วนใหญ่นั้น คือ เรื่องของเศรษฐกิจและการใช้เงินฟุ่มเฟือยและไม่ปฏิบัติตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง เราควรทำเข้าใจกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นและช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ได้เท่านั้นเอง
คำตอบจากวนเกษตรทางรอดของเกษตรกร
ผู้ใหญ่วิบูลย์เคยเป็นเกษตรกรที่พาตัวเองวิ่งไปตามการพัฒนากระแสหลักอย่างเต็มกำลัง จุดเปลี่ยนของชีวิตอันเป็นวิถีทางใหม่จากการหันกลับไปหาภูมิปัญญาท้องถิ่น ประสบการณ์ที่สั่งสมจากการเลือกทางเดินมุ่งสู่วิธีการผลิตแบบใหม่ ทำให้ผู้ใหญ่กลายเป็นผู้นำทางความคิดและเป็นผู้นำด้านหลักเกษตรกร คนเราต้องเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง และผู้ใหญ่วิบูลย์ก็เปลี่ยนความคิดเพิ่มวัฒนธรรมชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ ไม่ได้หันหน้าหนีความร่ำรวยเพียงแต่ว่า มันเป็นวิธีการที่ค่อยๆ สั่งสม เพิ่มขึ้นและผู้ใหญ่ก็ได้บอกสมุนไพรที่สามารถแก้โรคต่างๆ ได้ และยังมีการทำปุ๋ยหมักอีกด้วย ก่อนที่ผู้ใหญ่จะทำอะไรก็ต้องมีการวางแผนก่อนทำ
จุดเริ่มต้นของวนเกษตรเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2524 มาถึงวันนี้เป็นประสบการณ์กว่า 15 ปี และยังมีสวัสดิการยามแก่เฒ่า ผู้ใหญ่ยืนยันว่าวิถีชีวิตแบบวนเกษตรไม่ใช่การหยุดปลง แล้วปล่อยให้ชีวิตไหลไปอย่างไม่มีแบบแผนแต่อย่างใด แต่เป็นการมองการณ์ไกลของผู้ใหญ่ และการพึ่งตนเองเป็นการจัดชีวิตให้สัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ อย่างเหมาะสม สำหรับเกษตรกรก็ คือ การต้องพึ่งพาตลาด นายทุน ปัจจัยทั้งหมดนี้ตกอยู่มือคนอื่น เป็นสภาพที่ไม่ได้พึ่งตนเอง ผู้ใหญ่ใช้เวลาอยู่ในกรุงเทพฯ หลายปี แสวงหาอาชีพในระหว่างนั้นด้วย
แรงบันดาลใจที่อยากเป็นผู้ยิ่งใหญ่
การเรียนรู้จากชีวิตจริง จากประสบการณ์ของคนรากหญ้าหรือที่เรียกว่า ระดับชาวบ้าน ผู้ใหญ่จึงเป็นตัวอย่าง ที่มีคุณค่า ไม่ว่าจะในสังคมแบบใด การเรียนรู้การพึ่งตนเองเป็นเรื่องที่สำคัญกับทุกคน และจะได้ช่วยพัฒนาชุมชน ความยั่งยืนของชุมชน เมื่อพูดในวันนี้ยังดูราวเป็นชุมชนโดยยังมีระบบคุณค่าหรือคุณธรรมนำหน้า ชุมชนหนึ่งอาจสร้างความสัมพันธ์ความเข้าใจต่อกันได้ แต่ระหว่างชุมชนอาจมีปัญหากันบ้าง ถ้ามีระบบธุรกิจ ขณะเดียวกันไม่มีทางเลือกในการที่ทำให้จริยธรรมเกิดขึ้น สังคมที่ผู้ใหญ่พูดถึงอาจจะมีลักษณะของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ขณะเดียวกันก็มีองค์ประกอบของสังคมดั้งเดิมอยู่ด้วย ผู้ใหญ่ก็ให้ความหมายใหม่แก่ประเด็นสำคัญบางประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นฐานทางวัฒนธรรมเดิมในสังคมสมัยใหม่ ลักษณะที่ยืดหยุ่นเป็นคุณสมบัติทางความคิดของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เห็นพ้องกับทัศนะในการมองพัฒนาการสังคมโลกเป็นยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม ยุคข่าวสาร ยุคหลังอุตสาหกรรม และอ้างอิงถึงหนังสือคลื่นลูกที่สามของทอฟเลอร์ ที่ได้บรรยายลักษณะของแต่ละยุค ผู้ใหญ่จึงไม่ค่อยผวากับการเข้ามาของโลกโลกานุวัตร มากไปกว่าการวิตกกับปัญหาเดิมๆ ที่มีอยู่ ผู้ใหญ่จึงวิเคราะห์หลักการพึ่งตนเองและการพัฒนาตนเองและของชุมชนให้ยั่งยืนและดีขึ้นให้มากกว่าเดิมและการเรียนรู้ได้แพร่ขยายในประเทศไทยอย่างกว้างขวาง
---------------------------------------------------------ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านหนังสือ
1. กระตุ้นให้ตัวเองมีความเชื่อมั่นในแนวทางการพึ่งตนเอง
2. การเรียนรู้การแปรรูปผลผลิตทางด้านการเกษตร
3. เรียนรู้การวางแผนในการเพาะปลูกพืชในแต่ละฤดูกาล (เพาะชำ)
4. เรียนรู้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เลือกสรรพืชผักพื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น
5. เรียนรู้การนำสมุนไพรมาใช้ในการบำบัดโรค
6. รู้จักแนวทางในการประหยัด ลด ละอบายมุข (ทำบัญชีครัวเรือน)
7. เรียนรู้การดำเนินชีวิตของคนรุ่นเก่า และแนวคิดของพ่อผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ในแนวทางของวนเกษตร มีกิน มีใช้ มีหลักประกัน
บทกลอนที่ขอฝากไว้
ความเป็นเสือเหลืออะไรในวันนี้ เห็นแต่หนี้ทั่วเมืองกับเรื่องเศร้า
มาพลิกฟื้นผืนดินท้องถิ่นเรา ที่อับเฉาให้เรืองรองดั่งทองมา
ให้รวงข้าวพราวไสวในท้องทุ่ง ให้วันพรุ่งมีรอยยิ้มอิ่มทั่วหน้าเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวา สุขประสา เสรีชน คนติดดิน...........
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น