วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เงามฤตยู

Review หนังสือเรื่อง เงามฤตยู โดย มัทนา อภัยมูล
ผู้แปร วิฑูรย์ ปัญญากุล

มนุษย์ที่เกิดมีอำนาจล้นพ้นในการเปลี่ยนแปลงโลก
ทำไมมนุษย์ผู้ชาญฉลาดจึงพยายามกำจัดสิ่งมีชีวิต ที่ตนไม่ต้องการเพียงไม่กี่ชนิด ด้วยการทำลายสิ่งมีชีวิตทั้งหมดและทำให้ตัวเองล้มตาย
สารมฤตยู ลักษณะที่น่ากลัวมากที่สุดข้อหนึ่งของ ดีดีที และสารเคมีประเภทเดียวกันคือ การถ่ายทอดจากสัตว์ชนิดหนึ่งไปสู่สัตว์อีกชนิดหนึ่งผ่านทางห่วงโซ่อาหาร เช่น การมีฟางข้าวที่มี ดีดีที ที่ 7-8 พีพีเอ็ม ไปเป็นอาหารวัว นมวัวจะมี ดีดีที ประมาณ 3 พีพีเอ็ม แต่เนยที่ทำจากนมอาจมีความเข้มข้นของ ดีดีที ที่มากกว่า 65 พีพีเอ็ม ยาพิษนี้อาจถ่ายทอดจากมารดาสู่ทารกได้ รวมถึง นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดที่กินไส้เดือนหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในดินเป็นอาหารมีโอกาสเผชิญชะตากรรมทั้งสิ้น
การปนเปื้อนของสารพิษบนโลกไม่ได้มาจาการฉีดพ่นยาอย่างเข้มข้นเท่านั้น การฉีดพ่นยังไม่สำคัญเท่าการสะสมยาทีละเล็กทีละน้อย วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า ด้วยซ้ำ น้ำซึ่งหยดลงมาไม่ขาดสาย ทำให้หินที่แข็งที่สุดกร่อนได้ฉันใด การได้รับสาเคมีอันตรายตั้งแต่เกิดจนตายก็อาจนำหายนะมาสู่มนุษย์ได้ฉันนั้น
สิ่งที่มนุษย์กำลังประสบ ความจริงที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงแต่ปรากฏให้เห็นชัดแจ้งก็คือ ธรรมชาติไม่ได้เปลี่ยนได้ง่ายๆ และเหล่าแมลงก็กำลังหาวิธีสู้กับการถูกโจมตีด้วยสารเคมีอยู่
“ ทุกวันนี้หลายแห่ง ไม่สนใจสมดุลของธรรมชาติ ” สมดุลของธรรมชาติไม่ใช่สิ่งตายตัว หากลื่นไหลและเปลี่ยนแปลงไปมาเสมอ มีการปรับตัวอยู่เรื่อยๆ มนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของสมดุลนี้
ข้อเท็จจริงที่สำคัญ 2 ประการที่การปราบแมลงยุคใหม่มอข้าม คือ
1. การปราบแมลงที่ได้ผลดีอย่างแท้จริงเป็นการปราบของธรรมชาติไม่ใช่มนุษย์ จำนวนประชากรจะถูกควบคุมโดยสิ่งที่นักนิเวศวิทยาเรียกว่า การด้านทานของสิ่งแวดล้อม “ ปัจจัยเดียวที่สำคัญที่สุดในการป้องกันแมลงล้นโลกก็คือ การที่แมลงมักทำสงครามกันเองเสมอ”
2. แมลงแต่ละชนิดมีพลังมหาศาล ในการแพร่พันธุ์ เมือการต้านทานของสิ่งมีชีวิตอ่อนแอลงความสามารถในการแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดนั้นเกินความสามารถที่เราจะคาดเดาได้

มีแนวทางเลือกมากมายหลากหลายที่ใช้แทนการปราบแมลงด้วยสารเคมีได้ ซึ่งบ้างก็ใช้และประสลผลสำเร็จแล้ว บ้างยังอยู่ระหว่างการทดลองในห้องปฏิบัติการ ขณะที่บ้างยังเป็นเพียงแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ซึ่งรอโอกาสในการทดสอบ
เราคงไม่อยากให้ประเทศของเรากลายเป็นเหมือนเรื่องเงามฤตยู ที่มีตอนหนึ่งบอกเล่าถึง นิทานสำหรับวันพรุ่ง ที่มีเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งที่มีภัยพิบัติแปลกประหลาดคืบคลานเข้ามา ทำให้ทุกอย่างเข้ามาเปลี่ยนแปรคำสาปชั่วร้ายบางอย่างครอบคลุมชุมชนแห่งนี้ โลกภัยลกลับคร่าชีวิตฝูงไก่ วัวควายและแกะป่วยไข้ล้มตาย เงามฤตยูล้มตายทุกหนแห่ง พวกหมอต่างงงงวยกับอาการใหม่ๆ ที่คนไข้ประสบ หลายคนสิ้นชีวิตเฉียบพลันโดยไร้สาเหตุ ไม่เฉพาะผู้ใหญ่ แต่ยังมีเด็กๆ ซึ่งนั่งเล่นอยู่ดีๆ ก็ล้มป่วยและเสียชีวิตภายในไม่กี่ชั่วโมง มันเป็นเรื่องเศร้าที่ คิดดูแล้วมันอยู่ใกล้ตัวเรามาก ทุกวันที่กิน ทุกวันที่สูดอากาศหายใจ ทุกวันที่สัมผัส กับสารเคมีทั้งที่โดยตรงและทางอ้อม
โดย มัทนา อภัยมูล

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การลดโลกร้อนของโครงการน้ำพักน้ำแรงของเรา



เนื่องจากในปัจจุบันมีการรณรงค์เรื่องโลกร้อนกันมาก ทางโรงบรรจุยโสธรก็มีส่วนร่วมในการช่วยลดปัญหาดังกล่าวด้วยการนำถุงพลาสติกที่เสียจากงานบรรจุมาทำเป็นวัสดุเพาะปลูกต้นไม้ ซึ่งราคาถุงพลาสติกที่ใช้แล้วในตลาดรับซื้อในราคาถูก ทางโรงบรรจุจึงมีนโยบายในการ Recycle กลับมาใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยเป็นการลดมลพิษได้ จึงนำถุงพลาสติกมาเจาะรูแล้วใส่ดินปลูกจากนั้นพับก้นถุง ก็จะได้ถุงเพาะต้นไม้แล้วจ้า...

ถ้าหากใครสนใจก็ติดต่อได้นะจ๊ะ...

Tel:044-030888

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การร่วมใจกันของชาวโรงบรรจุยโสธร (บอกเล่า..เก้า..สิบ)

ความร่วมมือร่วมใจสามัคคีกันในการเก็บรวมรวมผลผลิตข้าวมะลิแดงจากพื้นที่นาด้านหลังซึ่งเป็นผลิตของโครงการน้ำพักน้ำแรงเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของโรงบรรจุข้าวยโสธร

พ่อรวยสอนลูก โดย Robert T.Kiyosaki และ Sharon L.Lechter

ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน พ่อกับแม่ตั้งความหวังให้กับลูกๆ ให้ขยันเรียนหนังสือ สอบได้คะแนนดีๆ จบไปมีงานทำมีเงินเดือนเยอะๆ เป้าหมายในชีวิตของพ่อกับแม่ คือให้ลูกได้เรียนจบมหาวิทยาลัย จะได้ประสบความสำเร็จในชีวิต
แต่ทุกวันนี้โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่คำสอนของพ่อแม่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลย การขยันเรียนหนังสือ เรียนมหาวิทยาลัยดีๆ เรียนจบแล้วไม่ได้ประกันความสำเร็จในชีวิต เนื่องจากโรงเรียนสอนวิธีการหาเงิน แต่ไม่ได้สอนวิธีการใช้เงิน ทำให้หลายคนล้มเหลวในการใช้เงินแม้ว่าจะได้งานดีมีเงินเดือนมากมายมหาศาล ถ้าไม่รู้จักวิธีการใช้เงินนั้นต้องวนเวียนอยู่ใน "สนามแข่งหนู" ทุกๆวันจะทำงานให้เจ้าของบริษัท จ่ายภาษีให้รัฐบาล และจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคาร สอนให้ลูกขยันเรียน สอบได้คะแนนดีๆ จะได้มีงานทำมีเงินเดือนที่มั่นคง ไม่มีใครสอนเรื่องการเงินและชีวิตจึงดำเนินไปอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าวนเวียนอยู่ใน "สนามแข่งหนู" อย่างไม่มีทางออก
หนทางที่จะหลุดไปจากสนามแข่งหนูได้นั้นต้องมีความรู้เรื่องบัญชีและการลงทุน ต้องรู้ว่าอะไรคือทรัพย์สิน อะไรคือหนี้สิน ทรัพย์สินคือสินทรัพย์ที่จะทำให้เกิดมูลค่าในภายภาคหน้า หนี้สิน คือภาระผูกพัน เข้าใจง่ายๆคือ ทรัพย์สินคือเงินใส่กระเป๋า หนี้สินคือเงินออกจากกระเป๋า
พ่อรวยจะสร้างทรัพย์สินของเขาขึ้นมาก่อน พอมีรายได้มากพอ เขาจึงนำรายได้นั้นไปซื้อความสะดวกสบาย แต่คนจนซื้อความสะดวกสบายด้วยหยาดเหงื่อและแรงงาน ด้วยเงินที่ควรจะเป็นสมบัติของลูกๆในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ภรรยาของพ่อรวยซื้อรถเบนซ์ เธอใช้เงินรายได้จากค่าเช่าอพาร์ทเมนต์ที่เป็นเจ้าของอยู่ โดยไม่ต้องควักกระเป๋าหรือทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งอพาทเมนต์ทำเงินให้เธอและซื้อรถ แต่เธอต้องรอถึงสี่ปีกว่าจะได้รถคันนั้นมาเพราะรอจนกว่าเงินทุนมีมากพอที่จะซื้อรถคันนั้นกลายเป็นรถที่มีความหมายต่อเขาเพราะมันพิสูจน์ให้เห็นว่าเธอมีความรู้เรื่องการเงินและสามารถทำให้ช่องทรัพย์สินของเธอเติบโตมากพอสำหรับรถราคาแพงคันนั้น แต่คนส่วนใหญ่พอนึกอยากจะมีรถใหม่สักคน ก็ใช้บัตรเครดิต ในไม่ช้าเขาก็เริ่มไม่พอใจเจ้ารถคันนี้ เพราะภาระหนี้สินที่ติดตามมานั่นเอง
วิธีการทำเงินของคนรวย การออมเงินเป็นความคิดที่ดีเป็นทางเลือกที่คนส่วนใหญ่ปฏิบัติอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือมันทำให้มองไม่เห็นโอกาสจะพลาดโอกาสทำเงินมากกว่าล้านก่อนอายุ 40 ปี ไปอย่างน่าเสียดาย ตัวอย่างเช่น ในช่วงนี้เศรษฐกิจแย่มาก สำหรับนักลงทุนนี่คือโอกาส คนอื่นพยายามขายทรัพย์สินแต่คนรวยต้องการซื้อทรัพย์สิน ไม่มีคำว่า "ออมเงิน" เงินจำนวนมากอยู่ในหุ้นและอพาร์ทเมนต์ ซึ่งจะทำเงินได้มาก วิกฤติเศรษฐกิจคือโอกาสของนักลงทุน จึงทำให้คนรวยยิ่งรวยขึ้น
พ่อรวยสอนเรื่องทำงานเพื่อเรียนรู้ อย่าทำงานเพื่อเงิน ลูกจ้างทำงานพอที่จะไม่ให้ถูกไล่ออก และนายจ้างก็จ่ายค่าจ้างพอที่จะไม่ให้ลูกจ้างลาออก ผลลัพธ์คือลูกจ้างไม่เคยก้าวไปไหนได้ไกล พวกเขาจะติดอยู่กับความมั่นคงของงาน เงินเดือน และผลตอบแทนซึ่งเป็นเพียงรางวัลระยะสั้นแต่อาจกลายเป็นปัญหาระยะยาว พ่อรวยแนะนำให้ทำงานเพื่อประสบการณ์ และเรียนรู้ที่คุณจะได้รับ มากกว่าค่าตอบแทนที่ได้รับ มองไปข้างหน้าว่าคุณต้องการฝึกประสบการณ์ เรียนรู้ทักษะด้านไหนอะไรช่วยให้คุณหลุดออกไปจากสนามแข่งหนู ถ้าติดอยู่ในสนามแห่งนี้คุณจะวิ่งวุ่นเพื่อหาเงินมาจ่ายบิลต่างๆเดือนแล้วเดือนเล่าอยู่ในกรงใบเก่าใบนี้ที่เรียกว่า "งานที่มั่นคง"
พ่อรวยสอนว่าถ้าคนเราอยากจะรวยจะต้องลงมือทำเพื่อฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆให้ได้ ต้องเอาชนะความกลัวว่าจะต้องเสียเงินซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เราอยากเอาชนะ ขจัดความคิดด้านลบ ในยามที่กลัวหรือไม่มั่นใจถ้าเรามีความคิดด้านลบโอกาสดีดีก็จะผ่านเลยไปต่อหน้าต่อตา ต้องเติมความอยากให้กับตัวเองสักนิดจะได้กวาดเอาความขี้เกียจออกไปจากตัวคุณ เมื่อสิ้นเดือนเราต้องมีอุปนิสัยที่ต้องนำเงินจ่ายให้กับตัวเองก่อน เพื่อจะทำให้เกิดความกดดันในตัวเองที่จะต้องหาเงินมาจ่ายภาษีและเจ้าหนี้ทั้งหลายให้ได้ ความกดดันนี้จะทำให้คิดหาแหล่งรายได้กลายเป็นแรงจูงใจ ทำทุกวิถีทางที่จะไม่ให้เจ้านายโวยใส่หน้า พยายามหาหนทางในที่สุดก็จะทำให้พ่อรวยฉลาดขึ้น ถ้าจ่ายให้กับตัวเองหลังสุดจะไม่มีความกดดันแล้วจะไม่มีอะไรเหลือเลย พ่อรวยสอนว่า ความรู้ทำให้ได้เงิน ความไม่รู้ทำให้เสียเงิน คนส่วนมากสร้างความทะนงตนขึ้นมาเพื่อปิดบังความโง่ เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้อะไรจงขวนขวายหาความรู้จากหนังสือหรือผู้ที่มีความรู้มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ พ่อรวยสอนบทบัญญัติ 10 ประการที่ช่วยให้มีพลังในการดำเนินชีวิต
1. พลังใจเพื่อเอาชนะความจริงที่ขวางหน้า ถ้าขาดพลังใจ อะไรๆในชีวิตก็กลายเป็นเรื่องยากไปหมด
2. เสรีภาพในการเลือก โดยเลือกที่จะรวย เลือกที่จะตัดสินใจในการเผชิญกับอุปสรรคปัญหาต่างๆ
3. เลือกคบเพื่อนด้วยความระมัดระวัง เพื่อนสามารถช่วยให้เรารู้เรื่องต่างๆของธุรกิจได้
4. สร้างสูตรและเรียนสูตรใหม่ๆ
5. ชำระหนี้ให้ตนเองเป็นอันดับแรก
6. เลี้ยงนายหน้าของคุณให้ดี เพื่อนายหน้าจะได้ตอบแทนและเป็นประโยชน์กับเรา
7. จงเป็นผู้ให้
8. ทรัพย์สินซื้อความฟุ่มเฟือยจะทำให้เกิดความอยาก
9. มีพระเอกในดวงใจจะทำให้มีพลังพิเศษ
10. สอนผู้อื่นแล้วจะได้รับผลตอบแทน
เหตุผลที่คนส่วนใหญ่มีปัญหาทางการเงิน เพราะโรงเรียนไม่เคยสอนวิชาการเงิน ผลคือทุกวันนี้เราทำงานเพื่อเงิน และไม่เคยรู้วิธีใช้เงินทำงานแทนเรา
ข้อคิดที่ได้จากพ่อรวยสอนลูก
จะซื้อทรัพย์สินที่สร้างมูลค่าให้เราและนำมูลค่าที่ได้จากทรัพย์สินนั้นไปซื้อทรัพย์สินที่จะสามารถสร้างมูลค่าให้เราและเพื่อความสุขความสะดวกสบาย จะไม่ซื้อทรัพย์สินที่จะก่อให้เกิดหนี้สินในภายภาคหน้า จะไม่ตกอยู่ในสนามแข่งหนูเป็นอันขาด การที่จะรวยได้นั้นจะต้องมีความกล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำ กล้าที่จะเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ทำไมคนอื่นรวยได้ เราก็ต้องรวยได้...เช่นเดียวกัน...

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

MESA โปรแกรม โอกาสสำหรับการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ในต่างแดน

หลังจากผ่านการใช้ชีวิตในด่างแดนเกือบแปดเดือนที่ผ่านมา (26 มีนาคม – 14 พฤศจิกายน 2552) ที่ฟาร์มผักเกษตรอินทรีย์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนกลางของรัฐ Pennsylvania ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครั้งนี้รู้สึกว่าเวลาได้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ยังนึกถึงวันแรกที่เริ่มสมัครโครงการ Multinational Exchange for Sustainable Agriculture (MESA) ช่วงปลายปีที่แล้วและได้รับคัดเลือกจากพี่ไมเคิล และพี่ออน (ตัวแทน MESA ประเทศไทย) หลังจากนั้นก็ถูกส่งไปฝึกภาษาและฝึกการทำงานในฟาร์มเกษตรอินทรีย์ที่พันพรรณฟาร์ม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (พี่โจน จันได) ซึ่งที่นี่ได้ทำให้เราได้ทำงานฟาร์มและฝึกภาษากับชาวต่างชาติ เรียนรู้วัฒนธรรม การใช้ชีวิตร่วมกับชาวต่างชาติ ซึ่งถือเป็นการเตรียมตัวที่ดี แต่ช่วงอยู่ที่นี่ก็ยังต้องลุ้นมากเหมือนกันเพราะยังไม่รู้ผลตอบรับจากฟาร์มที่อเมริกา เนื่องจากฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการ MESA มีน้อยกว่าคนที่สมัครซึ่งมาจากหลายประเทศ ใช้เวลาอยู่ที่พันพรรณไม่นานก็มี New Morning Farm ยื่นความจำนงมา และผมตัดสินใจเลือกฟาร์มนี้





ด่านต่อไปก็เป็นเรื่องของการขอวีซ่า ซึ่งเขาเล่าลือกันว่าวีซ่าไปอเมริกาค่อนข้างได้ยากมาก เพื่อนที่ผ่านการคัดเลือกอีกสองคน คือน้องอั๋นจากแม่ทา และต๊ะจากพันพรรณ ชวนไปสมัครขอวีซ่าที่สถานฑูตอเมริกาที่เชียงใหม่ แต่ผมได้ตัดสินใจยื่นสมัครขอวีซ่าที่กรุงเทพ และได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่เขากำหนดโดยพี่ไมเคิลและพี่ออนก็ได้ให้คำแนะนำ วันที่ผมได้ไปสัมภาษณ์ รู้สึกตื่นเต้นมากเพราะกังวลเรื่องภาษา ตอนเช้าวันที่นัดสัมภาษณ์พี่ไมเคิลไปส่ง พอเจอพี่เขาไม่ยอมพูดภาษาไทยพูดภาษาอังกฤษ ก็พยายามตอบไปตะกุกตะกัก แต่ก็ทำให้มั่นใจขึ้นนิดหน่อยเพราะสามารถฟังพี่เขารู้เรื่อง ถึงเวลาเข้าไปสัมภาษณ์คนเยอะมากนั่งรอนานประมาณเกือบสองชั่วโมง พอถึงคิวสัมภาษณ์ เขาสัมภาษณ์แค่ห้านาทีและรู้ผลว่าผ่าน ได้วีซ่าอเมริกาจริงๆ ทีนี้ก็เป็นจริง แล้วที่จะได้ไปอเมริกา.... ก่อนที่จะเดินทางไป New Morning Farm จะต้องเดินทางไปรัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อเข้าร่วมสัมนาปฐมนิเทศก่อน 4 วัน เพื่อรับทราบข้อตกลงโครงการและการปฏิบัติตัวช่วงที่อยู่ที่ฟาร์ม หลังจากนั้นก็เดินทางไปยัง host farm (New Morning Farm) ถึงฟาร์มวันแรกวันที่ 1 เมษายน ซึ่งช่วงนั้นอากาศยังหนาว เขาให้พักผ่อนจัดของเข้าที่พักบ้านหลังใหญ่กับเจ้าของฟาร์ม วันรุ่งขึ้นเป็นการแนะนำฟาร์ม ที่ฟาร์มมีพื่นที่ 95 เอเคอร์ (ก็ประมาณ 240 ไร่) ทำระบบเกษตรอินทรีย์ทั้งหมดและขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของสหรัฐอเมริกา ในพื้นที่ปลูกพืชผักประมาณ 40 กว่าชนิด raspberry และ strawberry เลี้ยงไก่ไข่ 250 ตัว มีคนงานและ intern รวมกัน 20 คน เจ้าของฟาร์มเริ่มทำเกษตรตั้งแต่ ปี ค.ศ 1972 โดยการเช่าที่ดิน และซื้อที่ดินปัจจุบันในปี ค.ศ. 1976 การทำงานในฟาร์มก็เหมือนกับฟาร์มผักเกษตรอินทรีย์อื่นๆ ช่วงแรกก็เตรียมดินโดยการหว่านปุ๋ยหมัก ไถแล้วก็ยกแปลงคลุมพลาสติก เพาะกล้าในโรงเรือน ย้ายปลูก กำจัดวัชพืช ป้องกันโรค และจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว แต่ที่นี่จะทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรคือทำทั้งการผลิตและการตลาด รวมทั้งมีการจัดการร่วมกันเป็นกลุ่มสหกรณ์ในชุมชนท้องถิ่น





ซึ่งจากการได้ทำงานที่นั่นและการสังเกตด้วยตัวเอง สิ่งที่เห็นเด่นชัดและคิดว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฟาร์มนี้ประสบความสำเร็จหลัก ๆ คือ

1. เจ้าของฟาร์มให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบำรุงดินซึ่งเขาจะใส่ปุ๋ยคอกจากขี้ไก่ที่เลี้ยงเอง และยังไม่พอมีการวิเคราะห์ดินและซื้อปุ๋ยหมักมาใส่ทุกปี ยามว่างจากการผลิตเขาก็จะหว่านพืชคลุมดินโดยไม่ปล่อยให้พื้นดินว่างเปล่า
2. การตลาด เจ้าของฟาร์มเลือกเมืองใหญ่อย่าง Washington DC เป็นที่ขายของซึ่งผู้คนที่นั่นให้ความสำคัญกับสินค้าอินทรีย์ ผู้คนมีกำลังซื้อสูง ก่อนที่จะมาทำฟาร์มเจ้าของฟาร์ม ได้เป็นพ่อค้ามาก่อนโดยซื้อผักไปขายทำตลาดก่อนเมื่อตลาดอยู่ตัวแล้วเขาจึงมาเริ่มทำฟาร์มเอง
3. สหกรณ์ผู้ผลิต ที่ฟาร์มเป็นที่ตั้งของสหกรณ์ผู้ผลิต มีความร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค เพราะการผลิตผักบางครั้งประสบปัญหาโรคแมลง ไม่ได้ผลผลิต ก็สามารถสั่งซื้อจากสหกรณ์ ได้ และบางครั้งผลผลิตออกมามาก สหกรณ์ก็รับซื้อ
4. ความซื่อสัตย์ ที่ฟาร์มทำเกษตรอินทรีย์ อย่างแท้จริงไม่มีการปลอมปน ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจและเป็นลูกค้าประจำ นอกจากการขายสินค้าอินทรีย์ ที่แท้จริงแล้ว เจ้าของฟาร์มยังใส่ใจเรื่องคุณภาพ หากผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เขาก็ไม่ส่งขาย
5. ฟาร์มมีการบริหารจัดการที่ดีและการทำบัญชี มีการประเมินทุกเดือน หากเดือนไหนไม่เป็นไปตามเป้าก็มาวิเคราะห์กันว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนและทดลองสิ่งใหม่ ๆ เสมอ




นอกจากการได้เรียนรู้เรื่องเทคนิคการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์ ระบบการจัดการฟาร์ม การตลาด แล้วโครงการ MESA ยังเปิดโอกาสให้สร้างเครือข่ายองค์ความรู้ด้านเกษตร เพราะเราสามารถติดต่อกับฟาร์มที่เราไปอยู่ และเพื่อน ๆ ที่มาจากเปรู เอกวอดอร์ บราซิล ซึ่งเพื่อนๆ เหล่านี้ก็ไปทำงาน host farm ที่ต่าง ๆ กัน และยังมีประสบการณ์ในประเทศของเขาด้วย เป็นการเปิดโลกกว้างทางการเกษตร




จากประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้เกษตรอินทรีย์จากการปฏิบัติจริง ในการไปทำงานจะต้องใช้แรงงานค่อนข้างมาก ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น รวมทั้งการปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่หนาวเย็น วัฒนธรรมที่แตกกต่างกัน การอยู่การกิน แต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายสร้างประสบการณ์เติมแต่งสีสรรให้กับชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง
ท้ายสุดนี้ผมขอขอบคุณโครงการ MESA พี่ออน พี่ไมเคิล และพี่ๆ ที่กรีนเนททุกคน ที่ให้ความช่วยเหลือผมมาโดยตลอด และขอขอบคุณ คุณ Steve ที่ให้การสนับสนุนค่าตั๋วเครื่องบิน ขอบคุณครับ


วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ความหลากหลายทางชีวภาพกับการทำเกษตรอินทรีย์

ชื่อหนังสือ : ความหลากหลายทางชีวภาพกับการทำเกษตรอินทรีย์
(หนังสือชุดคู่มือนักส่งเสริมเกษตรอินทรีย์)
ปีที่พิมพ์ : มกราคม 2552
จัดพิมพ์โดย : มูลนิธิสายใยแผ่นดิน
ISBN : 978-974-614-921-1
จำนวนหน้า : 71
สรุปวิจารณ์โดย : นิษฐา เพ้ยจันทึก
เมื่อ : 8 ธันวาคม 2552

ความหลากหลายทางชีวภาพกับการทำเกษตรอินทรีย
ในทางวิชาการความหลากหลายทางชีวภาพแบ่งออกเป็นได้ 3 ระดับ คือ ความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายของระบบนิเวศ ซึ่งความหลากหลายทางพันธุกรรม คือ ความแตกต่างของพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งๆ เช่น การมีข้าวหลากหลายสายพันธุ์ในนาข้าว ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต คือ ความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตทั้งชนิดและประเภทในพื้นที่หนึ่งๆ เช่น การมีพืชหลากหลายชนิดและสัตว์ต่างๆ ในฟาร์ม และความหลากหลายของระบบนิเวศ คือ ความแตกต่างของระบบนิเวศในแต่ละพื้นที่ เช่น การที่ประเทศหรือภูมิภาคมีความแตกต่างของระบบนิเวศที่แตกต่างกัน

ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญโดยตรงและโดยอ้อมทั้งต่อการพัฒนาการเกษตร และต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืนในหลายด้าน ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ได้เน้นการวิเคราะห์เกี่ยวกับประโยชน์และความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพสำหรับสำหรับการเกษตรและการพัฒนาเป็นหลัก ประกอบด้วยความสำคัญด้านต่างๆ ได้แก่ การเป็นแหล่งเชื้อพันธุ์สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ในภาคการเกษตร การเป็นแหล่งสมุนไพรและยารักษาโรค การทำให้เกิดเสถียรภาพของนิเวศการเกษตร ความมั่นคงทางด้านอาหาร การเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม การให้บริการทางนิเวศ และการให้คุณค่าทางสุนทรียภาพและจิตวิญญาณ

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้นว่าในสภาวะปกติของธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตต่างๆ อาจสูญพันธุ์ไปเองตามธรรมชาติแต่ขณะเดียวกันก็จะมีสิ่งมีชีวิตใหม่เกิดขึ้นทดแทนกัน ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพอยู่อย่างสมดุล แต่ก็อาจมีการลดลงหรือสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ได้ เช่น สัตว์ตระกูลไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปครั้งใหญ่เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ดังนั้นแนวทางสำคัญที่จะทำให้อัตราของการสูญพันธุ์ของความหลากหลายทางชีวภาพลดน้อยลงได้ คือ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพๆไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะสิ่งมีชีวิตจะมีความสัมพันธุ์กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มากมายในระบบนิเวศ ซึ่งจะทำให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ถึงแม้อาจลดลงจากปัจจัยต่างๆ หลายด้านก็ตาม แต่ในหลักการและแนวทางการทำเกษตรในระบบเกษตรอินทรีย์นั้นหัวใจสำคัญคือ การอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการบริหารจัดการฟาร์มในระบบเกษตรอินทรีย์จึงเป็นการจัดการในลักษณะเชิงบวก มองระบบการผลิตแบบองค์รวม ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพไว้อย่างชัดเจน โดยลักษณะการจัดการฟาร์มในระบบเกษตรอินทรีย์ที่ส่งผลต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในฟาร์ม มีการจัดการอย่างน้อย 4 ด้านเป็นสำคัญ คือ ก.) การปลูกพืชหมุนเวียน ข.) การสร้างสมดุลของความเกื้อกูลในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม ค.) การใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยพืชสด ง.) การจัดการวัชพืชศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ โดยวิถีการผลิตเกษตรกรที่ทำอินทรีย์มีส่วนร่วมตั้งแต่การวางแผนการผลิต เช่น ปลูกพืชที่หลากหลาย สิ่งมีชีวิตเกื้อกูลกัน ระบบนิเวศโดยรวมที่หลากหลายทั้งพืช สัตว์ เป็นต้น รวมทั้งระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ยอมรับในระดับสากลให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม เช่น ปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด (ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช โรคแมลงต่างๆ) และได้กำหนดความหลากหลายขั้นต่ำที่เกษตรกรผู้ผลิตต้องมีในฟาร์มหรือพื้นที่ทำการเกษตรไว้ด้วย เช่น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ มกท. (ประเทศไทย) ต้องมีความหลากหลายอย่างน้อย 5% ของพื้นที่การผลิต หรือมาตรฐานบางประเทศ (ยุโรป) กำหนดความหลากหลายอย่างน้อย 7% ของพื้นที่ทำการผลิต จึงเห็นได้ชัดเจนว่าเกษตรอินทรีย์มีความแตกต่างกับเกษตรเคมีที่เน้นระบบการผลิตเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้นไม่ได้มองระบบนิเวศโดยรวมแต่มุ่งเน้นที่ให้ได้ปริมาณผลผลิตสูงสุด

ดังนั้น นักส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรกรผู้สนใจและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพในแง่มุมต่างๆ ตลอดจนคัดเลือกแนวทางในการจัดกิจกรรมและโครงการเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศ ชุมชน สังคม ท้องถิ่นนั้นๆ โดยไม่ทำลายแต่ช่วยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืนสืบทอดสู่ชั่วรุ่นชั่วหลานต่อไป

เกียรประวัติแพทย์ไทยฝากไว้ให้คนรุ่นหลัง ชีวิตและงานของศาสตราจารย์แพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว

ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 กันยายน 2549

จัดพิมพ์โดย : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

ISBN : 974-260-087-2 จำนวนหน้า : 233

สรุปวิจารณ์โดย : นิษฐา เพ้ยจันทึก

เมื่อ : 10 ธันวาคม 2552

เกียรประวัติแพทย์ไทยฝากไว้ให้คนรุ่นหลัง ชีวิตและงานของศาสตราจารย์แพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออันทรงคุณค่าที่เราเยาวชนรุ่นหลังผู้ที่ได้รับบริการด้านสาธารณะสุขของไทยในปัจจุบันอย่างสะดวก สบาย ปลอดภัย เข้าถึงทุกท้องถิ่น ควรต้องอ่านและรู้เรื่องราวด้านสาธารณะสุขของไทยจากหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าในการจัดทำ เพื่อเป็นกระจกสท้อนภาพวิวัฒนาการทางการแพทย์และสาธารณะสุขของไทยในช่วงค่อนศตวรรษที่ผ่านมา โดยองค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนเงินทุนเพื่อจัดพิมพ์ และความร่วมมือจากบุคคลต่างๆมากมาย ซึ่งแนวทางในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ได้เรียบเรียงชีวประวัติของท่านจากเริ่มต้น(เยาว์วัย) ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ของชีวิต จนสู่วัยชรา ซึ่งเรียบเรียงเนื้อหาและภาพภาพไว้อย่างน่าสนใจ

ศาสตราจารย์แพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นปูชนียบุคคลรุ่นเก่าแก่ผู้หนึ่งในวงการแพทย์สาธารณะสุขไทย ผู้มีชีวิตและมีบทบาทร่วมสมัยกับชนรุ่นหลัง ท่านเป็นคน 4 แผ่นดิน คือเกิดเมื่อขึ้นปีแรกในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านเป็นแพทย์ตัวอย่างท่านหนึ่ง ผู้มีเกียรประวัติสูงเด่น นับตั้งแต่ก้าวแรกที่จบจากโรงเรียนแพทย์ออกไปเป็นแพทย์ฝึกหัด และภายหลังได้เป็นแพทย์ผู้ปกครองที่ทำงานลักษณะบุกเบิกอย่างอุทิศตัวในถิ่นทุรกันดาร เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 16 ปี และเมื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้หริหารโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ โดยมีตำแหน่งราชการเที่ยบเท่าผู้อำนวยการกองสังกัดกรมการแพทย์ ท่านผู้นี้ก็มีบทบาทสำคัญร่วมกับอธิบดีกรมการแพทย์ในการผลักดันให้มีการก่อตั้งโรงพยาบาลประจำจังหวัดครบทุกจังหวัด ตามนโยบายกระจายบริการสาธารณะสุขสู่ภูมิภาคของกระทรวงสาธารณะสุข ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่างปี พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2500 นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการก่อตั้งและดำเนินงานของโรงพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย รวมทั้งวิทยาลัยพยาบาลและโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ และช่วงที่สำคัญที่สุดก็ได้แก่ ช่วงที่ท่านได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารระดับสูงของกระทรวง กล่าวคือ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองของประเทศหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และในที่สุดดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณศูลานนท์ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวท่านได้เป็นผู้นำในการตัดสินใจและเปลี่ยแปลงครั้งสำคัญ เริ่มต้นด้วยจากการปรับปรุงส่วนราชการ และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารภายในกระทรวงสาธารณสุข และท่านเป็นประธานในการเขียนแผนพัฒนาสาธารณะสุขและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 หลักการสำคัญซึ่งริเริ่มขึ้นในแผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติฉบับที่ 4 คือ การให้บริการสาธารณะสุขแบบผสมผสาน มีการฟื้นฟูการใช้สมุนไพรและยาแผนโบราณอย่างจริงจัง เพื่อเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแก่การดำเนินงานการสาธารณะสุขมูลฐาน และการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในรูปอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สื่อข่าวสาธารณะสุข (ผสส.) ต่อมาแผนแม่บทฉบับนี้ได้กลายเป็นแม่บทของแผนฯ ฉบับที่ 5 และแผน ฉบับที่ 6 ซึ่งขยายไปสู่การนำความคิดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) มาเป็นเป้าหมายโดยใช้เป็นเครื่องมือในการชี้วัดคุณภาพชีวิต รวมทั้งพัฒนารูปแบบ “ลักษณะสังคมไทยและบุคคลที่พึงประสงค์”


ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณธสุขท่านได้สร้างโครงสร้างการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง โดยกระจายบริการจากจังหวัดสู่อำเภอ ด้วยการกำหนดนโยบายและโครงการอย่างชัดเจนเพื่อสร้างโรงพยาบาลชุมชนตามเป้าหมายครบถ้วนทุกอำเภอและสร้างสถานีอนามัยให้ครบทุกตำบล ที่สำคัญคือนโยบายสนับสนุนบุคลากรสาธารณสุขเป็นผู้นำทางการดูแลรักษาพยาบาล และการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างปรากฏได้ชัดเจนในยุคของท่านเป็นผู้บริหาร และความสำเร็จอีกประการหนึ่งที่น่าภาคภูมิใจในวงการสาธารณสุขของประเทศไทย คือ ในยุคของท่านประเทศไทยเป็นประเทศแรกและเป็นประเทศเดียวในโลกที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้มีอิสระในการบริหารงบประมาณที่ได้รับ โดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติของสำนักงานองค์การอนามัยโลกส่วนภูมิภาค และในยุคของท่านอีกเช่นกันที่ได้รับนโยบาบขององค์การอนามัยโลกในด้านการกำหนดบัญชียาหลักแห่งชาติ (Essential Drug List) อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถประหยัดงบประมารค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อยาลงได้เป็นจำนวนมาก

จากภาพโดยสังเขปจากข้างต้น ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันเป็นคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อวงการสาธารณสุขของไทยตราบจนทุกวันนี้ เราในฐานะผู้ใช้บริการสาธาณสุขและอยู่ร่วมกันในสังคมสามารถที่จะนำแนวทางชีวิตและผลงานของท่านเป็นกรณีศึกษา ประยุกต์ใช้ในชีวิตของเราได้ ไม่ใช่เฉพาะวงการแพทย์สาธารณสุขแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับบุคคลเป็นอันมากที่ท่านทำงานต่อสู้เปลี่ยนแปลงสังคมภายในระบบด้วยสติปัญญาสามารถ โดยไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมใดๆ ซึ่งเราเห็นตัวอย่างได้อย่างชัแจนจากที่กล่าวมา เช่น ท่านไม่เคยที่จะกลัวความลำบาก (เป็นแพทย์ฝึกหัด ทำงานตามชนบทกว่า 16 ปี) ท่านต่อสู้และเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขประชาชนทุกคนในท้องถิ่นทุรกันดารอย่างแท้จริง เมื่อท่านได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดมีอำนาจ มีหน้าที่ท่านไม่เคยคิดที่จะกอบโกยผลประโยชน์ให้กับตนเองแต่ท่านกลับพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทั้งสังคม ระดับประเทศให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามที่ท่านได้มีโอกาส โดยนำเอาประสบการณ์จากอดีตสู่การพัฒนาทั้งระบบอย่างยั่งยืน รวมทั้งท่านไม่เคยลืมของเก่า (สมุนไพรไทย) และไม่มัวเมากับของใหม่ (แพทย์แผนปัจจุบันอย่างตะวันตก) แต่ท่านนำมาประยุกต์และรักษาไว้อย่างสมดุลต่อไป นอกจากนี้เราเห็นภาพอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ ณ ที่ใด เราสามารถที่จะสร้างคุณค่า ประโยชน์กับประเทศชาติ สังคม และชุมชนที่เราอยู่ได้เสมอ ไม่กลัวต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น แต่พัฒนาอย่างเป็นระบบ อย่างเป็นขั้น เป็นตอน ตามที่เรามีกำลังความสามารถ และให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมรับผิดชอบในสังคมร่วมกัน

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ทางเลือกใหม่ของคนชายขอบ


ทางเลือกใหม่ของคนชายขอบ

Excluidos hoy, Protagonistas manana
Francisco Vanderhoff Boersma ผู้เขียน
จิตราภรณ ตันรัตนกุล ผู้แปล

เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวดั้งเดิมในรัฐอัวฮากา ทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโก ซึ่งประกอบด้วยชนเผ่าดั้งเดิมมากที่สุดรัฐหนึ่งเม็กซิโก การละเลยของรัฐบาลที่มีต่อชลเผ่าเหล่านี้มีผลให้รัฐอัวฮากาเป็นรัฐที่มีประชากรที่ยากจนมากที่สุดรัฐหนึ่งของประเทศ ความยากจนกับการละเลยของรัฐบาลเป็นที่มาของการต่อต้านนโยบายของรัฐ เป็นหนังสือที่พูดถึงความลำบากของคนยากจน คนที่ถูกกีดกัน และคนที่ประสบเคราะห์กรรมอันเกิดจากระบบเสรีนิยมใหม่ ผู้เขียนได้หาทางออกให้พวกเขา เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีชีวิตอย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่ทัดเทียมกัน การสร้าง ตลาดที่เป็นธรรม จึงเป็นหนทางหนึ่งที่นำไปสู่การเป็นมนุษย์ที่มีเกียรติดังที่มุ่งหวังเอาไว้
ชีวิตในชนบทดูเหมือนจะยุ่งเหยิง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีตรรกะ มีเหตุผล มีพลังในการต่อสู้ มีความสามารถในการเอาชีวิตรอด ปัญหาสารพัดที่มีอยู่ในชนบทเกี่ยวกับองค์ความรู้อันน้อยนิดและความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคนิคของชนบท เกี่ยวกับความเลวร้ายทางด้านสิ่งแวดล้อม จากผู้เชี่ยวชาญทางเกษตรกรรมหรือนักการเมือง ในขณะที่พยายามเอาชีวิตให้รอดแบบเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ แต่กลับไม่มีการพัฒนาชนบทในเม็กซิโก เกษตรกรอยากเอาชีวิตให้รอด แต่การพัฒนาจอมปลอมซึ่งสังคมกระแสหลักเสนอให้กลับหมายถึงอวสานของผู้ผลิตรายย่อย ชี้ให้เห็นถึง
1.ตลาดที่แตกต่าง ในฐานะที่เป็นทางเลือกของตลาดกระแสหลักในระบบเสรีนิยมใหม่ที่มีปัญหา
2.เรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางร่วมกันของผู้เขียนกับผู้ผลิตรายย่อย
3.การวิเคราะห์ทางด้านความคิดกับภาระของผู้ผลิตรายย่อยในเขตชนบท
4.การสะท้อนให้เห็นถึงความคิดเพื่อที่จะสร้างมนุษยชาติให้ดีขึ้นท่ามกลางการเผชิญ หน้ากับความเป็นจริงของการถูกกีดกันและการถูกขูดรีดเอาเปรียบในเขตชนบท
5.เพื่อรักษาวัฒนธรรมอันดีงามและนุ่มนวล และเพื่อโมทนาพระคุณต่อสรวงสวรรค์อันศักดิ์สิทธิ์

“ระบบเสรีนิยมใหม่ “ เป็นระบบที่อยู่ภายใต้แนวคิดทางเศรษฐกิจของปัจเจกบุคคลอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากระบบนี้มุ่งหวังแต่กำไรกับกฎเกณฑ์ของตลาดเท่านั้น ไม่ได้คำนึงถึงศักดิ์ศรีเกียรติยศ หรือให้ความใส่ใจต่อผู้ใดทั้งสิ้น
“หลายครั้งที่ระบบนี้ยอมรับแนวคิดที่ปล่อยให้กิจกรรมทางสังคมและการเมืองบางประการทอดทิ้งสมาชิกที่อ่อนแอที่สุดของสังคม ซึ่งส่งผลให้คนยากจนเพิ่มมากขึ้น และตกเป็นเหยื่อของระบบโครงสร้างทางการเมืองที่นำไปสู่ความอยุติธรรม
การทดลองจัดตั้งองค์กรของคนจนจะทำให้การย่างก้าวของพวกเขามีคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์และมีผลต่อมนุษย์ทุกรูปทุกนามอย่างเสมอภาคกัน ซึ่งไม่ใช่การกำเนิดเท่านั้น แต่รวมถึงสิทธิที่จะใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่ามากที่สุด สมถะ และมีเกียรติ เพื่อสร้างระเบียบทางสังคม การเมืองและวัฒนธรรมใหม่ การสร้างชีวิตและพลังชีวิตขั้นพื้นฐานนี้ มิได้มีเพียงสิทธิในการปกป้องตนเองแต่เป็นการทำอย่างจริงจังเพื่อให้มีชีวิตรอดได้


การค้าที่ยุติธรรม มีความเด่นทางด้านการผลิตและการตลาดที่มีประสิทธิภาพตามนัยของระบบเศรษฐกิจ สิ่งแรกก็คือการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุภาพสูง นอกจากนี้ในความสัมพันธภาพระหว่างราคากับคุณภาพนั้น การค้าอย่างยุติธรรม จำต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับตลาด
เหตุผลที่พอใจให้ทำงานในชนบท ก็คือการรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ทำงานกับเกษตรกรที่ต่อสู้เพื่อความอยู่รอดอย่างสง่างาม
วิกฤติที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะไม่มีทางออก ในเมื่อกาแฟไม่มีราคา ผู้ผลิตไม่ยอมละทิ้งไร่กาแฟของตัวเอง จำต้องหาวิธีบรรเทาวิกฤติเหล่านั้นและหาช่องทางในตลาดที่จะให้ความหวังแก่พวกเขา อย่างน้อยที่สุดผู้บริโภคก็สามารถซื้อกาแฟแบบเกษตรอินทรีย์ ผู้บริโภคที่ติดใจในรสชาติของกาแฟ นอกจากนี้ยังมีแรงกระตุ้นทางด้านอื่นๆ เช่น “กาแฟภายใต้ร่มเงาไม้”ที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพในไร่กาแฟและยังกระตุ้นการประชาสัมพันธ์ให้ไปยัง “กาแฟที่เป็นมิตรกับนก” เป็นการประชาสัมพันธ์ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนจะเป็นทางออกใหม่ทีทำให้ราคาผลผลิตที่เพิ่มขึ้น

ทำอย่างไรผู้ผลิตกาแฟรายย่อยจึงจะมีชีวิตรอด
คำตอบ ก็คือ ความหลากหลายทางชีวภาพ แม่น้ำที่มีน้ำสะอาด คนในชุมชน เอกภาพของความหลากหลายของคนในชุมชนที่ปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมา และการพัฒนาเพื่อความอยู่รอด
ความหวังของผู้ผลิตกาแฟ
เปรียบประหนึ่งการกำเนิดของอรุณรุ่งวันใหม่
เกิดความหวังอีกครั้งของผู้ผลิตกาแฟ
ความเสียสละของเขา
พ่ายแพ้ต่อผลของความเป็นจริงในที่สุด
ผลของความต้องการกอบกู้
เลือกเฟ้นย่างก้าวของอุปสรรค
เพื่อระงับความทะเยอทะยาน
เปรียบประหนึ่งการกลับคืนของแสงสว่างแห่งวันใหม่
เจ้ากลับไปเป็นผลแห่งความยาก
พวกเรารู้สึกยินดี
ที่เพื่อเจ้าแล้ว พวกเรามิได้ถูกเอาเปรียบ
แต่กลับไปสู่ความหวังของมนุษย์
เพื่อมองการเก็บเกี่ยวพืชผลแห่งความยาก
และเข้าใจถึงเอกภาพ
จนยากที่จะเอาเปรียบพวกเราได้
เปรียบประหนึ่งการกลับมาของความเขียวชอุ่มแห่งฤดูใบไม้ผลิ
หลังความอ้างว้างและหนาวเหน็บของฤดูนาว
เปรียบเสมือนความหวังที่กลับคืนมาของผู้ผลิตกาแฟ
ซึ่งตกตลึงต่อผลลัพธ์อันงดงาม
เพราะเหตุใดเขาจึงว่างานของตนนั้น
มิได้ทำเพื่อนายอีกต่อไป
และรู้ว่าทุกอย่างคือลางร้าย
ที่พบจุดจบด้วยการกำราบเข่นฆ่า
อะไรนำไปสู่การกำเนิดของอรุณรุ่ง
หลังจากความมืดมัวของราตรีสลัว
ผู้ผลิตกาแฟก่อกำเนิดขึ้นมาใหม่
เพื่อมิให้มีการเอาเปรียบอีกต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

งานเมล็ดพันธุ์

Pun Pun presents
Saturday December 19, 2009 3:00 - 9:00 pm
Behind the CMU Art Gallery in open event space
Suthep Road and Canal Road intersection
6 live local bands, “Makom Bum” theatre show, Local organic food, Organic seed
exchange and sale, Massage and natural healing, Kids activities, Demonstrations
on sustainable living including natural building, earthen ovens, organic
gardening techniques and more...
Organized by Pun Pun organic farm, sustainable living learning center and seed center. www.punpunthailand.org
this IS A
No Plastic Event.
We hope you will help us
with this goal by bringing
your own bags!
Pun Pun presents
วันที่ 19 ธันวาคม 2552 เวลา บ่ายสาม ถึง สามทุ่ม
ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(หลังหอศิลป์ ตรงข้ามตลาดต้นพยอม)
พร้อมกิจกรรมที่เป็นมิตรแก่สิ่งแวดล้อม เช่นการ ขาย แลก แจก เปลี่ยน เมล็ดพันธ์ุพื้นบ้าน
การสาธิตเรื่องการพึ่งตนเอง เช่น การทำบ้านดิน การทำบ้านก้อนฟาง การทำสีธรรมชาติ
กิจกรรมสำหรับเด็ก การออกร้านของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ และภายในงานยังมีการออกร้าน
ขายอาหาร ที่หลากหลาย โดย เหล่าศิลปินจากเมืองเชียงใหม่ เช่นวงแจ๊ซ นอร์ทเกท
วงบุญฮักสา วิลิต เตชะไพบูลย์ และศิลปินอื่น ๆ อีกมากมาย
ดำเนินการเปิดฝักโดย พันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเองและเก็บเมล็ดพันธ์ุ www.punpunthailand.org
งานนี้รณรงค์
ไม่ใช้พลาสติก
นำกระเป๋าผ้ามาเอง หรือ
ที่งานมีกระเป๋าผ้าจำหน่าย

วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Cost down ลดต้นทุน


Cost Down

การลดต้นทุน

บริษัท อิมเมจ คอนซัลแทนท์ แอนด์ เซอร์วิล จำกัด ผู้จัดพิมพ์

จำนวน 304 หน้า

ความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบันอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็วและยกาต่อการคาดการณ์ล่วงหน้า องค์กรจะยังคงอยู่รอดได้ก็ต่อเมื่อสามารถทำกำไรได้มากกว่าทรัพยากรที่ได้ลงทุนไป และก็คงไม่มีองค์กรใดอยู่รอดได้ หากไม่สามารถขายผลิตภัณฑ์ หรือบริการของตนได้ และหากองค์กรใดที่มีต้นทุนการผลิต หรือบริการสูงกว่าคู่แข่ง นั้นก็จะเป็นสัญญาณบอกว่า องค์กรนั้นจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

ปัจจุบันมีองค์ประกอบมากมายหลายอย่างที่เป็นผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ซึ่งมันอาจนำไปสู่ประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลง , ประสิทธิภาพการบริการที่ลดลง และค่าใช้จ่ายในการขายที่สูงขึ้น หรืออื่น ๆ อีกมากมาย แล้วเราต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถทำกำไรได้มากที่สุดจากต้นทุนที่จ่ายไป โดยไม่กระทบต่อคุณภาพของสินค้า และบริการ ซึ่งหมายถึงผลตอบแทนที่มากขึ้นอย่างมีคุณภาพนั้นเอง ภายใต้การบริหารต้นทุนการผลิตให้ลดต่ำลงนั้นเอง ในหนังสือเล่มนี้ยังบอกถึงแนวทางในการ เพิ่มผลกำไรให้กับตนเองไว้ด้วยกัน 3 วิธี คือ

1.รักษาระดับต้นทุนการผลิตไว้ในระดับที่แน่นอน และสร้างผลกำไร ด้วยวิธีการเพิ่มราคา

2. เพิ่มราคาขึ้นไปให้เท่ากับราคาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

3. ลดต้นทุนการผลิตลงเพื่อรักษาระดับราคาขาย

แต่ดูเหมือนว่า 2 วิธีแรกจะได้รับความนิยมสำหรับองค์กรธุรกิจรุ่นเก่า ซึ่งสำหรับองค์กรธุรกิจรุ่นใหม่แล้ว จะเลือกใช้วิธีที่ 3 คือพยายามลดต้นทุนการผลิตลง และรักษาระดับราคาขายไว้ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้ต่อไป

การลดต้นทุนคือการเพิ่มผลกำไร โดยไม่กระทบถึงผู้บริโภคภายนอก และเป็นกระบวนการที่ใช้จัดการกันเองภายในองค์ร โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรในองค์กรทุกฝ่ายเข้ามาช่วยกันทำให้กิจกรรมนี้ประสบผลสำเร็จ

“การลดต้นทุนไม่ใช่การลดวัสดุ อุปกรณ์ กำลังการผลิต หรือบุคคลากร แต่เป็นการใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ซึ้งเราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของการเพิ่มกำไร ที่ไม่ใช่จากการเพิ่มราคาเพียงอย่างเดียว และหนังสือเล่มนี้ยังได้ทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของการลดต้นทุน หลักทั่วไปเขาคิดกันอย่างไงแล้วเราทำได้อย่างแท้จริงหรือป่าว ดังคำกล่าวที่ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ต้องนี้เลย ทำไมกิจกรรมการลดต้นทุนในองค์กรถึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร? ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวไว้อย่างน่าคิด หัวใจสำคัญในการดำเนินกิจกรรมลดต้นทุน คือ ผู้บริหารต้องหมั่นส่งเสริมกิจกรรมการลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง โดยการปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องการลดต้นทุนใสห้กับพนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้อง จัดทำโครงนสร้างการลดต้นทุนต่าง ๆ อย่างละเอียด พร้อมกับต้องมีการพัฒนาการตั้งเป้าหมายและประเมินผลกิจกรรมอยู่เสมอ ทั้งนี้อยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารด้วยว่าจะจริงจังกับเรื่องนี้มากแค่ไหน?ผู้บริหารไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่กำหนดนโยบายลดต้นทุนหรือจัดทืมกิจกรรมนี้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องเข้ามาดูแลกิจกรรมอย่างใกล้ชิด เพราะนั้นจะเป็นแบบอย่างให้กับพนักงานทุกคนปฏิบัติตามอย่างไม่ยากนัก”

อีกอย่างที่สำคัญเราต้องหมั่นเสาะแสวงหาปัญหาต่าง ๆ ภายในองค์กรอยู่ตลอดเวลา แต่ขอโทษทีหนังสือเล่มนี้ไม่ได้สอนให้เราต้องจับผิดใคร แต่เขาได้บอกเราว่าปัญหาทุกอย่างในองค์กรล้วนเป็นตัวการที่ทำให้ต้นทุน เพิ่มโดยสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น การเสียหายบ่อย ๆ ของเครื่องจักร กระบวนการสื่อสารภายในองค์กรมีปัญหา, การผลิตสินค้าที่มากเกินความต้องการ เป็นต้น ซึ่งหากเราทราบปัญหาแล้วรีบแก้ไข ผลที่ออกมาก็คือต้นทุนการผลิตลดลง

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการลดต้นทุนไว้ให้ได้ทำความเข้าใจ พร้อมกับมีตัวอย่างการคิดและหาวิธีการในการทำกิจกรรมไว้ เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพและเกิดความเข้าใจในเรื่องที่นำเสนอ และต้องบอกว่าสำคัญมาก คุณรู้หรือไม่ว่าจะหาหัวข้อการลดต้นทุนได้อย่างไร? และจุดสำคัญของการลดต้นทุนอยู่ที่ไหน ความสิ้นเปลืองมีอะไรบ้าง และเราจะเริ่มต้นการลดต้นทุนอย่างไร ? สิ่งเหล่านี้ได้บอกไว้อย่างละเอียดในหนังสือเล่มนี้ ซึ่งหากเรารู้และเข้าใจสิ่งเหล่านี้แล้ว การลดต้นทุนก็ไม่ใช่เรื่องยาก

สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้ ก็คือ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ด้วยตัวเราเพียงคนเดียว เพราะในการทำอะไรสักอย่างเราต้องการความร่วมมือจากผู้อื่น และต้องทำอย่างต่อเนื่อง มีการติดตามประเมินและปรับปรุงอยู่เสมอ คุณจึงจะเดินไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ สำหรับฉันแล้วได้เริ่มนำกิจกรรมลดต้นทุนเข้ามาใช้ในฝ่ายงานที่รับผิดชอบ แม้จะเป็นเพียงฝ่ายเล็ก ๆ ในองค์กร แต่การเริ่มที่ตัวเราเองก่อนย่อมดีกว่าแน่นอน สิ่งที่อยู่ในหนังสือใช่ว่าจะถูกต้องเหมาะสมกับเราทั้งหมดก็ไม่ แต่อยู่ที่เราจะนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับเราได้หรือไม่นั้นท้าทายกว่า และสิ่งสำคัญต้องทำมันอย่างจริงจัง ตอนนี้ฉันเริ่มจากกิจกรรมแยกขยะสร้างรายได้ สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลต้นไม้ที่อยู่รอบนอกอาคารที่ฉันต้องดูแล ก็อย่างที่บอกแม้มันจะน้อยนิดแต่มันก็ทำให้องค์กรลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปได้จำนวนหนึ่งนี้เป็นเพียงหนึ่งกิจกรรมที่ทำได้จริงในตอนนี้ แต่ก็ยังมีอีกหลายสิ่งที่ฉันยังต้องเรียนรู้และทดลองทำไปพร้อม ๆ กับหนังสือเล่มนี้..........

Krisana Wilawan

Packing unit Yasothorn


วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Permaculture Principles & Pathways Beyond Sustainability

โดย David Holmgren
286 หน้า Holmgren Design Services

Michael Commons
ผู้ประสานงานห่วงโซ่ข้าว


แม้ว่า David Holgren จะเป็นที่รู้จักกันน้อย เขาก็เป็นหนึ่งในสองคนที่ก่อตั้งแนวคิดเพอร์มาคัลเซอร์ร่วมกับ Bill Mollison ทั้งสองได้ร่วมกันเขียนหนังสือ Permaculture One ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับเพอร์มาคัลเซอร์ ทั้งๆ ที่เขาปฏิบัติเพอร์มาคัลเซอร์มาตั้งแต่ช่วงนั้น แต่เขาก็ได้เขียนบทความและปรากฏตัวต่อสาธารณะน้อยกว่า Mollison อย่างไรก็ตามหนังเล่มนี้ก็ได้รับความชื่นชมค่อนข้างมาก

ผมได้รู้จักหนังสือเล่มนี้จากการเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการออกแบบเพอร์มาคัลเซอร์ในปีที่แล้ว ซึ่งผู้อบรม Darren Doherty ใช้เนื้อหาจากหนังสือในการอบรมและได้แนะนำให้หามาอ่าน และผมก็ได้อ่านมัน

Permaculture Principles & Pathways Beyond Sustainability แตกต่างจากหนังสือ Permaculture One และหนังสือเพอร์มาคัลเซอร์เล่มอื่นที่นิยมอ่าน ที่ได้ตีพิมพ์โดย Bill Mollison และคนอื่นๆ หนังสือเล่มนี้มีตัวอย่างการใช้เพอร์มาคัลเซอร์ในระดับฟาร์มค่อนข้างน้อย เพราะว่ามันมองเพอร์มาคัลเซอร์กว้างกว่า จึงเห็นว่าแนวคิดนี้ใช้ในสังคม องค์กร เศรษฐกิจ และอื่น ๆ โดยจะเน้นไปที่หลักการสำคัญของเพอร์มาคัลเซอร์ ว่าหลักการเหล่านี้ใช้ได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย และเราสามารถนำหลักการเหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและงานออกแบบของเรา ถ้าเรามองเพอร์มาคัลเซอร์เป็นหนทางหนึ่งในการออกแบบและความเข้าใจระบบต่าง ๆ หนังสือเล่มนี้ช่วยให้เราคิดในมุมมองของเพอร์มาคัลเซอร์

หนังสือเล่มนี้จะมีหลักการออกแบบเพอร์มาคัลเซอร์ทั้ง 12 หลักการโดยแยกเป็นแต่ละบทดังนี้ 1.สังเกตและสัมพันธ์ 2.เกี่ยวและเก็บพลังงาน 3.รับผลผลิต 4.ใช้การควบคุมตัวเองและยอมรับผลสะท้อนกลับ 5.ใช้และเห็นคุณค่าของทรัพยากรหมุนเวียนและบริการทางระบบนิเวศ 6.ไม่ผลิตของเสีย 7.ออกแบบจากลูกสงค์สู่รายละเอียด 8.ผสมผสานแทนที่การแยก 9.ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่เล็กและช้า 10. ใช้และเห็นคุณค่าของความหลากหลาย 11.ใช้และเห็นคุณค่าของขอบเขต 12.ใช้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่สร้างสรรค์ ในแต่ละบททำให้เราเข้าใจถึงหลักการและนำไปใช้ในสถานการต่างๆ กัน เช่นหลักการข้อ 11 ใช้และมองเห็นคุณค่าของขอบเขต ตอนแรกผู้เขียนพูดถึงขอบเขตธรรมชาติเช่นพื้นที่ชายทะเล พื้นที่เปลี่ยนผ่านระบบนิเวศและหน้าดิน (ซึ่งเป็นขอบเขตระหว่างดินกับอากาศ) ทั้งหมดนี้จะมีทรัพยากรที่หลากหลายกว่า และมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าพื้นที่ห่างจากขอบเขต นอกจากนี้ยังนำหลักการนี้มองกว้างออกไปในสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เช่นพื้นที่ขอบเขตในเมืองใหญ่บ่อยครั้งเป็นศูนย์กลางความสร้างสรรค์และการพัฒนา เป็นพื้นที่ที่ไม่แพงสามารถนำเอาความคิดใหม่ ๆ ลงไปทดลองใช้ได้ เมืองไหนที่ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้วจะสูญเสียขอบเขตความสร้างสรรค์นี้ ในหลักการบทที่ 7 ออกแบบจาก patterns ไปสู่ details ผู้เขียนพูดถึงแนวคิดการขยายขนาดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการทำสวน สมมุติว่าคนคนหนึ่งเริ่มทำสวนครัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เศษของเหลือใช้มาทำปุ๋ยหมักและใช้แรงงานของตัวเอง อีกไม่นานเขาอาจจะมีผลผลิตพอกินสำหรับในบ้านและมีส่วนเหลือที่สามารถนำไปขายได้ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ชาวสวนเพิ่มการผลิตโดยการขยายพื้นที่และกลายเป็นเกษตรกรรายย่อยเต็มเวลา การปรับเปลี่ยนนี้เขาจะต้องลงทุนและเปลี่ยนวิธีการผลิต หลังจากผ่านอุปสรรค์ที่ท้าทายบางอย่างแล้วเขาก็จะพบกับการผลิตที่มีประสิทธิภาพที่สูงขี้นไปอีก แต่ถ้าในอนาคตเขาอยากจะขยายอีกจะต้องปรับตัวอีกครั้งโดยน่าจะจำเป็นจะต้องใช้แรงงานจ้างและเครื่องทุ่นแรงในฟาร์ม ตัวอย่างนี้จะแสดงให้เห็นภาพที่ระบบต้องเหมาะสมกับขนาดซึ่งจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การปรับขนาดส่วนใหญ่ก็ต้องปรับระบบด้วยเพื่อความเหมาะสม บางขนาดอาจเป็นเกิดอุปสรรคมากและไม่เหมาะกับระบบใดเลย

หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมถึงหลักการทั้ง 12 หลักการโดยแต่ละหลักการมีภาพและตัวอย่างประกอบ อีกเรื่องหนึ่งที่จะมีการพูดถึงตลอดเล่มนี้คือความจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวสำหรับสถานการณ์ที่มีพลังงานน้อย ตามแนวคิด peak oil ซึ่ง 300 ปีที่แล้วโลกก็อยู่ในสถานการณ์พลังงานน้อยมีการใช้พลังงานยั่งยืนเกือบทั้งหมด ต่อมามีการค้นพบเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติอื่น ๆ การปฏิวัติเหล่านี้และสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เกือบทั้งหมดในปัจจุบันอาศัยพลังงานเหมืองแร่ที่สะสมในหลายล้านปี ปัจจุบันอุปทานของพลังงานเหมืองแร่นี้กำลังลดลงขณะที่จำนวนประชากรของโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ชัดเจนว่ามนุษย์จะต้องอาศัยอยู่ด้วยพลังงานฟอสซิลต่อคนที่น้อยลงเรื่อย ๆ ดังนั้นทั้งโลกจำเป็นจะต้องกลับมาสู่การพึ่งตัวเองโดยอาศัยพลังงานที่ยั่งยืนเป็นหลัก การปรับตัวสู่เศรษฐกิจที่ใช้พลังงานน้อยก็เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ แม้ว่าผู้เขียนแสดงภาพให้เห็นว่าหลักการออกแบบเพอร์มาคัลเซอร์สามารถเป็นเครื่องมือที่ดีในการปรับตัวถ้าเราเริ่มปรับตัวเร็วขณะที่ยังมีพลังงานฟอสซิลอยู่บ้าง เราสามารถใช้พลังงานฟอสซิลเพื่อพัฒนาอุปทานของพลังงานที่ยั่งยืนในระยะยาว และอาจเข้าถึงที่หมายได้อย่างนิ่มนวล

หนังสือเล่มนี้ให้ความกระจ่างค่อนข้างมาก แต่อาจจะยากสำหรับคนที่ไม่รู้จักแนวคิดนี้เลย ถ้าท่านจะหาหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับเพอร์มาคัลเซอร์มาอ่าน ผมขอแนะนำเล่มอื่นเช่น Permaculture One สำหรับคนที่ได้รู้จักเพอร์มาคัลเซอร์มาบ้างแล้วและต้องการเนื้อหาที่ลึกกว่า และต้องการเห็นการนำหลักการออกแบบเพอร์มาคัลเซอร์ไปใช้เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในแนวทางชีวิตต่าง ๆ หนังสือเล่มนี้ก็เป็นทางเลือกที่ดี

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เดินสู่อิสรภาพ


ผู้เขียน อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
จำนวน 504 หน้า

อำนาจ หวานล้ำ
แม่ทา จ.เชียงใหม่
สุวนศาสตร์ ก้อนบัว
ศูนย์เกษตรอินทรีย์ จ.ยโสธร

เนื้อหาหนังสือเป็นการบอกกล่าวถึงการเดินทางด้วยเท้าและเรื่องราวระหว่างทางที่ได้พบเจอตั้งแต่เริ่มออกเดินทางจากเชียงใหม่ จนถึงเกาะสมุย ซึ่งเป็นบ้านเกิด บนเส้นทางที่ได้ก้าวเดินได้สอดแทรกความคิดในเชิงปรัชญาชีวิต มิตรภาพที่ได้พบเจอ โดยมีวัตถุประสงค์ของการเดินทางด้วยเท้าคือ ต้องการให้การเดินทางเป็นไปอย่างช้าๆ เพื่อเก็บรายละเอียดระหว่างทางให้มากที่สุด ในขณะที่การเดินทางด้วยความเร็วของยานพาหนะไม่สามารถทำได้ ภายใต้เงื่อนไขของการเดินทางคือ
1) ไม่ถือเงินติดตัว เพราะการมีเงินทำให้ค่าและอำนาจของเงิน บดบัง ปกปิดคุณค่าและอำนาจของมนุษยธรรม ที่มีอยู่ในตัวเองและเพื่อนมนุษย์ที่ผ่านพบ
2) ไม่เดินไปหาคนรู้จัก ทั้งนี้ก็เพราะการรู้จักกันอยู่ก่อนแล้ว ทำให้สูญเสียโอกาสในการสร้างมิตรภาพใหม่
3) การไม่มีการวางแผนการเดินทางล่วงหน้า ไม่ว่าจะเดินทางถึงที่ไหนเมือไหร่ เนื่องจากต้องการเข้าไปสู่ความไม่แน่นอน และความไม่แน่นอนนี่แหละคือบทเรียนอันประเสริฐที่ปรารถนาจะเรียนรู้
4) ไม่เรียกร้องโอดครวญให้เพื่อนมนุษย์เห็นใจสงสาร เพราะการทำเช่นนั้น อาจจะเป็นการบีบคั้นให้เพื่อนมนุษย์ต้องให้ความช่วยเหลือ โดยที่เขาอาจจะไม่มีความสุขกับการช่วยเหลือ
5) ไม่ทำในสิ่งที่ พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการกระทำที่เกิดจากอำนาจของความโลภ ความโกรธ และความหลงที่มีอยู่ภายในจิตของตนเอง
------------------------------
.......
"ผมจะเดินกลับบ้าน"
นี่คือคำตอบในวันปิดห้องเรียน และประกาศยุติบทบาทหน้าที่ของครูสอนปรัชญาของชายผมหงอกขาว ผิวเข้ม วัยครึ่งร้อย ด้วยแววตาอัน "แน่วแน่และมั่นคง" เมื่อลูกศิษย์ถามว่า "อาจารย์จะทำอะไรต่อไปหลังจากลาออกจากราชการ?" คำตอบของอาจารย์ทำให้เกิดความวิตกสงสัยขึ้นในใจของพวกเรา ทำไมถึงละทิ้งความมั่นคงก้าวหน้าและฐานะของความเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แล้วตัดสินใจออกเดินทางเพื่อไปเผชิญกับความยากลำบากและความไม่แน่นอน นี่คือผู้ชายที่พวกเราเรียกวเขาว่า "อาจารย์ประมวล"....
“บุญญฤทธิ์”
ความประทับใจ ในขณะที่กำลังเดินอยู่ในถนนเพชรเกษม จากประจอบคีรีขันธ์สู่ทับสะแกนั้นผมได้พบสองสามีภรรยาคู่หนึ่งซึ้งเป็นคนเก็บขวดน้ำเก่าขาย
“จะไปไหน” ผู้ชายส่งเสียงถามด้วยรอยยิ้ม
“ไปสุราษฎธานี” ผมตอบขณะที่เดินเข้าไปไกล้เขา
บทสนทนาระหว่างหญิงชายคู่นั้นกับชายพเนจรเริ่มต้นอย่างไงๆ ไปไหน? มาจากไหน? ทำไมจึงเดิน? เหนื่อยไหม? กินอย่างไร? นอนที่ไหน? ฯลฯ เป็นคำถามที่ง่ายๆและตรงไปตรงมาตามด้วยคำถาม “กินข้าวเที่ยงหรือยัง”? “กินตอนเช้าแล้ว วันหนึ่งได้กินมื้อเดียวก็พอแล้ว ไม่ต้องกินมากแค่พอมีชีวิตอยู่ได้” “ถ้าลงไม่รังเกียจ ก็ไปกินข้าวเราจะเลี้ยง” ผู้ชายพูดขึ้นแล้วแล้วเชิญชวนให้ผมขึ้นรถซาเล้งขอว่เขา “พ่อ...เพราะวันนี้เป็นวันพระที่เราถือศีลกินเจ เราจึงมีบุญได้พบลุงและได้ให้อาหารลุงแก่” เมื่อทานอาหารเสร็จแล้วผมจึงขอทีอยู่เพื่อจะได้ส่งจดหมายหรืออะไรให้เขาได้แต่พอรับสมุดที่ส่งให้เขาจดปรากฏว่ามีแต่ชื่อแต่ไม่มีที่อยู่ “ผมขอที่อยู่ด้วยได้ไหมจะได้ติดต่อทางไปรษณีย์” สองสามีภรรยารับสมุดไปแล้วปรึกษากันว่าจะเขียนที่อยู่อย่างไรเพราะที่บ้านของเขาไม่มีเลขที่บ้าน
ผมรับสมุดคืนมา แล้วมองดูที่อยู่ทางไปรษณีย์ที่สองสามีภรรยาเขียนให้ ขณะที่เห็นที่อยู่ 2 ที่ ทำให้ผมรู้สึกตื้นตันอย่างบอกไม่ถูก ทำไมตำแหน่งแห่งหนของบุคคลผู้งดงามเช่นนี้จึงไร้ที่ไร้ทางให้ติดต่อ โลกใบนี้ สังคมนี้ ช่างไม่ ช่างไม่มีที่ไม่มีทางให้บุคคลผู้งดงามเช่นนี้เลยเชียวหรือ.....?
……………………………………

(คำกล่าวนำ "จากใจลูกศิษย์")
.......
ผมกำลังเดินไปเพื่อเรียนรู้จากบุคคลที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ ทุกๆ ภูมิภาคของสังคมไทย ก่อนที่จะเดินกลับถึงบ้านเกิดที่เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี
ทุกๆ ท่านที่ผมได้พบและสนทนาด้วย คือ "ครู" ของผม
เมื่อผมเดินทางถึงเป้าหมายแล้ว ผมจะใช้ความรู้ที่ได้เรียนรู้จากครูของผมให้เกิดประโยชน์สุขแด่มวลมนุษย์และสรรพสัตว์ตลอดช่วงชีวิตที่ยังเหลืออยู่ของผม

(หน้า 61 ตอนฝึกหัดเดิน)
.......
สายฝนเริ่มโปรยปรายลงมา เมื่อเดินไปถึงบริเวณลานบ้าน ที่บ้านเงียบสงบ ไม่มีใครอยู่บ้านเลย พ่อ-แม่ เสียชีวิตไปแล้ว พ่อเสียชีวิตไปก่อนหลายปี แม่เพิ่งเสียชีวิตได้ปีเศษๆ
ผมก้าวไปยังจุดที่ซึ่งอดีตเคยเป็นส่วนที่ตั้งบันไดขึ้นบ้าน แต่ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนบันไดไปอยู่ด้านอื่น
ทรุดกายลงนั่งคุกเข่า ณ จุดที่เคยเป็นบันไดขึ้นบ้าน เสียงหอกระจายข่าวของหมู่บ้านบอกเวลา 7 นาฬิกา
ปลดกระเป๋าสะพายหลังออกมาวางข้างตัว ล้วงหยิบเอาผ้าเช็ดหน้าสีกลัก ซึ่งใช้ห่อดินอันเป็นวัตถุมงคล ที่พกติดตัวตลอดมาชั่วระยะเวลาถึง 30 กว่าปี ออกมาจากกระเป๋า
คลี่ผ้าเช็ดหน้าออก เททรายทั้งหมดที่มีอยู่ลงบนฝ่ามือขวา กำขึ้นมาแนบอก ยกมือซ้ายทาบลงบนหลังมือขวา ใช้แรงที่มีอยู่กดผ่านฝ่ามือลงไป ตั้งจิตระลึกถึงเรื่องราวในอดีต
ณ จุดนี้เมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว ได้หยิบเอาดินทรายหยิบมือหนึ่งติดตัวไป ด้วยจิตกำหนดหมายให้เป็นความรู้สึกว่า ดินนี้คือ พ่อ-แม่-บรรพบุรุษ และทุกๆ สิ่งที่ให้กำเนิดเกิดชีวิตขึ้น จะนำดินนี้ติดตัวไปทั่วทุกหนทุกแห่งที่เดินทางไป เดินทางไปเพื่อศึกษาเรียนรู้ เดินทางไปเพื่อแสวงหาความสำเร็จแห่งชีวิต หากมีอันต้องจบชีวิตลงในช่วงระหว่างการเดินทาง ก็จะถือว่าได้จบชีวิตลง เพื่อคืนกลับไปเป็นหนึ่งเดียวกับดินที่เป็นพ่อ-แม่-บรรพบุรุษ แต่หากว่าได้เดินทางท่องเที่ยวไปจนประสบความสำเร็จ ก็จะนำดินนี้คืนสู่ที่เดิม
บัดนี้ ได้เดินทางท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง ได้เรียนรู้ ได้ประสบกับสิ่งต่างๆ จนรู้สึกว่าเพียงพอแล้ว สำเร็จแล้ว กับการมีชีวิตอยู่เพื่อการเรียนรู้ จึงขอคืนดินนี้สู่ที่เดิม
ช่วงขณะแห่งการระลึกได้เช่นนี้ ปรากฏเหมือนมีอะไรมารวมอัดแน่นอยู่ภายใน ร่างกาย เนื้อตัวสั่นสะท้าน ความปิติแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย น้ำตาไหลพรากลงมาอาบแก้ม
(หน้า 493-494 ตอนถึงบ้าน)
------------------------------

อำนาจ : สิ่งที่ได้จากหนังสือเล่มนี้แน่นอนคือ ปรัชญาชีวิต ที่สอดแทรกอยู่ในทุกบททุกตอนของเนื้อหา ให้กำลังใจในยามท้อแท้ได้เป็นอย่างดี ประทับใจและอยากแนะนำให้ได้ลองอ่านกัน

สุวนศาสตร์ : สิ่งที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้คือ เรื่องราวการออกเดินเท้าทางไกลเพื่อคนหาสิ่งล้ำค่าที่ถูกกลืนหายไปกลับกระแสสังคมในปัจจุบัน ระหว่างอ่านเกิดความรู้สึกสนุกเพลิดเพลิน ตื่นเต้น ลุ้นระทึก เศร้าใจจากการที่ถูกผู้อื่นปฏิเสธ และสุขใจเมื่อพบสัมพันธภาพที่สวยงามในสังคม เหน็ดเหนื่อยเสมือนร่วมเดินไปกับผู้เขียน การไม่มีเงินตราติดตัวไปเลยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความหมายของชีวิตได้โดยไม่น่าเชื่อ เหมือนกับการที่เราหลุดออกมาอีกโลกๆ หนึ่ง เพราะชีวิตของคนเราในปัจจุบัน ไปถูกทำให้ติดผูกพันอยู่กับเงินสูงมาก ถึงขนาดที่ว่าถ้าไม่มีเงินมันเหมือนชีวิตนี้ไม่มีความหมาย เพราะฉะนั้นการที่อาจารย์เดินออกไปแล้วไม่มีเงินมันเป็นสิ่งท้าทายมาก พร้อมกันนี้ในเรื่องของเวลา เมื่อเราอยู่ในชีวิตปกติเรามีเรื่องเวลาเข้ามากำกับคุณค่าและความหมายตลอด แต่เมื่ออาจารย์ก้าวเดินไปแล้วและอธิษฐานขอตั้งมั่นเอาจิตจดจ่ออยู่กับปัจจุบันธรรม ไม่ตกไปที่อดีตหรือไม่กระสับกระส่ายกลายเป็นการปรุงแต่งเป็นไปเพื่ออนาคต ทีละก้าวๆๆ ทำให้ประจักษ์แจ้งว่า จริงๆ แล้วชีวิตของเราที่มันมีปัญหามากมายสารพัด ส่วนหนึ่งเพราะเราตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการปรุงแต่งเรื่องเวลา มันทำให้สิ่งที่เป็นปัจจุบันสูญเสียคุณค่าไป ดั้งพระพุทธวจนะที่ว่า จะมีชีวิตอยู่สักร้อยปี แต่จิตใจไม่สงบนิ่ง ไม่เย็นเป็นสุข สู้มีชีวิตอยู่นาทีเดียวแต่จิตสงบนิ่งเป็นสุขไม่ได้