286 หน้า Holmgren Design Services
ผู้ประสานงานห่วงโซ่ข้าว
แม้ว่า David Holgren จะเป็นที่รู้จักกันน้อย เขาก็เป็นหนึ่งในสองคนที่ก่อตั้งแนวคิดเพอร์มาคัลเซอร์ร่วมกับ Bill Mollison ทั้งสองได้ร่วมกันเขียนหนังสือ Permaculture One ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับเพอร์มาคัลเซอร์ ทั้งๆ ที่เขาปฏิบัติเพอร์มาคัลเซอร์มาตั้งแต่ช่วงนั้น แต่เขาก็ได้เขียนบทความและปรากฏตัวต่อสาธารณะน้อยกว่า Mollison อย่างไรก็ตามหนังเล่มนี้ก็ได้รับความชื่นชมค่อนข้างมาก
ผมได้รู้จักหนังสือเล่มนี้จากการเข้าร่วมอบรมหลักสูตรการออกแบบเพอร์มาคัลเซอร์ในปีที่แล้ว ซึ่งผู้อบรม Darren Doherty ใช้เนื้อหาจากหนังสือในการอบรมและได้แนะนำให้หามาอ่าน และผมก็ได้อ่านมัน
Permaculture Principles & Pathways Beyond Sustainability แตกต่างจากหนังสือ Permaculture One และหนังสือเพอร์มาคัลเซอร์เล่มอื่นที่นิยมอ่าน ที่ได้ตีพิมพ์โดย Bill Mollison และคนอื่นๆ หนังสือเล่มนี้มีตัวอย่างการใช้เพอร์มาคัลเซอร์ในระดับฟาร์มค่อนข้างน้อย เพราะว่ามันมองเพอร์มาคัลเซอร์กว้างกว่า จึงเห็นว่าแนวคิดนี้ใช้ในสังคม องค์กร เศรษฐกิจ และอื่น ๆ โดยจะเน้นไปที่หลักการสำคัญของเพอร์มาคัลเซอร์ ว่าหลักการเหล่านี้ใช้ได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย และเราสามารถนำหลักการเหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและงานออกแบบของเรา ถ้าเรามองเพอร์มาคัลเซอร์เป็นหนทางหนึ่งในการออกแบบและความเข้าใจระบบต่าง ๆ หนังสือเล่มนี้ช่วยให้เราคิดในมุมมองของเพอร์มาคัลเซอร์
หนังสือเล่มนี้จะมีหลักการออกแบบเพอร์มาคัลเซอร์ทั้ง 12 หลักการโดยแยกเป็นแต่ละบทดังนี้ 1.สังเกตและสัมพันธ์ 2.เกี่ยวและเก็บพลังงาน 3.รับผลผลิต 4.ใช้การควบคุมตัวเองและยอมรับผลสะท้อนกลับ 5.ใช้และเห็นคุณค่าของทรัพยากรหมุนเวียนและบริการทางระบบนิเวศ 6.ไม่ผลิตของเสีย 7.ออกแบบจากลูกสงค์สู่รายละเอียด 8.ผสมผสานแทนที่การแยก 9.ใช้วิธีการแก้ปัญหาที่เล็กและช้า 10. ใช้และเห็นคุณค่าของความหลากหลาย 11.ใช้และเห็นคุณค่าของขอบเขต 12.ใช้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่สร้างสรรค์ ในแต่ละบททำให้เราเข้าใจถึงหลักการและนำไปใช้ในสถานการต่างๆ กัน เช่นหลักการข้อ 11 ใช้และมองเห็นคุณค่าของขอบเขต ตอนแรกผู้เขียนพูดถึงขอบเขตธรรมชาติเช่นพื้นที่ชายทะเล พื้นที่เปลี่ยนผ่านระบบนิเวศและหน้าดิน (ซึ่งเป็นขอบเขตระหว่างดินกับอากาศ) ทั้งหมดนี้จะมีทรัพยากรที่หลากหลายกว่า และมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าพื้นที่ห่างจากขอบเขต นอกจากนี้ยังนำหลักการนี้มองกว้างออกไปในสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เช่นพื้นที่ขอบเขตในเมืองใหญ่บ่อยครั้งเป็นศูนย์กลางความสร้างสรรค์และการพัฒนา เป็นพื้นที่ที่ไม่แพงสามารถนำเอาความคิดใหม่ ๆ ลงไปทดลองใช้ได้ เมืองไหนที่ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้วจะสูญเสียขอบเขตความสร้างสรรค์นี้ ในหลักการบทที่ 7 ออกแบบจาก patterns ไปสู่ details ผู้เขียนพูดถึงแนวคิดการขยายขนาดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการทำสวน สมมุติว่าคนคนหนึ่งเริ่มทำสวนครัวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้เศษของเหลือใช้มาทำปุ๋ยหมักและใช้แรงงานของตัวเอง อีกไม่นานเขาอาจจะมีผลผลิตพอกินสำหรับในบ้านและมีส่วนเหลือที่สามารถนำไปขายได้ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ชาวสวนเพิ่มการผลิตโดยการขยายพื้นที่และกลายเป็นเกษตรกรรายย่อยเต็มเวลา การปรับเปลี่ยนนี้เขาจะต้องลงทุนและเปลี่ยนวิธีการผลิต หลังจากผ่านอุปสรรค์ที่ท้าทายบางอย่างแล้วเขาก็จะพบกับการผลิตที่มีประสิทธิภาพที่สูงขี้นไปอีก แต่ถ้าในอนาคตเขาอยากจะขยายอีกจะต้องปรับตัวอีกครั้งโดยน่าจะจำเป็นจะต้องใช้แรงงานจ้างและเครื่องทุ่นแรงในฟาร์ม ตัวอย่างนี้จะแสดงให้เห็นภาพที่ระบบต้องเหมาะสมกับขนาดซึ่งจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การปรับขนาดส่วนใหญ่ก็ต้องปรับระบบด้วยเพื่อความเหมาะสม บางขนาดอาจเป็นเกิดอุปสรรคมากและไม่เหมาะกับระบบใดเลย
หนังสือเล่มนี้ครอบคลุมถึงหลักการทั้ง 12 หลักการโดยแต่ละหลักการมีภาพและตัวอย่างประกอบ อีกเรื่องหนึ่งที่จะมีการพูดถึงตลอดเล่มนี้คือความจำเป็นที่จะต้องเตรียมตัวสำหรับสถานการณ์ที่มีพลังงานน้อย ตามแนวคิด peak oil ซึ่ง 300 ปีที่แล้วโลกก็อยู่ในสถานการณ์พลังงานน้อยมีการใช้พลังงานยั่งยืนเกือบทั้งหมด ต่อมามีการค้นพบเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ การปฏิวัติอุตสาหกรรมและการปฏิวัติอื่น ๆ การปฏิวัติเหล่านี้และสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เกือบทั้งหมดในปัจจุบันอาศัยพลังงานเหมืองแร่ที่สะสมในหลายล้านปี ปัจจุบันอุปทานของพลังงานเหมืองแร่นี้กำลังลดลงขณะที่จำนวนประชากรของโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ชัดเจนว่ามนุษย์จะต้องอาศัยอยู่ด้วยพลังงานฟอสซิลต่อคนที่น้อยลงเรื่อย ๆ ดังนั้นทั้งโลกจำเป็นจะต้องกลับมาสู่การพึ่งตัวเองโดยอาศัยพลังงานที่ยั่งยืนเป็นหลัก การปรับตัวสู่เศรษฐกิจที่ใช้พลังงานน้อยก็เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ แม้ว่าผู้เขียนแสดงภาพให้เห็นว่าหลักการออกแบบเพอร์มาคัลเซอร์สามารถเป็นเครื่องมือที่ดีในการปรับตัวถ้าเราเริ่มปรับตัวเร็วขณะที่ยังมีพลังงานฟอสซิลอยู่บ้าง เราสามารถใช้พลังงานฟอสซิลเพื่อพัฒนาอุปทานของพลังงานที่ยั่งยืนในระยะยาว และอาจเข้าถึงที่หมายได้อย่างนิ่มนวล
หนังสือเล่มนี้ให้ความกระจ่างค่อนข้างมาก แต่อาจจะยากสำหรับคนที่ไม่รู้จักแนวคิดนี้เลย ถ้าท่านจะหาหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับเพอร์มาคัลเซอร์มาอ่าน ผมขอแนะนำเล่มอื่นเช่น Permaculture One สำหรับคนที่ได้รู้จักเพอร์มาคัลเซอร์มาบ้างแล้วและต้องการเนื้อหาที่ลึกกว่า และต้องการเห็นการนำหลักการออกแบบเพอร์มาคัลเซอร์ไปใช้เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในแนวทางชีวิตต่าง ๆ หนังสือเล่มนี้ก็เป็นทางเลือกที่ดี
1 ความคิดเห็น:
หนังสือ มีขายที่ไหนครับ หรือใ่ามีให้ยืมที่ห้องสมุดไหนครับ ผมอยากอ่านมากครับ
kkofarm@gmail.com กรุณาแนะนำด้วยนะครับ
แสดงความคิดเห็น