วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เกียรประวัติแพทย์ไทยฝากไว้ให้คนรุ่นหลัง ชีวิตและงานของศาสตราจารย์แพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว

ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2 กันยายน 2549

จัดพิมพ์โดย : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

ISBN : 974-260-087-2 จำนวนหน้า : 233

สรุปวิจารณ์โดย : นิษฐา เพ้ยจันทึก

เมื่อ : 10 ธันวาคม 2552

เกียรประวัติแพทย์ไทยฝากไว้ให้คนรุ่นหลัง ชีวิตและงานของศาสตราจารย์แพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออันทรงคุณค่าที่เราเยาวชนรุ่นหลังผู้ที่ได้รับบริการด้านสาธารณะสุขของไทยในปัจจุบันอย่างสะดวก สบาย ปลอดภัย เข้าถึงทุกท้องถิ่น ควรต้องอ่านและรู้เรื่องราวด้านสาธารณะสุขของไทยจากหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมูลนิธิสาธารณะสุขแห่งชาติ ได้ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าในการจัดทำ เพื่อเป็นกระจกสท้อนภาพวิวัฒนาการทางการแพทย์และสาธารณะสุขของไทยในช่วงค่อนศตวรรษที่ผ่านมา โดยองค์การอนามัยโลกได้สนับสนุนเงินทุนเพื่อจัดพิมพ์ และความร่วมมือจากบุคคลต่างๆมากมาย ซึ่งแนวทางในการจัดทำหนังสือเล่มนี้ได้เรียบเรียงชีวประวัติของท่านจากเริ่มต้น(เยาว์วัย) ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ของชีวิต จนสู่วัยชรา ซึ่งเรียบเรียงเนื้อหาและภาพภาพไว้อย่างน่าสนใจ

ศาสตราจารย์แพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นปูชนียบุคคลรุ่นเก่าแก่ผู้หนึ่งในวงการแพทย์สาธารณะสุขไทย ผู้มีชีวิตและมีบทบาทร่วมสมัยกับชนรุ่นหลัง ท่านเป็นคน 4 แผ่นดิน คือเกิดเมื่อขึ้นปีแรกในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านเป็นแพทย์ตัวอย่างท่านหนึ่ง ผู้มีเกียรประวัติสูงเด่น นับตั้งแต่ก้าวแรกที่จบจากโรงเรียนแพทย์ออกไปเป็นแพทย์ฝึกหัด และภายหลังได้เป็นแพทย์ผู้ปกครองที่ทำงานลักษณะบุกเบิกอย่างอุทิศตัวในถิ่นทุรกันดาร เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 16 ปี และเมื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้หริหารโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ โดยมีตำแหน่งราชการเที่ยบเท่าผู้อำนวยการกองสังกัดกรมการแพทย์ ท่านผู้นี้ก็มีบทบาทสำคัญร่วมกับอธิบดีกรมการแพทย์ในการผลักดันให้มีการก่อตั้งโรงพยาบาลประจำจังหวัดครบทุกจังหวัด ตามนโยบายกระจายบริการสาธารณะสุขสู่ภูมิภาคของกระทรวงสาธารณะสุข ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ระหว่างปี พ.ศ. 2495-พ.ศ. 2500 นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการก่อตั้งและดำเนินงานของโรงพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย รวมทั้งวิทยาลัยพยาบาลและโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ และช่วงที่สำคัญที่สุดก็ได้แก่ ช่วงที่ท่านได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารระดับสูงของกระทรวง กล่าวคือ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองของประเทศหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และในที่สุดดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณศูลานนท์ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวท่านได้เป็นผู้นำในการตัดสินใจและเปลี่ยแปลงครั้งสำคัญ เริ่มต้นด้วยจากการปรับปรุงส่วนราชการ และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารภายในกระทรวงสาธารณสุข และท่านเป็นประธานในการเขียนแผนพัฒนาสาธารณะสุขและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 หลักการสำคัญซึ่งริเริ่มขึ้นในแผนพัฒนาสาธารณสุขแห่งชาติฉบับที่ 4 คือ การให้บริการสาธารณะสุขแบบผสมผสาน มีการฟื้นฟูการใช้สมุนไพรและยาแผนโบราณอย่างจริงจัง เพื่อเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแก่การดำเนินงานการสาธารณะสุขมูลฐาน และการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในรูปอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้สื่อข่าวสาธารณะสุข (ผสส.) ต่อมาแผนแม่บทฉบับนี้ได้กลายเป็นแม่บทของแผนฯ ฉบับที่ 5 และแผน ฉบับที่ 6 ซึ่งขยายไปสู่การนำความคิดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) มาเป็นเป้าหมายโดยใช้เป็นเครื่องมือในการชี้วัดคุณภาพชีวิต รวมทั้งพัฒนารูปแบบ “ลักษณะสังคมไทยและบุคคลที่พึงประสงค์”


ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณธสุขท่านได้สร้างโครงสร้างการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง โดยกระจายบริการจากจังหวัดสู่อำเภอ ด้วยการกำหนดนโยบายและโครงการอย่างชัดเจนเพื่อสร้างโรงพยาบาลชุมชนตามเป้าหมายครบถ้วนทุกอำเภอและสร้างสถานีอนามัยให้ครบทุกตำบล ที่สำคัญคือนโยบายสนับสนุนบุคลากรสาธารณสุขเป็นผู้นำทางการดูแลรักษาพยาบาล และการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างปรากฏได้ชัดเจนในยุคของท่านเป็นผู้บริหาร และความสำเร็จอีกประการหนึ่งที่น่าภาคภูมิใจในวงการสาธารณสุขของประเทศไทย คือ ในยุคของท่านประเทศไทยเป็นประเทศแรกและเป็นประเทศเดียวในโลกที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้มีอิสระในการบริหารงบประมาณที่ได้รับ โดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติของสำนักงานองค์การอนามัยโลกส่วนภูมิภาค และในยุคของท่านอีกเช่นกันที่ได้รับนโยบาบขององค์การอนามัยโลกในด้านการกำหนดบัญชียาหลักแห่งชาติ (Essential Drug List) อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถประหยัดงบประมารค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อยาลงได้เป็นจำนวนมาก

จากภาพโดยสังเขปจากข้างต้น ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอันเป็นคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อวงการสาธารณสุขของไทยตราบจนทุกวันนี้ เราในฐานะผู้ใช้บริการสาธาณสุขและอยู่ร่วมกันในสังคมสามารถที่จะนำแนวทางชีวิตและผลงานของท่านเป็นกรณีศึกษา ประยุกต์ใช้ในชีวิตของเราได้ ไม่ใช่เฉพาะวงการแพทย์สาธารณสุขแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับบุคคลเป็นอันมากที่ท่านทำงานต่อสู้เปลี่ยนแปลงสังคมภายในระบบด้วยสติปัญญาสามารถ โดยไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมใดๆ ซึ่งเราเห็นตัวอย่างได้อย่างชัแจนจากที่กล่าวมา เช่น ท่านไม่เคยที่จะกลัวความลำบาก (เป็นแพทย์ฝึกหัด ทำงานตามชนบทกว่า 16 ปี) ท่านต่อสู้และเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขประชาชนทุกคนในท้องถิ่นทุรกันดารอย่างแท้จริง เมื่อท่านได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดมีอำนาจ มีหน้าที่ท่านไม่เคยคิดที่จะกอบโกยผลประโยชน์ให้กับตนเองแต่ท่านกลับพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทั้งสังคม ระดับประเทศให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามที่ท่านได้มีโอกาส โดยนำเอาประสบการณ์จากอดีตสู่การพัฒนาทั้งระบบอย่างยั่งยืน รวมทั้งท่านไม่เคยลืมของเก่า (สมุนไพรไทย) และไม่มัวเมากับของใหม่ (แพทย์แผนปัจจุบันอย่างตะวันตก) แต่ท่านนำมาประยุกต์และรักษาไว้อย่างสมดุลต่อไป นอกจากนี้เราเห็นภาพอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ ณ ที่ใด เราสามารถที่จะสร้างคุณค่า ประโยชน์กับประเทศชาติ สังคม และชุมชนที่เราอยู่ได้เสมอ ไม่กลัวต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น แต่พัฒนาอย่างเป็นระบบ อย่างเป็นขั้น เป็นตอน ตามที่เรามีกำลังความสามารถ และให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมรับผิดชอบในสังคมร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น: