เลิงนกทา จ.ยโสธร
เป็นหนังสือ สรุปรายงานวิจัยสถานะความมั่นคงทางด้านอาหารประชากร 19 หมู่บ้านในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อสำรวจความมั่นคงทางด้านอาหารของชาวบ้านในชนบทของไทย โครงการวิจัยนี้เกิดจากการตระหนักถึงปัญหาความไม่มั่นคงทางด้านอาหารที่ถูกคุกคามจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจข้ามชาติ ที่เข้ามาควบคุมการแปรรูป การส่งออก การนำเข้า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคผ่านสื่อโฆษณา และรุกหนักถึงการแย่งพื้นที่การผลิตของชาวบ้าน
เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเพื่อปฏิรูปการเกษตรแห่งเอเชีย ได้ประสานงานกับชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพื่อนทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานให้ NGO ในส่วนต่าง ๆ ของไทยทำงานวิจัยชื้นนี้ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2541 – 2543 ใช้ระเบียบวิจัย 2 แบบ คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ
ทั้งนี้ประเด็นคำถาม อิงนิยามความมั่นคงทางด้านอาหารขององค์กรอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ดังนี้
1. การมีอาหารถึงพร้อม
2. การมีอาหารสะสมเผื่อยามขาดแคลน
3. การเข้าถึงอาหารทั้งในรูปการผลิตเอง การเก็บหาตามธรรมชาติ และการซื้อ
4. คุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารเหลือเฟือจนส่งออกนำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล แต่กลับพบว่า ยังคงมีปัญหาประชาชนขาดแคลนอาหารและอยู่ในภาวะอดอยาก ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่เท่าเทียมกันของระบบกระจายอาหาร การเป็นเจ้าของที่ดินถูกแย่งชิง
บทสรุปของงานวิจัยพบว่า
ที่ดิน เป็นตัวชี้วัดอันดับหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร เนื่องจาก ที่ดินคือแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญที่สุด การศึกษาวิจัยพบว่า ชาวบ้านไม่มีที่ดิน หรือมีไม่เพียงพออยู่ในสภาพต้องเช่าคนอื่น ปี 2542 พบว่าประชากร 90% ถือครองที่ดินขนาดเล็กกว่า 1 ไร่ ประชากร 10% ถือครองที่ดินแปลงใหญ่กว่า 100 ไร่ การสูญเสียที่ดินของเกษตรกรมาจากการทำเกษตรเชิงพาณิชย์ ซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารและความมั่นคงในอาชีพของเกษตรกรในปัจจุบัน
นอกจากที่ดินแล้ว ปัจจัยอื่น ๆ ที่จะสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ชาวบ้าน เช่น เมล็ดพันธุ์ แรงงาน ปัจจัยการผลิต สภาพดินฟ้าอากาศ แหล่งน้ำ ฯลฯ ก็ยังเป็นตัวแปรสำคัญ เช่นกัน
อ่านแล้วใจหาย ที่ยังไม่มีหน่วยงานใดให้ความสำคัญกับปัญหานี้อย่างจริงจัง
อ่านแล้วใจหาย จนต้องรีบกลับมาสำรวจตัวเองว่า มีความมั่นคงทางด้านอาหารหรือยัง ???
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น