วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

โลกร้อน-We are the weather maker

หนังสือ โลกร้อน : เมื่อมนุษย์ทำให้สภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง

เขียนโดย: Tim Flannery แปลโดย : วิฑูรย์ ปัญญากุล 2551

review by: ภัทราวดี ภูมิภักดิ์


หนังสือเล่มนี้ จริงๆ แล้วยังไม่ได้ตีพิมพ์ฉบับที่เป็นภาษาไทยเลย เพราะตอนได้มาอ่าน มาแบบเป็นเอกสาร Copied

เข้าเรื่องเลยละกัน

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือเชิงวิทยาศาสตร์แบบเล่าเรื่อง จึงทำให้เวลาอ่านแล้่วไม่น่าเบื่อ ยิ่งคนสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและโลกร้อนมาอ่านก็คิดว่า ยิ่งจะชอบ เพราะอ่านง่าย (คนแปล แปลดี อะนะ) เนื้อหาก็ตามชื่อเรื่อง เพราะบอกที่มาที่ไป ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมันมาจากหลายสาเหตุ และก็มีหลักฐานยืนยัน หรือชี้ชัด ถึงข้อเท็จจริงหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า "มนุษย์" เรานั้น มีอิทธิพลเพียงใด ที่สามารถทำให้โลกร้อน และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนกระทั่ง ระบบนิเวศต้องสั่นสะเทือน ไม่ว่าจะเป็นการสูญพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก ทิมได้พูดและเอาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาบอกกล่าวเอาไว้ อย่างน่าสนใจ

สิ่งที่ เราคนอ่าน สนใจมากที่สุด คือ ข้อมูลที่คิดว่ามันจะทำให้เกิด impact ได้ หากมีคนจำนวนมากได้เข้ามารับรู้ ถึง 3 จุด พลิกผัน

3 จุด พลิกผันที่ว่านี้จะมีผลอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่ง ก็คือ

1. การหยุดไหล หรือ ไหลช้าลงของกระแสน้ำในมหาสมุทรที่เรียกกันว่า กัลฟ์สตรีม
2. การล่มสลายของป่าฝนเขตร้อน อะเมซอน
3. การพวยพุ่งของก๊าซมีเทน จากพื้น มหาสมุทร

มีใครเคยได้ยินกันมาก่อนไหม กับ 3 จุดพลิกผันนี้ คนอ่าน เอง ก็เพิ่งจะได้รู้ ก็ตอนอ่านหนังสือเล่มนี้ นี่เอง

จากรายงานของเพนตากอน (เข้าใจว่าเป็นหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐ ถ้าใครเคยดูหนังฮอลลีวูด จะรู้จักดี) ระบุว่า ในปี 2551 เมื่อกระแสน้ำกัลฟ์สตรีมชะลอตัวลงจะเกิดภาวะแห้งแล้งในพื้นที่ ที่ทำการเกษตรทั่วทั้งโลก
และอุณหภูมิเฉลี่ยจะขยับตัวสูงขึ้นมากกว่า 3 องศาเซลเซียส ในทวีปยุโรป แต่ในอเมริกาเหนือ อุณหภูมิจะสูงขึ้นไม่ถึง 3 องศาเซลเซียส ส่วน ออสเตรเลีย อเมริกาใต้และด้านล่างของทวีปแอฟริกาจะร้อนขึ้นราว 2 องศาเซลเซียส

มีนักวิทยาศาสตร์ อีกจำนวนหนึ่งที่พยายามศึกษาถึงผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ในกรณีที่กระแสน้ำกัลฟ์สตรีมหยุดไหล ซึ่ง หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น จะทำให้ไม่มีออกซิเจนไปเติมใ้ห้กับน้ำทะเลลึกด้านล่าง ประสิทธิภาพการผลิตทางชีวิวิทยา (productivity) ของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ก็น่าจะลดได้มากถึง 50% และ ประสิทธิภาพการผลิตทางชีววิทยาของมหาสมุทรอื่นๆ ทั่วโลกก็คงจะลดลง 20% ซึ่งผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ประเมินแบบสถานการณ์เลวร้ายสุดขั้ว) ก็คือ ทำให้หลายประเทศประสบกับปัญหาความอด อยาก หิวโหย และมีการอพยพย้ายถิ่นของประชาชนจำนวนมาก ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สแกนดิเนเวีย บังคลาเทศ และเขตแคริบเบียน จะประสบปัญหาภัยแล้ง รุนแรง จนไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอที่จะเลี้ยงประชากรได้

การเมืองโลกก็จะเกิดความวุ่นวาย สับสน หาก แย่สุดๆ จะเกิดพันธมิตรใหม่ทางการเมืองเพื่อจัดการแบ่งสรรทรัพยากรธรรมชาติและมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดสงครามระหว่างประเทศขึ้น (ตามตะเข็บชายแดนของแต่ละประเทศ) .... ฟังดูน่ากลัว

ถามว่าจริงเหรอ มันจะเกิดขึ้นจริงเหรอ มันก็ฟันธงไม่ได้หรอก เพราะมันเป็นการคาดการณ์ ซึ่งประเด็นนี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ของนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ฝั่งหนึ่งก็เป็นกังวลมาก อีกฝั่งก็บอกว่ามีโอกาสเกิดเีพียง 5% .... อะไรๆ ก็ไม่แน่หรอกนะ โลกมันไม่เที่ยง

แต่ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่า คือ .....

การล่มสลายของป่าฝน อะเมซอน .... เพราะว่า แบบจำลองคอมพิวเตอร์ของศูนย์ฮาดเลย์ อังกฤษ ได้ใช้ แบบจำลองชื่อ TRIFFID ก็ไม่รู้จักเหมือนกัน แต่เขาบอกว่า เป็นแบบจำลอง ที่ใช้วิเคราะห์ ปฏิกิริยา ระหว่างพืชและภูมิอากาศ ผลการวิเคราะห์ ระบุว่า

... เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเข้มข้นขึ้น ต้นพืชโดยเฉพาะต้นไม้ในป่าอะเมซอน จะมีพฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป .....

ซึ่งปกติ ต้นไม้ในป่าอะเมซอนทุกวันนี้ สามารถสร้างฝนได้ด้วยตัวเอง จนเป็นวัฎจักรการหมุนเวียนของน้ำในป่าอะเมซอนของตัวเอง แต่เมื่อ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น จะทำให้การคายน้ำของพืชลดลง สิ่งที่ตามมา คือ จะทำให้ฝนลดลงตามไปด้วย แบบจำลองประเมินว่า ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2643 ในบรรยากาศจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น จนทำให้ปริมาณฝนในป่าอะเมซอนลดลงอย่างมาก โดย 20% ของฝนที่ลดลง มีสาเหตุมาจากการคายน้ำลดลง ส่วนที่เหลือมีสาเหตุมาจากภัยแล้งอันเกิดจาก การที่ โลกร้อน ขึ้น

แล้วการลดลงของฝน มาผนวก กับอากาศที่ร้อนขึ้น ถึง 5.5 องศาเซลเซียส จะทำให้ป่าอะเมซอน ล่มสลาย ... อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

รายงานยังระบุว่า เพียงแค่อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย ก็จะทำให้ผืนดินที่เคยเก็บกักก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์เปลี่ยนสภาพจากผู้กักเก็บก๊าซ กลาย เป็นผู้ปลดปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ แทนซะเอง..... ความแปรปรวนปั่นป่วนคงตามมาอีกเยอะเลยถ้าเป็นแบบนี้

แบบจำลองการพยากรณ์คาดการณ์ว่าจะเกิดวิกฤต รุนแรง ในลุ่มน้ำอะเมซอน อุณหภูมิโดยรวมเพิ่มขึ้นถึง 10 องศาเซลเซียส (โอ้วว แม่เจ้า ตายแน่ ใครจะทนได้) ไม้ยืนต้นจะตายไปหมด และจะมีแต่ต้นหญ้า หรือไม้พุ่มขึ้นมาแทน หรือกรณีที่ดีหน่อย อาจเป็นทุ่งหญ้า สะวันนา ที่มีต้นไม้ใหญ่เหลือเพียงไม่กี่ต้น พื้นที่ส่วนใหญ่ คงจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้งจนต้นพืชไม่อาจจะอยู่รอดได้ ทำให้กลายสภาพเป็นทะเลทรายไปในที่สุด.............และถ้าแบบจำลองมีความแม่นยำถูกต้อง เราจะเริ่มเห็นการล่มสลายของป่าฝนอะเมซอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2583 หรือ อีก 30 ปีข้างหน้า เป็นต้นไป

สำหรับจุดพลิกผัน จุดสุดท้าย คือ ก๊าซมีเทนจากใต้ท้องทะเลจะถูกปล่อยออกมา......

ถามว่า จะปล่อยออกมาได้อย่างไร

โดยธรรมชาติ ก๊าซมีเทนจำนวนมากที่อยู่ใต้ท้องทะเล จะถูกแรงอัดและความเย็นของน้ำทะเล ทำให้มันกลายสภาพเป็นของแข็ง เรียกว่า "แคลธเร็ท (Clathrate)" ซึ่ง แคลธเร็ท นี้จะมีอยู่ค่อนข้างมาก บริเวณมหาสมุทรอาร์คติก ซึ่งเป็นบริเวณทีน้ำทะเลเย็นจัดมากๆ จึงทำให้ แคลธเร็ทอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างเสถียร

แต่ถ้าแรงกดเกิดลดลงหรืออุณหภูมิของน้ำทะเลลึกหรือที่มหาสมุทรอาร์คติกเกิดสูงขึ้น ก๊าซมีเทนจำนวนมหาศาลที่มีอยู่มากกว่า ก๊าซธรรมชาิติเป็น ร้อยเท่า อาจจะถูกปล่อยออกมา นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาพืชและสัตว์ดึกดำบรรพ์ เริ่มปักใจเชื่อว่า การหลุดออกมาของแคลธเร็ท จากใต้ท้องทะเลเมื่อ 245 ล้านปีก่อน นั้น น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์โบราณจำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น มีสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไป 90%

เป็นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของโลก ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกแรกๆ สูญพันธุ์ไปหมด
จนทำให้สัตว์เลื้อยคลานพวกไดโนเสาร์ขยายพันธุ์จนครองโลกมายุคหนึ่ง เลยทีเดียว.....WOW!!

เหตุการณ์ต่างๆ มันเชื่อมโยงกัน และ มันหนุนเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารได้ เพราะ "โลกร้อน"

พอได้มารับรู้แล้ว รู้สึกทึ่ง อึ้งและ หวาดเสียว เล็กน้อยถึงปานกลาง ......... เพราะคิดว่าตัวเองอยู่ประเทศไทย (คิดเข้าข้างตัวเองว่าคงไม่มีอะไรใหญ่โต เพราะไม่ได้อยู่ บราซิล ติดอะเมซอนหรือ อเมริกาใต้ หรือ แอฟริกา นี่นา)

แต่ความเป็นจริงที่เราต้องยอมรับคือ เราคือ ผู้สร้างและผู้ทรงอิทธิพลที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เพราะเราคือ มนุษย์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้น แน่นอน มันย่อมกระทบแบบลูกโซ่ ส่งผลระยะยาวกันเป็นทอดๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราไม่เจอวันนี้ แต่ลูกหลานเราอาจต้องเจอ ภายใน 30 ปี นี้ บางคนก็ยังมีชีิวิตอยู่บนโลกสีน้ำเงินใบนี้ ก็คงต้องเจอเช่นเดียวกัน

ทำใจ ทำดี และ เริ่มพยายามปรับตัว เตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกันได้แล้ว.....

ปีัไหนโลกจะแตกไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่า เราจะมีชีิวิตอยู่บนโลกใบนี้ ด้วยความไม่ยากลำบากจนเกินไปนั้น
เราควรต้องเตรียมตัว เตรียมใจ อะไรบ้าง ต่างหาก....

โชคดีทุกๆ คน....(ทำเสียงขอพรจาก...เอวา)

ไม่มีความคิดเห็น: