และ อนุพงศ์ เขม้นกิจ
เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่น่าอ่านมาก เป็นมุมมองในแง่วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสตร์ได้อย่างชัดเจน ถึงจะไม่ทั้งหมดแต่ก็ช่วยให้เราสามารถสร้างจินตนาการที่อิงหลักการของวิทยาศาสตร์อย่างเป็นเหตุเป็นผล
(1.) ทำไมต้อง “ไอน์สไตน์”
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เป็นสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นอันดับหนึ่งตลอดการของโลก นับตั้งแต่สองพันปีที่ผ่านมา ไอน์สไตน์มีแนวคิดและการค้นพบที่ลึกล้ำ และซับซ้อนเป็นอย่างมาก ทฤษฏีต่างๆ ของไอน์สไตน์เกี่ยวกับสสารและเวลา สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ซึ่งล้มล้างทฤษฏีและความเชื่อเก่าๆ ลงโดยสิ้งเชิง ซึ่งมนุษย์บนโลกนี้ถือว่าเป็นหนี้บุญคุณของนักวิทยาศาสตร์สองคนนี้ ทิศทางการพัฒนาของโลกจะเปลี่ยนไปมหาศาล ถ้าไม่มีกฎของนิวตัน โลกอาจไม่มีตึกสูงๆ สะพานแขวน ไม่มีดาวเทียม ไม่มีเครื่องบิน จนไปถึงไม่มีเครื่องจักรกล ไม่มีรถ เครื่องซังผ้า เครื่องปั่นน้ำผลไม้ ฯลฯ หรือแม้แต่เครื่องเล่นเกือบทุกชนิดในสวนสนุก เพราะทั้งหมดนี้ ล้วนแต่มีพื้นฐานพัฒนามาจากกฏของนิวตันทั้งหมด
(2.) จักรวาลกับพุทธศาสนา
จักรวาลในความหมายของนักวิทยาศาสตร์สมัยโคเพอร์นิคัสมีความหมายแคบๆ อย่างเพียงว่าดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง และมีดวงดาวต่างๆ หมุนอยู่รอบๆ ยังไม่คิดไปไกลถึงดาราจักร บิ๊กแบงหรือหลุมดำซึ่งอยู่เหนือการหยั่งรู้ของมนุษย์สมัยนั้น และย้อนเวลาไปก่อนสมัยที่โคเพอร์นิคัสจะเกิดเมื่อสองพันปี พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวบางสิ่งบางอย่างที่ยากเกินความเข้าใจของมนุษย์สมันนั้นว่าเอกภพมีการเกิดและดับเป็นวัฏฏะเท่ากับในช่วงเวลาของ 1 มหากัปและในจักรวาลมีดาวที่ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์มากมายมหาศาล และจักรวาลไม่ได้มีจักรวาลเดียว ยังมีจักรวาลอื่นนอกจักรวาลเราอีกมากมาย ภายหลังที่อับเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้ศึกษาพุทธศาสนา เขาได้ยอมรับว่า ความยิ่งใหญ่ลึกซึ้งที่มนุษย์จะสัมผัสได้ก็คือความเร้นลับของจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะร้อยประสานความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์แท้จริงทั้งหมด การสัมผัสรับรู้ความจริงแท้ของจักรวาลทางศาสนาจึงเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุดของการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์
(3.) ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
การค้นพบที่สำคัญที่สุด ซึ่งทำให้อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เหมือนพระเจ้าในความรู้สึกของหลายคนในโลกนี้ก็คือการค้นพบทฤษฏีสัมพัทธภาพซึ่งเกี่ยวกับแสง และแสงทำให้เกิดการวัดเวลา จากทฤษฏีสัมพัทธภาพกล่าวว่าเวลาไม่มีอยู่จริง และเวลาของคนแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าเขาอยู่ตรงจุดใด และเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วเท่าใด เวลาเป็นสิ่งที่ยืดหดได้เหมือนยางยืด และทฤษฏีสัมพัทธภาพสามารถนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ของจักรวาลได้อย่างถูกต้อง แต่จุดอ่อนจุดหนีงของทฤษฏีสัมพัทธภาพ ก็คือ เมื่อนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในระดับอะตอมกลับใช้ไม่ได้ และทฤษฏีที่ใช้ได้ดีกว่าคือ ทฤษฏีควอนตัม
(4.) ความว่างภายในอะตอม
ถ้าปรากฏการณ์ยืดหดของเวลามาเกิดขึ้นบนพื้นโลก มนุษย์จะมองว่าเป็นอภินิหารเหมือนกับเรื่องขององคุลีมาลที่วิ่งไล่เพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้าเขาวิ่งด้วยความเร็วเต็มที่แต่ก็ไล่ตามพระพุทธเจ้าไม่ทันสักทีจึงได้ตะโกนบอกให้หยุด พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าเราหยุดแล้ว ท่านตากหากที่ยังไม่หยุด ซึ่งหมายถึงหยุดทำบาป แต่น่าแปลกใจว่าความเข้าใจเพียงแค่นั้นหรือที่ทำให้องคุลีมาลสามารถตัดกรรมทั้งหมด แล้วบรรลุธรรมได้ฉับพลัน น่าจะมีสิ่งที่ลึกซึ้งกว่านั้นก็คือปาฏิหารย์ เรื่องการหยุดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงให้องคุลีมาลประจักษ์นั้นเอง ถ้าหากเราต้องการสิ่งเทียบเคียงกับปัญหาในทฤษฏีอะตอมเราต้องหันมาสนใจกับปัญหาทางด้านญาณวิทยา ซึ่งนักคิดเช่นพระพุทธเจ้า (พุทธ) และเหลาจื่อ (เต๋า) ได้เผชิญมาแล้ว การค้นพบอะตอมและอิเล็กตรอนสร้างความสั่นสะเทือนให้วงการวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการทำลายความเชื่อที่มีมานานถึงสองพันกว่าปีที่ว่าอะตอมเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสะสารในสมัยนิวตัน กฎของนิวตัสแสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกและจักรวาลเคลื่อนไหวไปอย่างเป็นระบบของจักรกล (mechanism) โลกและจักรวาลประกอบไปด้วยสสาร สสารทุกชนิดเป็นรูปธรรมและสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งใดที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยประสาทสัมผัสสิ่งนั้นไม่มีจริง ทฤษฏีของนิวตันปฎิเสทนามธรรมโดยสิ้นเชิง โลกแห่งนามธรรมเป็นเพียงความฟุ้งซานและความฝันของมนุษย์เท่านั้น มันไม่มีอยู่จริงโลกเชื่อเช่นนั้นมาหลายร้อยปีจนกระทั่งอัลเบิร์ตไอน์สไตน์ได้ค้นพบความสัมผัสระหว่างมวลสารกับพลังงานทำให้รู้ว่าอะตอมที่เราเห็นนั้นสามารถเปลี่ยนสภาพไปเป็นพลังงานได้ ไอน์สไตน์เชื่อเหมือนกับครั้งที่นิวตัสเคยเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของจักรวาลนี้สามารถคาดหมายได้อย่างถูกต้องจากการคำนวนทางวิทยาศาสตร์
(5.) พุทธกับวิทยาศาสตร์
ไอน์สไตน์ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา ได้อ่านกาลามสูตร แล้วแปลกใจว่ามีศาสนาแบบสอนไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ อยู่ด้วย ไอน์สไตน์ประทับใจมากจึงเขียนเป็นบทความเพื่อให้ชาวโลกรับรู้ ศาสนาพุทธมีคุณลักษณะอย่างที่เราคาดหวังจะให้เป็นศาสนาแห่งจักรวาล ศาสนาพุทธไม่ยึดติดกับพระเจ้า ไม่ส่งเสริมความเชื่องมงาย ไม่เกี่ยวข้องกับเทววิทยา ศาสนาพุทธเกี่ยวพันกับทั้งธรรมชาติและจิตวิญญาณ เป็นศาสนาที่มีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์ของสรรพสิ่งทั้งธรรมชาติและจิตวิญญาณ หลังจากเราเริ่มเห็นทิศทางของวิทยาศาสตร์กับศาสนาแยกออกจากกัน ยากที่จะมาบรรจบ อัลเบิร์ตไอน์สไตน์เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ดึงทิศทางการพัฒนาของวิทยาศาสตร์ที่เริ่มผิดทิศให้กลับมาสู่ทางที่ควรเป็นและแล้ววิทยาศาสตร์กับศาสนาก็เริ่มมีโอกาสที่จะมาบรรจบกันอีกครั้งหนึ่ง แม้โอกาสนั้นจะน้อยมากก็ตาม ศาสนาที่เน้นในพระเจ้าจะบอกอยู่ตลอดเวลาว่า ความสุขของมนุษย์คือการได้รับใช้พระเจ้า เชื่อในพระเจ้าและได้อยู่กับพระเจ้า แต่สิ่งหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยายามคิดอยู่ตลอดเวลาคือ การพยายามคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อสนองความสุขทางรูปธรรมของมนุษย์ โดยที่ไม่ต้องไปรบกวนพระเจ้า
(6.) ปัญญาญาณ
การตั้งสติจดจ่อกับปัญญาเพียงอย่างเดียวดังพลังที่ทำให้ไอน์สไตน์เหนือกว่าทุกคน เขาเองก็เคยพูดไว้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้ฉลาดอะไรมากมาย เพียงแต่ขบคิดปัญหานานกว่าเท่านั้น”แม้ว่าไอน์สไตน์จะไม่ได้นับถือพุทธศาสนา แต่สิ่งหนึ่งที่เขามีโดยไม่ต้องฝึกกรรมฐานเลยคือสมาธิ จิตอันเกิดจากกการมีสมาธิระดับสูงจะมีพลังสูงมากตามไปด้วยเชื่อว่าไอน์สไตน์เคยเข้าถึงญาณสมาธิโดยที่ไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นความบังเอิญจากพรสวรรค์หรืออาจจะเป็นบุญเก่าที่เคยสร้างสมมา ไอน์สไตน์สามารถแยกกายกับจิตได้ และนั้นทำให้เขาเข้าใจความจริงแท้ของจักรวาลได้หลายเรื่อง ไอน์สไตน์ยอมรับว่าทฤษฏีที่เขาคิดได้มาจากการหยั่งรู้ ซึ่งการหยั่งรู้เกิดจากปัญญาญาณ ไม้ได้เกิดจากการคิดเป็นเรื่องของสมอง แต่การหยั่งรู้เป็นปรากฏการณ์ที่พุดขึ้นมาผ่านช่องทางหรือสภาวะที่เรียกกันว่า “สมาธิ” การค้นพบที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว ขอเพียงแต่รวมจิตให้เป็นหนึ่งเดียวกับธาตุรู้ความจริงต่างๆ ก็จะพุดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ กฎและทฤษฏีที่ยิ่งใหญ่ของโลกทุกทฤษฏีเกิดขึ้นจากการหยั่งรู้
(7.) ความมหัศจรรย์ของจิต
“ จิต ” เป็นนามธรรม ไม่มีรูป ไม่มีร่าง มองไม่เห็นใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ตรวจสอบไม่ได้ เพราะมันไม่มีรูปร่าง-ตัวตน แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมีอยู่จริงในธรรมชาติ ความเป็นนามธรรมของจิตทำให้จิตมีลักษณะเป็นธาตุรู้ในเรื่องนามธรรม เช่น เจ็บปวด เวทนา ความโลภ ความโกรธ การจำได้ความเป็นนามธรรมของจิตทำให้มีคุณสมบัติเหนือกว่าโปตอนของแสงจิตสามารถเดินทางได้เร็วกว่าแสงเป็นล้านๆ เท่า ความเร็วของจิตสามารถผ่านทะลุจักรวาลหนึ่งไปอีกจักรวาลหนึ่งได้อย่างง่ายดาย เมื่อจิตดวงเก่าดับไป จิตดวงใหม่ที่ขึ้นมาแทนจะรับรู้สืบทอดคุณสมบัติของจิตดวงเดิมไว้ด้วย จิตของมนุษย์มีการเกิดดับที่เร็วมากจนประสาทสัมผัสรับรู้ไม่ทัน เลยดูว่าเป็นจิตดวงเดิม จิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลาคนเราตายแล้วก็เกิดทันที เพราะขั้นตอนการการดับของจุติจิตและขึ้นตอนการเกิดปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว ภพภูมิของการเกิดใหม่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่ามี 31 ประเภท คือ 1 มนุษย์ เทวดา 6 รูปธรรม 16 อรูปพรหม 4 และทุคติภูมิ 4 ตัวเลขเหล่านี้จะมีประโยชน์มากถ้าวิทยาศาสตร์นำมาวิเคราะห์ หญิงชายก็มีความแตกต่าง ธรรมชาติสร้างให้เพศหญิงมีระบบประสาทสัมผัสทั้งหกที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่าผู้ชายหลายเท่า ดังนั้นในช่วงเวลาก่อนเสียชีวิตถ้าไม่เคยฝึกจิตมาก่อนเพศหญิงจะเสียชีวิตยากกว่าเพศชาย ในทางวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฎฐาน 4 หนึ่งในสี่คือจิตตานุปัสสนาคือการเฝ้าดูจิตเป็นด่านที่สำคัญที่สุด การกำหนดให้รู้เท่าทันการเกิดดับของจิต เมื่อใดที่กำหนดคุมจิตได้ ก็ถือว่าสามารถควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างได้หมด
(8.) เกิด-ดับ
หัวใจสำคัญที่สุดของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน คือการกำหนดสติสัมปชัญญะให้รู้เท่าทันการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป อันที่จริงแล้วในชีวิตประจำวันของเราก็เผชิญกับการเกิดดับวันหนึ่งนับหมื่นนับแสนครั้ง ทั้งจากรูปธรรมหยาบๆ อย่างการตายของมนุษย์ การเสื่อมสภาพของวัตถุทั้งหลายหรือละเอียดขึ้นมาหน่อยอย่างรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แต่ไม่มีมนุษย์คนไหนสามารถค้นพบสัจธรรมความจริงจากปรากฏการณ์นี้ได้เลย พระพุทธองค์ทรงค้นพบผ่านปรากฏการณ์ เกิด-ดับ ในคืนวันตรัสรู้ ได้บอกวิธีปฏิบัติหนทางให้มนุษย์คนอื่นๆ ที่ปรารถนาจะเข้าถึงได้อย่างชัดเจน และทางสายเอกที่จะนำไปสู่การหยั่งรู้เข้าใจในสรรพสิ่งก็ด้วยวิธีทางแห่งสติปัฎฐาน 4 นั้นเอง อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คือผู้ที่เข้ามาอธิบายให้มนุษย์โลกเข้าใจถึงเรื่องการเกิด-ดับได้อย่างชัดเจนขึ้น จากทฤษฏีสัมพันธภาพ และทฤษฏีสสารพลังงานของเขาชี้ให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของเวลาและมวลสาร ทำให้สามารถประยุกต์มาใช้อธิบายเกี่ยวกับคาบเวลาและการเกิดดับได้อย่างเข้าใจมากขึ้น รวมไปถึงความเข้าใจในรูปนาม วิปัสสนาญาณในระดับต่างๆ การค้นพบของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ช่วยได้มากทีเดียว เมื่อเกิดปัญญาผ่านญาณ เข้าใจการเกิดดับ เข้าใจอดีตอนาคตจะเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม ชาติภพ ฯลฯ อย่างแจ่มแจ้งจนไม่มีความสงสัยใดๆ เหลืออยู่
(9.) มิติที่ 4 มิติของเวลา
การค้นพบของไอน์สไตน์นับเป็นการเปิดประตูเข้าสู่ “มิติที่ 4 ” เรื่องหนึ่งที่ควรพูดถึงคือเรื่องเวลา โดยสามัญสำนึกเรารู้แน่ชัดว่าเวลาของแต่ละคนเท่ากัน เวลาห้านาทีของเรากับห้านาทีของเพื่อนที่อยู่อเมริกาเท่ากันแน่นอน นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกทุกคนก็เคยยอมรับเรื่องเวลาสัมบูรณ์ คือ เวลาจะเดินหน้าเสมอจากปัจจุบันไปอนาคตและเท่ากันในทุกๆ จุดของโลกและจักรวาล นอกจากความโน้มถ่วงจะมีผลกับเวลาแล้วความเร็วก็มีผลกับเวลาด้วย เวลาในจักรวาลแต่ละจุดะไม่เท่ากัน แต่สิ่งหนึ่งที่สมดุลคือแม้เวลาจะเดินเร็วช้าต่างกัน ปฏิกิริยาเคมี อัตราการหายใจ กระบวนการย่อยอาหารหรืออัตราเมแทบอลิซึมก็จะเร็วช้าในอัตราส่วนที่เท่ากันไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราส่องกล้องไปที่นาฬิกาบนดวงดาวนั้นจะพบว่าขณะที่นาฬิกาเดินไปหนึ่งวินาทีเวลาบนโลกเราเดินไปถึงสิบวินาทีแล้ว อัตราเมแทบอลิซึมของร่างกายสัมพันธ์กับความเร็วช้าของเวลา ยกตัวอย่างบนโลกเราก็ได้ในเด็กที่กำลังโตหัวใจจะเต้นเร็ว อัตราเมแทบอลิซึมจะสูงกว่าผู้ใหญ่วัยกลางคน แม้ว่าเวลาบนโลกจะเท่ากันเสมอแต่ในความรู้สึกหนึ่งปีที่ผ่านไปของเด็กจะยาวนานกว่าหนึ่งปีของผู้ใหญ่วัยกลางคน ไม่ใช่เฉพาะสิ่งมีชีวิตสรรพสิ่งล้วนอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์นี้ เราเอาก้อนเนื้อแช่เย็นในตู้เย็นที่มัดสนิท ก้อนเนื้อจะมีอายุยาวนานขึ้นจากสองวันภายนอกตู้เย็นกลายเป็นเวลาห้าวันภายในตู้เย็น ในสมถกรรมฐานซึ่งสอนให้กำหนดจิตจดจ่ออยู่ที่ใดที่หนึ่ง อารมณ์ใดอารมณ์เดียวเป็นระยะเวลานาน เมื่อจิตนิ่งก็จะพบกับความมหัศจรรย์ของเวลาตามทฤษฏีสัมพัทธภาพเช่นกัน จิตที่นิ่งแบบสมถกรรมฐาน เมื่อนั่งสมาธิแนบแน่นมั่นคงอยู่ในอารมณ์เดียวจะทำให้เวลาภายนอกผ่านไปเร็วมาก เช่นเดียวกันคนที่อยู่ในอารมณ์รักขณะนั่งอยู่กับคนรักสามชั่วโมงแต่รู้สึกว่าเวลาผ่านไปแป๊บเดียว ระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอาจจะมีบางช่วงที่มิติเวลาที่ยึดหดนั้นทำให้จิตเห็นภาพหรือสิ่งแวดล้อมที่แปลกออกไปบางคนอาจเห็นอสุรกาย เปรตซึ่งเป็นไปได้ แต่อย่างไปใส่ใจมิติเหล่านั้นเป็นแค่ทางผ่าน
(10.) ความสุขและความแท้จริง
แม้ว่าเราอาจไม่สามารถปฏิบัติได้ถึงขั้นเข้าสู่มรรคญาณ แต่เพียงแค่สามารถกำหนดสติมีชีวิตที่เป็นสมาธิ ผลที่ได้ก็ทำให้เราสามารถดำรงชีวิตในโลกปัจจุบันได้อย่างรู้เท่าทันและมีความสุขอย่างแท้จริงมากกว่าที่จะไปหลงกับความสุขปลอมๆ ซึ่งถูกเร้าด้วยกิเลส ตัณหาและจิตอันเป็นสมาธิ จะเป็นต้นทุนให้เราสามารถเข้าถึงมรรคญาณในชาติภพต่อไป เราทุกคนต้องเคยกระหายน้ำยิ่งกระหายมากยิ่งทรมานพอได้ดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมสักขวดจะรู้สึกชื่นใจขึ้นมาทันที ถ้าเกิดมีนักวิทยาศาสตร์สักคนบอกว่ามีวิธีจะทำให้เราไม่ต้องดื่มน้ำไปตลอดชีวิต วิธีนี้จะทำใหร่างกายสามารถดูดซึมไอน้ำจากอากาศเข้าไปในตัวได้เลย แต่นักวิทยาศาสตร์ทางใจคือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพบวิธีทางที่จะทำให้เราเลิกกระหายทางใจไปได้ตลอดชีวิต เราจะพบกับความสุขที่แท้จริง สุขอย่างยิ่ง สุขนิรันดร์
สุกัญญา : ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่าน
- ได้รู้จักนักวิทยาศาสตร์หลายๆ คน และเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
- เรียนรู้รับรู้ความรู้สึกที่เป็นนามธรรมของตนเองเพิ่มขึ้น
- ได้รู้จักหลักการแก่นของพุทธศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น