วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

คู่มือนักส่งเสริมเกษตรอินทรีย์

เขียนโดย วิฑูรย์ ปัญญากุล
สมจิตร อินต๊ะปวง
แม่ทา จ.เชียงใหม่

องค์ประกอบและกลยุทธ์งานส่งเสริม ประกอบด้วย ปัจจัยและองค์ประกอบในการปรับเปลี่ยนที่เกิดจากแรงผลักดัน แรงบันดาลใจ จูงใจ ภาระหนี้สิน ที่อยู่อาศัย การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตรวมไปจนถึงประสบการณ์ของเกษตรกร และปัจจัยด้านกลยุทธ์การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ คือ มีกระบวนการในงานส่งเสริม รูปแบบกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นความรู้ ทั้งวิชาการและปฏิบัติให้แก่เกษตรกร

องค์กรเกษตรกรกับงานส่งเสริม สิ่งสำคัญคือ องค์กรเกษตรกร ที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มมีหลักการร่วมกัน คือการมีอุดมการณ์ร่วมกัน มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน รวมไปจนถึงมีผลประโยชน์ มีบุคลากร (คน) การบริหารจัดการ ทำกิจกรรมร่วมกัน และงบประมาณ
ดังนั้นถ้ามีองค์กรงานเกษตร+งานส่งเสริม หนุนเสริมกิจกรรมดังกล่าวมานี้สามารถบ่งบอกตัวชี้วัดแนวทางงานพัฒนาองค์กรหรือชุมชนนั้นได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นความรู้พื้นฐานชุมชนด้านปัจจัยการผลิต คน ตลาด กระบวนการ ผลทางธุรกิจและสังคม

การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม คือการเรียนรู้แบบองค์รวมเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ในลักษณะที่ไม่เป็นทางการเท่าไหร่ มีความทัดเทียมระหว่างผู้จัดการเรียนรู้และผู้เรียนรู้ เช่นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมคือผู้จัดการเรียนรู้โดยวิธีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเกษตรกรด้วยกันเอง มีพื้นฐานที่สำคัญคือ เกษตรกรผู้รู้/แหล่งเรียนรู้/บทบาทนักส่งเสริม/นักวิชาการ/หลักสูตรการเรียนรู้/กระบวนการศึกษา/การพบปะ/สื่อ/การสร้างกระบวนการกลุ่ม

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมกับบทบาทผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วยสถานที่แวดล้อมที่เหมาะแก่การเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรม กระบวนการแลกเปลี่ยน จับประเด็น สรุปประเด็นและหัวใจสำคัญของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมคือ มีคุณสมบัติของผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ มีทักษะพื้นฐานความรู้โดยเฉพาะเรื่องเกษตร มีทีมผู้จัดกระบวนเช่น วิทยากร การทำงานในลักษณะเป็นทีม บทบาทเสริมอื่นๆที่แตกต่างกันไป

เครื่องมือกระบวนการและกิจกรรม อย่างเช่นการบรรยาย คือสื่ออย่างหนึ่งส่วนมากจะเป็นรูปแบบของงานสัมมนาอบรมที่มีเวลาจำกัด การศึกษาดูงานก็เป็นวิธีในการช่วยกระตุ้นความสนใจให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี รวมไปจนถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แบ่งกลุ่มย่อย การสาธิตให้เกษตรกรได้เห็นวิธีการขั้นตอนปฏิบัติจริงและได้เห็นถึงผลของการที่ได้ปฏิบัติจริงจากการใช้ปัจจัยการผลิตนั้นๆ

เตรียมกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรม ประกอบด้วยผู้เข้าร่วม กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะร่วมกระบวนการ การเตรียมเนื้อหาข้อมูลที่ครอบคลุมที่ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้ กำหนดกระบวนการ สถานที่ การจัดสถานที่และการจัดการปัญหาที่จะเกิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้

กระบวนการงานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ มีการสำรวจชุมชน เตรียมกลุ่มผู้ผลิต เพื่อเป็นฐานข้อมูลของชุมชน และเป็นแนวทางด้านการผลิต การตลาด การเงิน หลังจากนั้นก็มีการวางแผนโครงการและสร้างกิจกรรมงานส่งเสริมตามแผนโครงการที่กำหนดไว้และการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รวมไปจนถึงการรับซื้อผลผลิต

สิ่งสำคัญในงานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
  • ต้องมีบุคลากร(เจ้าหน้าที่ส่งเสริม)ที่มีความรู้ ในเรื่องเกษตร
  • มีพื้นที่เกษตร/องค์กร/กลุ่ม/เกษตรกรที่มีอุดมการณ์ร่วมกัน

    สิ่งที่ชุมชนได้รับ
    ได้องค์ความรู้ที่เกิดจากงานส่งเสริม ทั้งในส่วน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์และเกษตรกรผู้ปฎิบัติ จนสามรถนำไปใช้ประโยชน์ในชุมชนนั้นๆได้ประสบผลสำเร็จจริงและนำไปสู่ความยั่งยืนในระบบแบบแผนของเกษตรอินทรีย์สู่เกษตรกรรมยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น: