วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

สร้างงานมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนออย่างมืออาชีพ

เขียนโดย ชาลี กาญจนรัตน์
จำนวน 208 หน้า
สุวนศาสตร์ ก้อนบัว
ศูนย์เกษตรอินทรีย์ จ.ยโสธร

สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อที่มีภาพและเสียงเป็นองค์ประกอบสำคัญ สื่อที่ไร้เสียงจะดูจืดชืดไร้ชีวิตชีวา ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าหัวใจของการผลิตสื่อมัลติมีเดียก็คือเสียงนั่นเอง รายละเอียดในบทเริ่มแรกของหนังสื่อนี้จึงให้ความรู้เรื่องการบันทึกเสียงก่อนและตามด้วยขั้นตอนการสร้างงานนำเสนอ
ขบวนการบันทึกเสียงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. แบบอะนาล็อก (Analog sound recording system) เป็นแบบดังเดิม ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วจนถึงเลิกใช้ไปแล้ว เมื่อเทียบกับการบันทึกเสียงแบบดิจิตอล ตัดต่อยากต้องใช้เครื่องมือและบุคคลากรที่มีความรู้เฉพาะค่าใช้จ่ายจึงสูง

Mic(ไมโครโฟน) Tape recorder (เครื่องบันทึกเสียง) Cassett Tape (เทปเสียง)

2.แบบดิจิตอล ( Digital Sound Recording ) โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมสำหรับการบันทึกเสียง เช่น Sound Recorder ของไมโครซอฟต์, Adobe Audition 2.0 เป็นต้น ซึ่งการบันทึกเสียงแบบดิจิตอลนี้ทำง่าย ดัดแปลง ตกแต่ง ตัดต่อ เพิ่มเสียงดนตรีเป็นพื้นหลังได้ ปรับปรุงแก้ไขไฟล์เสียงได้


Mic(ไมโครโฟน) Digital recorder (โปรแกรมคอมพิวเตอร์) Audio file (.MP3 .WAV)

เรื่องของไฟล์เสียง (Audio file)
- .CDA (CD-Audio) Sampling Rate 44,100 Hz เป็นไฟล์มาตรฐานเสียงคุณภาพที่ดีเป็นธรรมชาติ อยู่ในแผ่น CD เพลงที่ค่ายเพลงต่างๆ ทำขาย เมื่อนำมาใช้กับเครื่องคอมฯ จะมองเห็นข้อมูลเสียงในรูป Audio Track
- .WAV ข้อดีใช้กับโปรแกรมมัลติมีเดียได้ทุกประเภท ข้อเสียมีขนาดไฟล์ใหญ่ ตามการตั้งค่า Sampling Rate
- .MP3, .MP4 เป็นไฟล์ที่ผ่านการเข้ารหัสเพื่อบีบอัดให้มีขนาดเล็ก คุณภาพเสียงก็จะต่ำไปด้วย
- .WMV, .WMA เป็นไฟล์เสียงที่ได้จาก Window Media Audio ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า .mp3 และ .ra ในที่ขนาดของไฟล์เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายโปรแกรมที่สามารถเล่นไฟล์นี้ได้
- .RA ใช้สำหรับชมภาพและเสียงบนอินเตอร์เน็ต โดยไม่ต้องรอให้การดาวน์โหลดข้อมูลเสร็จสิ้น
- .OGG คล้ายๆ mp3 แต่ไม่นิยมใช้เพราะเป็นไฟล์เสียงใหม่คนยังไม่ค่อยรู้จัก ใช้เทคโนโลยีบีบอัดแบบใหม่ มีขนาดไฟล์เล็กกว่าและให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า mp3

อุปกรณ์การบันทึกเสียงแบบดิจิตอลทั่วไปมี 2 ประเภท
- Microphone Dynamic Microphone อาศัยการทำงานของขดลวดผ่านสนามแม่เหล็กเพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดี ข้อเสียมีความไวต่ำ จะต้องพูดใกล้ๆ ไมโครโฟนมีชนิดที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือไมโครโฟนชนิดไดนามิก (Dynamic) ซึ่งจะให้เสียงดีกว่า ดังนั้นจึงจะต้องใช้อะแดปเตอร์แจ็ค ( Adapter Jack) ใช้สำหรับต่อแจ็คไมค์ขนาดใหญ่ให้เป็นขนาดเล็กเพื่อให้สามารถเสียบเข้าของไมค์ของซาวการ์ดได้
- Elected Condenser Microphone ราคาถูกกว่าเริ่มต้นตั้งแต่ร้อยบาท ใช้กับคอมพิวเตอร์ ตัวแจ็คออกแบบให้ทำงานอาศัยหลักของประจุไฟฟ้า ช่องเสียบเดียวกันไมค์จะเป็นสีชมพูหรือแดงซึ่งเป็นสีมาตรฐาน ( ช่องสีเขียวเสียบลำโพง สีฟ้าช่อง Line in เสียบอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น เครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer) ซึ่งจะช่วยให้เสียงที่บันทึกได้มีคุณภาพดีขึ้น (ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร)
หนังสือนี้ให้รายละเอียดพร้อมภาพประกอบต่อในเรื่องการต่อหรือเสียบสายสัญญาณต่างๆ วิธีการต่อสายไมโครโฟนผ่านเครื่องผสมสัญญาณเสียง เพื่อให้เราสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง การกำหนดสัญญาณขาเข้าสำหรับการบันทึกเสียงจากไมโครโฟน การเพิ่มความแรงของสัญญาณไมโครโฟน และการกำหนดสัญญาณขาเข้าสำหรับการบันทึกเสียงจากเรื่องผสมสัญญาณเสียง

คำแนะนำที่ควรนำมาปรับใช้
- เสียงดนตรีที่ใช้ประกอบเสียงบรรยายควรมีความดังน้อยกว่าเสียงบรรยาย
- เสียงดนตรีที่เลือกใช้ควรเป็นเสียงบรรเลง แต่ไม่ได้เป็นข้อกำหนดตายตัว บางครั้งอาจเลือกดนตรีที่มีเสียงร้องด้วยก็ได้ ไม่ผิดกติกาแต่ประการใด
- ควรบันทึกเสียงบรรบายและเสียงดนตรีไว้ล่วงหน้าก่อนทำงานผสมเสียง โดยบันทึกไว้ในรูปแบบไฟล์ที่มีนาสกุลเป็น .wav
- การเพิ่มดนตรีเข้ามาในเสียงบรรยายไม่ทำให้ขนาดไฟล์เพิ่มขึ้น แต่จะช่วยเพิ่มสีสันให้กับงานที่ใช้ไฟล์เสียงนั้น ทำให้ชิ้นงานนั้นน่าสนใจมีชีวิตชีวา
- การเลือกรูปแบบ ( Format ) และองค์ประกอบ (Attributes) ของไฟล์เสียงควรพิจารณาให้เหมาะสมกับงานที่จะนำไปใช้ ดังนี้
o คุณภาพเสียงดีมาก เลือกรูปแบบเป็น PCM (Wave Files : WAV) เลือกองค์ประกอบเป็น CD Quality (44,100 kHz, 16 Bit, Stereo)
o คุณภาพเสียงพอใช้ได้ เลือกรูปแบบเป็น PCM (Wave Files : WAV) เลือกองค์ประกอบเป็น Radio Quality (22,050 kHz, 8 Bit, Mono)
o ประหยัดเนื้อที่ ใช้หน่วยความจำน้อยที่สุด เลือกรูปแบบเป็น MPEG Layer-3 (MP3 Files : MP3) เลือกองค์ประกอบเป็น 56 kBit/s (24,000 kHz, 8 Bit, Mono)
- ถ้าต้องการบันทึกเสียงบรรยายพร้อมเสียงดนตรีประกอบโดยตรงก็สามารถทำได้โดยการเลือก Input เป็น Stereo Mix หรือ What U Hear (ขึ้นอยู่กับประเภทซาวด์การ์ด) แล้วบันทึกโดยการเปิดเพลงจากแผ่นซีดีรอม พร้อมกับการบรรยายโดยใช้ไมโครโฟน การปรับระดับเสียงในการบันทึกจะต้องปรับจาก Volume Control
- โปรแกรม Sound Recorder สามารถบันทึกเสียงในรูปแบบไฟล์ .mp3 ได้ โดยที่ไฟล์ .mp3 สามารถนำไปใส่ไว้ในเอกสาร Microsoft Word หรือ Power Point ก็ได้ (ไฟล์ .mp3 ที่สร้างจากโปรแกรมอื่นๆ จะไม่สามารถนำมาใช้กัน Sound Recorder, Microsoft Word หรือ Power Point ได้)

การสร้างงานมัลติมีเดียแบบมืออาชีพนี้ให้ขั้นตอนการเรียนรู้ไว้ทั้งหมด 7 บท จากบทที่ 4 ไปจะเป็นตัวอย่างการปฏิบัติจริงด้วยรูปภาพประกอบโดยใช้งานแต่ละโปรแกรม คือ การบันทึกเสียงแบบดิจิตอลโดยใช้โปรแกรม About Audition 2.0, การสร้างงานนำเสนอโดยใช้โปรแกรม ProShow Glod 2.6 เนื้อหาในเรื่องการใส่ภาพและปรับแต่งเสียง การปรับเวลาให้ภาพและเสียงตรงกัน การใส่ Motion Effect การสร้าง Output File เป็น .EXE, VCD และ DVD การสร้างงานนำเสนอแบบ Music Slide Show พร้อมตัวอย่างการนำเสนอ, การสร้างงานนำเสนอและสื่อการสอนแบบมัลติมีเดีย โดยใช้โปรแกรม Camtasia Studio 4.0, การผลิตสื่อมัลติมีเดียประเภทวีดีโอ โดยใช้โปรแกรม Ulead VideoStudio 10

สิ่งที่ได้จากการอ่าน
ความเพลิดเพลินที่ตอบสนองความอยากรู้ความสนใจส่วนตัว ต่อยอดความรู้เดิมๆ ให้ชัดเจนขึ้นความรู้เรื่องการบันทึกเสียงแบบดิจิตอลมาประยุกต์ใช้ในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย ถ้าเราได้ลองผลิตชิ้นงานขึ้นมาบ้างก็จะช่วยพัฒนาความเข้าใจจากหนังสือนี้ได้มากขึ้น ทั้งในด้านทฤษฏีและปฏิบัติ เนื้อหาบางตอนในหนังสือนี้อาจจะเข้าใจยากบ้างเพราะเราไม่คุ้นชินกับชื่อเรียก และการสรุปเนื้อหาข้างบนนี้อาจจะเข้าใจยากบ้างสำหรับเพื่อนที่ยังไม่สนใจในเรื่องนี้ ท้ายที่สุดหนังสือเล่มนี้ให้ความรู้พร้อมภาพประกอบดีมาก ซึ่งบวกกับการยื่นข้อเสนอโปรแกรมการทำงานให้เราเลือกใช้ นี้เป็นวัตถุประสงค์ร่วมในการเขียนหนังสือด้านนี้ โดยเป็นหนึ่งในหลายๆ วิธีที่ที่ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาทดลองและใช้งานจริง

ไม่มีความคิดเห็น: